นครพนม
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม บรรยากาศการท่องเที่ยวฤดูหนาวเริ่มคึกคักอีกครั้ง มีประชาชน นักท่องเที่ยว ต่างวางแผนจับจองที่พัก เพื่อเดินทางมาเที่ยวชมงานไหลเรือไฟ ภายใต้ชื่องาน ร้อยดวงใจลอยเรือไฟ ถวายพ่อหลวง รำลึก 61 ปี ในหลวงเคยเสด็จประทับแรม ทอดพระเนตรไหลเรือไฟ จ.นครพนม เป็นครั้งแรก โดยทางจังหวัดนครพนม ได้เตรียมพร้อมจัดงานไหลเรือไฟย้อนหลัง ในระหว่างวันที่ 13 -20 พฤศจิกายน 2559 หลังจากมีการเลื่อนกำหนดการงานออกพรรษาไหลเรือไฟ ประจำปี 2559 เพื่อเป็นการถวายอาลัย จากเดิมในวันที่ 16 ตุลาคม 2559 ซึ่งจะมีการไหลเรือไฟในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ร่วมกับกิจกรรมงานประเพณีลอยกระทง สำหรับกิจกรรมภายในงานจะเน้นการประกวดไหลเรือไฟ ร้อยดวงใจถวายอาลัยแด่พ่อหลวง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทย ซึ่งภายในเรือไฟ ไหลไปตามลำน้ำโขงตลอดแนวสุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ส่วนเรือไฟทั้งหมด 10 ลำ ขนาดความยาวประมาณ 50-80 เมตร ความสูงประมาณ 50 -60 เมตร ประกอบด้วยตะเกียงไฟ ประมาณ 20,000-30,000 ดวง จะเน้นลว
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม เวลา 19.00 น. ที่ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วย นางปัทมา วิทย์ดำรงค์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม เป็นประธาน นำข้าราชการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีออกพรรษาไหลเรือไฟ และงานกาชาด ประจำปี 2559 โดยจะจัดขึ้นวันที่ 9 – 17 ตุลาคม 2559 เพื่อเสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้ถือว่าจัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปีเพื่อฉลองเปิดตัวเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเมืองเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว ชายแดนที่สำคัญของอีสาน และฉลองการก่อสร้างแลนด์มาร์คพญานาคศักดิ์สิทธิ์ หรือพญาศรีสัตตนาคราช ที่สร้างขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นที่สักการบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวนครพนม โดยหลังการเปิดงานคืนแรกได้มีการจัดเรือไฟไหลโชว์คืนละ 2 ลำ ให้ประชาชนนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมความสวยงามก่อนวันประกวดไหลเรือไฟ รวมถึงมีปล่อยกระทงสายหรือไข่พญานาค นับหมื่นดวงไหลไปตามแม่น้ำโขง ถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พญนาคและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามลำแม่น้ำโขง และตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโขงจะ
เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ผู้สื่อข่าว จ.นครพนม รับแจ้งจากแม่ค้าปลาในตลาดสดเทศบาลเมืองนครพนม ว่า มีชาวประมงพื้นบ้านล่าปลาบึกจาก 3 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำโขงนำมาส่งขายให้ 3 ตัว รวมน้ำหนัก 260 กิโลกรัม โดยเฉพาะตัวใหญ่สุดมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม สร้างความฮือฮาให้กับผู้ที่ผ่านไปมาที่พบเห็น เพราะเป็นปลาแม่น้ำโขงที่หายากในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาเพิ่งจะพบเห็นได้แค่ 1-2 ตัวเท่านั้น หลังแม่ค้ารับซื้อไว้ไม่ถึง 2 ชั่วโมง ปรากฏว่ามีร้านอาหารและภัตตาคารชื่อดังหลายแห่ง แย่งกันจองหน้าเขียงไปประกอบเมนูเด็ด นางเด่น คันทักษ์ วัย 59 ปี แม่ค้าขายปลาในตลาดเทศบาลเมืองนครพนม กล่าวว่า ช่วงปลายฝนต้นหนาวและใกล้เทศกาลออกพรรษา จะมีชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จ.