นักข่าว
ธุรกิจสื่อ ปี 2567 โฆษณาลด รายได้หาย หลายองค์กรปรับโครงสร้างด้วยการเลิกจ้าง สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดรายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี 2567 ว่า ตลอดปี 2567 ที่กำลังจะผ่านไป สื่อมวลชนยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าไม่หยุดนิ่ง ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคสื่อเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายต่อการทำงานของสื่อมวลชนทั้งในเรื่องความน่าเชื่อถือของข่าว และการปรับตัวจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวในภาพรวม อาจส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนใน 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพสื่อมวลชน 1.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พระราชวัง เข้าจับกุม นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพอิสระ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2567 ตามหมายจับของศาล ข้อหาสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน และ พ.ร.บ.การรักษาความสะอาด จากการไปรายงานข่าวและถ่ายภาพบุคคลที่กำลังพ่นสีเขียนข้อความที่กำแพงวัดพระศรีรัตนศาสดารา
“หญิง ศิริบูรณ์” อาชีพนักข่าวที่เสี่ยงตายตลอดเวลา! อาชีพนักข่าวถือเป็นอีกหนึ่งความใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน และหนึ่งในนั้นก็คือ หญิง ศิริบูรณ์ นักข่าวคุณภาพของช่อง 3 เพียงแค่ตอนนั้นขับรถไปส่งเพื่อนสมัครก็เลยลองสมัครตาม แต่สุดท้ายทางคณะกรรมการก็ได้มองเห็นถึงความสามารถของเธอ เธอติด 10 คนตัวจริง จากผู้สมัครกว่า 3,000 คน และนั่นคือก้าวแรกของการเป็นนักข่าว “ประสบการณ์ในการทำข่าวครั้งแรกที่จำไม่เคยลืม หลังจากเข้าไปทำงานได้ 2 วันก็มีคำสั่งออกมาว่าให้ไปทำข่าวเสี่ยสอง ที่ศาลอาญา เอ๊ะ เราก็เสี่ยสองใครวะ? แล้วพี่ก็ไม่มีบรีฟ คุณต้องรู้ข่าวเอง สมัยก่อนไม่มีอินเทอร์เน็ต ก็ไปรื้อหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการทำข่าว วันรุ่งขึ้น ไปศาลอาญาออกแต่เช้าเขานัด 9 โมง ก็ออกจากบ้านตี 5 เลย ไปถึงศาลอาญา เขาบอกว่าน้องมาทำอะไร? แล้วบอกเรามาทำข่าว เขาบอกน้องศาลอาญาอยู่รัชดาฯ เออใช่ โอ๊ย! ตาลีตาเหลือกขับรถไปรัชดาภิเษก ก็วิ่งทะเล่อทะล่า ถือโทรศัพท์มือถือ ถือเครื่องบันทึกเสียงวิ่งเข้าไป ผ่านเซ็นเซอร์ดังลั่น แบบลั่นศาลเลยนะ แล้วบอกน้องเอาเข้าไม่ได้ เอามาตรวจก่อน พอมาถึงหน้างานเสี่ยสองคนไหน ก็ดูว่า
ข้าวโพดไฟลุกชีสยืด ธุรกิจของอดีตนักข่าว เริ่มต้นจากชอบกินสู่เมนูสุดฮิต ขายดีวันละเกือบ 200 กิโล การทำธุรกิจไม่ใช่แค่คิดและลงมือทำ แต่ในระหว่างทางต้องผ่านกระบวนการคิดเพื่อสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจมีตัวตนขึ้นมาได้ เช่น ฟู่เฉิงข้าวโพดไฟลุก ร้านดังในตลาดจ๊อดแฟร์ ของอดีตนักข่าว คุณดี-จิตสุภา เจริญพิเชฐ อายุ 27 ปี เธอตัดสินใจออกจากคอมฟอร์ทโซน มาสร้างธุรกิจกับแฟน (คุณอู๊ด-วัชรินทร์ ชมชิต) ที่ฉีกทุกกฎความเป็นข้าวโพดคลุกเนย จนได้มาเป็น ฟู่เฉิงข้าวโพดไฟลุก ขายดิบขายดี วันละ 150-200 กิโล และจากวันแรกที่ขายได้เพียง 300 บาท ปัจจุบันมีรายได้เดือนละหลักแสน แถมขายแฟรนไชส์ไปแล้ว 14 สาขา จุดเริ่มต้น ฟู่เฉิงข้าวโพดไฟลุก คุณดีทำงานประจำเป็นนักข่าวทีวีช่องดัง และทำอาชีพเสริมขายเบเกอรี่ จนวันหนึ่งเกิดแนวคิดอยากสร้างธุรกิจของตัวเอง โดยมีแฟนเป็นพาร์ตเนอร์มาช่วยกันคิดทำเมนูที่จะขาย “เรากับแฟนชอบกินข้าวโพดเลยคิดว่าจะขายข้าวโพด แต่ถ้าอยากขายได้ อยากมีตัวตน เราต้องทำให้ว้าว ทำให้แตกต่างจากคนอื่น พอดีช่วงนั้นมีกระแสซูชิเบิร์นไฟ มันเบิร์นไฟ เราเลยเลือกทำข้าวโพดไฟลุกชีสยืด พร้อมตั้งชื่อร้านว่า ฟู่เฉิงข้าวโพด
