ธุรกิจเสื้อผ้า
ธุรกิจเสื้อผ้า ยอดขายหลักแสน เจอวิกฤตซัดจนบอบช้ำ หันขาย ขนมเปี๊ยะเพื่อสุขภาพ จากธุรกิจแบรนด์เสื้อผ้าที่ปลุกปั้นมานานหลายปี ในช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรืองสามารถสร้างรายได้เป็น กอบเป็นกำ แต่เมื่อเกิดวิกฤต ส่งผลให้กิจการหยุดชะงัก หน้าร้านบางสาขาปิดตัว เพื่อความอยู่รอดระหว่างนี้ คุณอ้อ-ธันย์ณภัทร และ คุณติ๊ด-พัทธนันท์ นพสุวรรณชัย เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า จึงต้องปรับตัว สร้างแบรนด์ขนมเปี๊ยะเพื่อสุขภาพ หารายได้ เปิดแบรนด์เสื้อผ้า คุณอ้อ เล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจเสื้อผ้าให้ฟังว่า มาจากคุณติ๊ด (สามี) ซึ่งทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทเครื่องพิมพ์ของเยอรมัน ส่วนตนเองเป็นพนักงานในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งเกิดแนวคิดอยากทำธุรกิจเล็กๆ และสิ่งที่อยากทำตอนนั้น คือ เสื้อผ้างานพิมพ์ลายวินเทจ เจาะกลุ่มเด็กวัยรุ่น และนักท่องเที่ยวต่างชาติ คุณติ๊ดเป็นคนออกแบบลายเสื้อผ้า เพราะมีความรักในการทำกราฟิก ส่วนคุณอ้อดูเรื่องการตลาดและการผลิต “เราลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ 3 เครื่อง หาพนักงานมาช่วยฝ่ายผลิต ฝ่ายแพ็ก หาช่างเย็บผ้า และหาโรงงานผลิตผ้า จนสามารถเปิดแบรนด์เสื้อผ้าได้ 3 แบรนด์ คือ Lepetidprint (เลอเปอติ๊ดปริ้น), Puch
ครอบครัวแย้มนาม ขยันเมกมันนี่ ลุยธุรกิจเสื้อผ้า ใช้ชื่อลูกชายสุดเลิฟ “บักโพธิ์” ขยันเมกมันนี่กันทั้งครอบครัว “แย้มนาม” นับตั้งแต่ขายอาหารทะเล ขายผลไม้ ล่าสุด คุณแม่แอน และคุณพ่อชาคริต หันมาสร้างแบรนด์เสื้อผ้าใช้ชื่อลูกชายสุดเลิฟ “บักโพธิ์” ขายเสื้อยืด กางเกงผ้าขาวม้าสีสันสดใส และหมวก ธุรกิจใหม่ที่ไม่ต้องจ้างพรีเซ็นเตอร์ พร้อมถ่ายแบบครั้งแรกในชีวิต ชมคลิปกันเลย https://www.facebook.com/Bodhi.Yamnarm/videos/595130761386422/
สำรวจ “แฟชั่นเสมือน” สวมใส่ในโลกดิจิตอล ไม่ใช่ในชีวิตจริง คุณจะยอมควักเงิน 9,500 ดอลลาร์ หรือราวๆ 287,000 บาท ซื้อเสื้อผ้าที่ถูกใจสักชุดไหม ถ้าชุดนั้นสวมใส่ได้เฉพาะโลกดิจิตอล ไม่ใช่ในชีวิตจริง แต่ “ริชาร์ด หม่า” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัย “ควอนต์แสตมป์” (Quantstamp) ในสหรัฐ ยอมจ่ายเงินจำนวนนี้ เพื่อซื้อชุดเสมือนจริงให้ภรรยา “บีบีซี” รายงานว่า ชุดดังกล่าวออกแบบโดยบริษัทแฟชั่น “เดอะ แฟบริแคนต์” (The Fabricant) โดยทาบอยู่บนภาพของ “แมรี่ เหริน” ภรรยา และถูกนำไปใช้บนสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก และวีแชต “หม่า” ยอมรับว่า ราคาขนาดนี้แพงมากจริงๆ ปกติเขาและภรรยาไม่ได้ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงเป็นประจำ แต่ที่ซื้อชุดนี้เหมือนเป็นการลงทุน ที่น่าจะมีคุณค่าในระยะยาว “ในอีก 10 ปี ผู้คนอาจจะสวมใส่แฟชั่นดิจิตอลกัน นี่เป็นช่วงเวลาที่พิเศษ เป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัย” หม่า กล่าว เดอะ แฟบริแคนต์ ออกเสื้อผ้าดิจิตอลใหม่ๆ แจกผ่านเว็บไซต์ของตัวเองทุกๆ เดือน ซึ่งคนที่สนใจจะต้องมีทักษะและซอฟต์แวร์ในการนำเสื้อผ้าเสมือนเหล่านี้ไปใส่ไว้บนรูปของตัวเอง ส่วนอีกบริษัทที่ปิ๊งไอเดียออกแบบชุดเสมือน แต่ทำ
อดีตแม่บ้าน ตามสามีไปอยู่ที่ดินแดนซากุระ เห็นโอกาสสร้างรายได้ เปิดเพจรับซื้อสินค้าญี่ปุ่นส่งขายให้ลูกค้าคนไทย ผลตอบรับดี ต่อยอดกิจการขายเสื้อผ้ามือสอง สร้างมาตรฐานสูง มีเสื้อสูท เสื้อยืด ชุดกระโปรง เสื้อกันหนาว เสื้อโค้ต ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ทุกชิ้นบรรจุลงถุงพร้อมติดบาร์โค้ดราวกับเสื้อใหม่ ขายส่งราคาตัวละ 35 บาท ซื้อขั้นต่ำ 1,000 ตัว เพื่อเป็นการคละแบบ คละไซซ์ เสื้อผ้าจะไม่ซ้ำลายกันเลย ง่ายต่อการไปขายต่อ เรื่องราวของ คุณยุภาวรรณ อัจฉราพรเพ็ญ หรือ คุณเอ็มมี่ เธอตามสามีไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2553 ซึ่งสามีไปเปิดบริษัททำธุรกิจโมเดลการ์ตูน ในระหว่างนั้นมีเวลาว่าง เพราะเป็นแม่บ้าน เลยเปิดเพจรับซื้อสินค้าญี่ปุ่น ประเภทขนม ของเล่น กระเป๋า ของจุกจิก ส่งขายให้ลูกค้าคนไทย กระแสการตอบรับดี มีคนบอกปากต่อปาก ในเวลาต่อมา หญิงสาวผันตัวทำธุรกิจเสื้อผ้ามือสอง “ในช่วงแรก ดิฉันขายสินค้าประเภท ขนม ของเล่น กระเป๋า จากนั้นได้รู้จักกับ คุณมิจิโอะ ซูซูกิ (Michio Suzuki) นักธุรกิจส่งออกเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น พูดภาษาไทยได้ ปี 2556 เลยเริ่มเอาเสื้อผ้ามือสองเข้ามาขายที่เมืองไทยและส่งไปทางอรัญป