นครพนม บึงกาฬ และมุกดาหาร ลากอวนหาปลาในแม่น้ำโขง ได้ปลาน้อยใหญ่หลายชนิดก็จะนำมาขายให้ตน ที่ผ่านมามีเฉพาะชาวประมงริมตลิ่งแม่น้ำโขงของจ.นครพนม นำมาขายให้เพื่อให้ตนชำแหละ ก่อนมีออร์เดอร์สั่งจองไว้ล่วงหน้า เพื่อส่งตามภัตตาคาร โรงแรม และร้านอาหารชื่อดังหลายแห่ง แม่ค้าปลากล่าวต่อว่า หลังจากมีข่าวแพร่สะพัดออกไปว่าตนรับซื้อปลาขนาดใหญ่หลายชนิดที่นิยมนำไปทำเมนูเด็ด หายากและมีราค
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงฤดูน้ำหลากชาวประมงพื้นบ้านใน ต.ดงขวาง อ.เมือง จ.นครพนม โดยเฉพาะที่บ้านบัว หมู่ 3 ริมฝั่งแม่น้ำโขง นำเรือออกล่าปลาตั้งแต่ช่วงกลางดึกถึงรุ่งเช้า และจับปลาแค้ยักษ์ 2 ตัว น้ำหนักรวมกัน 38.2 กิโลกรัม ทำเงินได้เกือบ 1 หมื่นบาท นายกาสี หีบปลา วัย 56 ปี หนึ่งในชาวประมงพื้นบ้านอาชีพจับปลา กล่าวว่า ตนนำเรือติดเครื่องยนต์ออกหาปลาห่างตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 700 เมตร โดยใช้อวนลากปลาบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้อยใหญ่อาศัยอยู่ชุกชุม จนชาวบ้านละแวกนี้ขนานนามว่าเป็น “วังปลา” กระทั่งรุ่งเช้าช่วง 7 โมง พบปลาขนาดใหญ่ติดอวน 2 ตัว ตรวจสอบพบว่าเป็นปลาแค้ ปลาน้ำจืดที่หายากและมีราคาแพง นายกาสี ยังกล่าวด้วยว่า ปลาหนังชนิดนี้เป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมาก มักอาศัยอยู่ในแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ตัวใหญ่สุดมีความยาว 2 เมตร เป็นปลาที่หากินปลาเล็กใต้น้ำลึก ตั้งแต่เกิดมาเคยจับได้แค่ 10 ตัว แต่ตอนนั้นยังไม่เป็นราคา โดยเมื่อปี 2531 มีราคาแค่กิโลกรัมละ 25 บาท เดิมทีไม่ค่อยมีใครนิยมกินนัก เพราะเชื่อว่ากินแล้วจะปวดหลังปวดเอว แต่ปัจจุบันร้านอาหารและภัตตาคารชื่อดังนำไ
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ผลกระทบจากระดับน้ำโขงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถึงระดับประมาณ 10.10 เมตร ห่างจากจุดวิกฤต ประมาณ 3 เมตร ไม่เพียงส่งผลให้พื้นที่ 4 อำเภอ ที่ติดกับลำน้ำโขงเท่านั้น มี อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอเมือง และอำเภอธาตุพนม ที่เสี่ยงต่อปัญหาน้ำโขงหนุนท่วมพื้นที่ลุ่ม รวมถึงพื้นที่ชุมชน หากมีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง เพราะจะทำให้น้ำไหลระบายลงน้ำโขงได้ช้าเกิดปัญหาน้ำท่วมตามมา นอกจากนี้ ยังพบว่าหลังน้ำโขงสูง ยังกระทบต่อลุ่มน้ำสงคราม เพิ่มระดับต่อเนื่อง และไม่สามารถไหลระบายลงน้ำโขงได้ ส่งผลให้เริ่มเกิดปัญหาเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรนาข้าวของเกษตรกร รวมถึงจ่อท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม โดยเฉพาะ บ้านท่าบ่อ ต.ท่าบ่อสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ที่ติดกับลำน้ำสงคราม แม่น้ำสาขาสายหลักที่เชื่อมไปยังน้ำโขง พบว่ามีบ้านเรือนของชาวบ้าน เกือบ 500 หลังคาเรือน ที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากปัญหาน้าสงครามเอ่อท่วม หากมีฝนตกลงมาซ้ำอีกในช่วงนี้ ซึ่งมีบางจุดน้ำเริ่มสูงเข้าใกล้บ้านเรือนแล้ว เพราะเป็นพื้นที่ติดกับลำน้ำสงคราม ตั้งอยู่ในลักษณะแอ่งกระทะ ทำให้ใน