ลูกค้าพร้อมใจไปอุดหนุน ร้านบ้านพี่แยม ขายดีแบบไม่ทันตั้งตัว นับจากข่าวไอทีวี นับจากวันที่มีข่าวไอทีวี ชื่อของ แยม-ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ได้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากอาชีพสื่อสารมวลชนแล้ว แยมยังมีธุรกิจร้านอาหาร “ร้านบ้านพี่แยม” เป็นอาชีพหลังกล้อง โดยมีลูกค้าแวะเข้าไปอุดหนุนจำนวนมาก เรียกว่าขายดีแบบไม่ทันตั้งตัวนับจากมีข่าวไอทีวี ยืนยันได้จากเฟซบุ๊ก Thapanee Eadsrichai ที่โพสต์ถึงกระแสตอบรับของลูกค้าว่า “ร้านบ้านพี่แยม Baan P’Yam ขายดีแบบไม่ทันตั้งตัว มาหลายวันนับจากข่าว #ไอทีวี ต้องขอโทษคุณลูกค้าที่อาหารหมดเร็ว และรอคิวนาน บางท่านต้องช่วยเสิร์ฟกันทีเดียว ขอบคุณมากๆ ค่ะ วันอาทิตย์นี้เตรียมพร้อมแล้ว แวะมาได้นะคะ แยมอยู่ร้านค่ะ เปิด 8 โมงเช้า” สำหรับร้านบ้านพี่แยม ตั้งอยู่ที่ ถนนเทิดราชัน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ หรือสามารถติดตามได้ที่เพจ บ้านพี่แยม Baan P’Yam อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับร้านบ้านพี่แยม คลิก
สื่อคนดัง หันเป็นชาวนา ปลูกข้าวอินทรีย์ขาย กระจายรายได้ให้คนในท้องถิ่น จากกลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน มีสมาชิกราวสองแสนคน ยังมีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันแวะเวียนมาฝากร้านไม่ขาดสาย หนึ่งในนั้นคือ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Vanchai Tantivitayapitak อดีต บก.นิตยสารสารคดี และรอง ผอ.ไทยพีบีเอส ได้โพสต์เรื่องราวของตัวเอง หลังเปลี่ยนบทบาทมาทำเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวที่จังหวัดเชียงใหม่ “Feedback จากมิตรสหายที่ได้กินข้าวอินทรีย์ทุ่งน้ำนูนีนอย ผม วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ คณะศิลปศาสตร์ รหัส 22 อยู่วงการสื่อมายาวนาน เป็น บก.นิตยสารสารคดี และรอง ผอ.ไทยพีบีเอส ปัจจุบันมาทำเกษตรอินทรย์ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สองปีก่อน เราพักฟื้นที่นาให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หน้าฝนที่ผ่านมา เราเริ่มหว่านกล้าดำนา ข้าวหอมมะลิพันธุ์ชื่อดังจากอำเภอพร้าว ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงใดๆ โดยมีนกปากห่างคอยกินหอยเชอรี่ และเมื่อท้องนาไม่มีสารเคมี เต่าทองจะกลับมาคอยกินเพลี้ยบนรวงข้าว เป็นระบบนิเวศที่กลับมา เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว เราไม่จ้างรถเกี่ยวข้าวที่ประโยชน์ตกแก่เจ้าของรถคนเดียว แต่เราจ้างชาวบ้านแถวนั้นมาลง
สิ้น ฐากูร บุนปาน รองประธานมติชน อดีต บก.-เอ็มดี ด้วยวัย 59 ปี นายฐากูร บุนปาน รองประธานเครือมติชน สิ้นใจอย่างสงบเมื่อเวลา 13.55 น. วันที่ 12 มกราคม ที่บ้านพัก ด้วยวัย 59 ปี หลังจากล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งตั้งแต่ปี 2562 สำหรับพิธีศพ จะตั้งบำเพ็ญกุศล ที่วัดเสมียนนารี ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2564 กำหนดการจะแจ้งให้ทราบต่อไป นายฐากูร บุนปาน รองประธานคณะกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) อายุ 59 ปี เกิดวันที่ 18 ธันวาคม 2504 เรียนประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร จบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 97 ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 32 ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 1 (วพน.1) อบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุน สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม รุ่นที่ 1 อบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 18 (วตท.18) นายฐากูรถือเป็นลูกหม้อของมติชน โดยเริ่มทำงานที่เครือมติชนเมื่อปี 2527 เป็นผู้สื่อข่าวมติชน ก่อนย้ายไปเป็นผู้สื่อข่าวสาย
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ เปิดตลาด “คนข่าวขายของปี 3” หวังช่วยนักข่าวตกงาน สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสื่อและเอกชนร่วมมือกันช่วยเหลือพี่น้องสื่อมวลชนที่ได้รับความเดือดร้อนในภาวะวิกฤติ ที่มีสื่อมวลชนตกงานจำนวนมาก และตกอยู่ในสภาวะเสี่ยง ได้มีรายได้เสริมจากงาน “คนข่าวขายของปี 3” เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 19 สิงหาคม 2562 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 08-9035-8245 รายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.econmass.com
สุดช็อก หญิงจู่โจมใช้ไขควงจี้คอผู้ประกาศสาว ขณะรายงานสดออกสลากฯ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกิดเหตุช็อก ขณะที่มีการรายงานข่าวการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 มีนาคม 2562 ปรากฏเป็นคลิปวิดีโอเผยแพร่ผ่านทางโลกออนไลน์ เป็นการรายงานสดการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล ปรากฏว่ามีหญิงรายหนึ่งถือไขควงเข้ามาจ่อที่คอของผู้ประกาศหญิง น.ส.ธนัญญา พิพิธวณิชการ ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 โดยล่าสุดมีรายงานว่า ผู้ประกาศรายดังกล่าวปลอดภัย โดยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการสอบปากคำผู้ก่อเหตุ
‘โพสต์ทูเดย์’ ปิดตัว ปิดฉาก 17 ปี สื่อธุรกิจ ‘เอ็มทูเอฟ’ ไปด้วย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ได้เรียกประชุมคณะผู้บริหารและมีมติว่าจะปิดหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และหนังสือพิมพ์เอ็มทูเอฟ (ฟรีเปเปอร์) ภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีปัญหาขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนจะปรับให้โพสต์ทูเดย์ไปทำสื่อดิจิทัลเต็มตัว และหลังจากมีมติดังกล่าวแล้ว ได้มีการแจ้งเวียนเพื่อทำความเข้าใจกับพนักงานทั้งหมด ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์เป็นหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจมานาน 17 ปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งมีประมาณ 200 กว่าคน บริษัทแจ้งว่าจะได้รับการจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงานต่อไป ทั้งนี้ ภายหลังแจ้งต่อพนักงานแล้ว วันเดียวกัน ทางบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) ยังได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่า “ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจสื่อสารมวลชน กลุ่มบริษัทบางกอกโพสต์ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจและรูปแบบการนำเสนอสื่อเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้อ่านที่เปล