น้ำตาลทราย
พลิกโฉมสะดุดตา! มิตรผล เปิดตัวแพ็กเกจถุงน้ำตาลใหม่ เพิ่มความโดดเด่นของ “อ้อย” ด้วยดีไซน์ Interlocking พร้อมเสิร์ฟความหวานจากน้ำอ้อยธรรมชาติ 100% ถึงมือผู้บริโภค น้ำตาลมิตรผล ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลอันดับ 1 ของไทย และเป็นรายแรกที่ได้การรับรองมาตรฐานระดับโลกในการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน BONSUCRO (บองซูโคร) เปิดตัวถุงน้ำตาลดีไซน์ใหม่ อัปเกรดความโมเดิร์นด้วยแนวคิดการออกแบบที่เพิ่มลูกเล่น โดยนำท่อน “อ้อย” มาจัดวางในลักษณะ Interlocking ที่เมื่อนำผลิตภัณฑ์มาเรียงผสานต่อกันบนชั้นวางสินค้าแล้ว ท่อนอ้อยจะเชื่อมต่อกันระหว่างถุงน้ำตาล เพิ่มความดึงดูด สะดุดตา เสมือนต้นอ้อยสดใหม่ที่วางเรียงตัวยาวสวย โดดเด่น สื่อถึงความเป็นธรรมชาติจากน้ำอ้อย 100% เพื่อยกระดับภาพลักษณ์และสื่อสารถึงผู้บริโภคให้มั่นใจในทุกเกล็ดคือคุณภาพของน้ำตาลมิตรผล ที่สะอาด ปราศจากสารฟอกขาว และมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อส่งมอบผลผลิตคุณภาพดีถึงมือผู้บริโภค โดยการปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นในการนำเสนอมุมมองใหม่ เพื่อเพิ่มความสนุก ทันสมัย และตอกย้ำถึงความตั้งใจที่จะพัฒนาผลิ
ส่งออกอาหาร ต้องรู้! สินค้าดาวรุ่ง-ดาวร่วง เเละมีเเนวโน้มขายดีเพิ่มขึ้น ส่วนครึ่งปีหลังมูลค่าส่งออกจะพลิกกลับมาเป็นบวก 3 องค์กรด้านอุตสาหกรรมอาหาร เผยครึ่งปีแรกของปี 2563 ผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยลดลงร้อยละ 8.6 ด้านการส่งออกมีมูลค่า 505,584 ล้านบาท หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 2.0 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้น (+0.1%) ขณะที่กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบหดตัวลง (-3.7%) ชี้การส่งออกอาหารไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะพลิกกลับมาเป็นบวก คาดมีมูลค่าราว 519,416 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ประเมินว่าหากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว เงินบาทไม่แข็งค่าและผันผวนมากนัก และการขาดแคลนวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลงจากภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลาย ภาพรวมปี 2563 การส่งออกจะมีมูลค่า 1,025,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 สถาบันอาหาร//การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร โดย สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าฯ เผยข้อมูลภาพรวม อุตสาหกรรมอาหารของไทยครึ่งปีแรกของปี 2563 และแนวโน้มอีกครึ่งปีหลังของปี 2563 มีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย น
พี่รักสุขภาพประชาชนจริงหรือ สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตื่นรู้ และเข้าใจเกษตรกร กับสารพาราควอต และไกลโฟเซต รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช และพืชอุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จากประเด็นร้อนเรื่องการนำเข้าสินค้าเกษตรของสหรัฐ และเกี่ยวเนื่องกับถั่วเหลือง เราต้องรู้ความจริงว่าการเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศ มีความจำเป็นสูงในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของไทย แต่เนื้อที่การเพาะปลูกและผลผลิตลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง ต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ที่สำคัญราคาถั่วเหลืองต่ำกว่าพืชชนิดอื่น โดยราคาถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน ระหว่างวันที่ 18-24 ตุลาคม 2562 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ขณะที่ราคาในตลาดต่างประเทศ ถั่วเหลือง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.45 บาท ดังนั้น การนำเข้าจากต่างประเทศจึงเป็นทางออกสำหรับการนำใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของไทย อาทิ กลุ่มสกัดน้ำมัน กลุ่มอาหารสัตว์ และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร โดยประเทศหลักที่นำเข้า ได้แก่ ประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และแคนาดา โดยในปีที่ผ่านมา นำเข้าประมาณ 2.7 ล้านตัน (2,722,968.052 ตัน) คิดเป็นมูลค่า 37 พันล้านบาท (37,324,843,835 บาท) การนำเข
สอน. พยากรณ์แนวโน้มผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายฤดูผลิตปี 2562/63 ส่อลดลง เหตุเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนหลังราคาตกต่ำต่อเนื่อง เชื่อดันราคาน้ำตาลโลกลุ้นแตะ 15 เซนต์ต่อปอนด์ สอน. คาดอ้อยปี 62/63 ลดลง – นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สอน. คาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลทรายตลาดโลกฤดูการผลิตปี 2562/63 จะต่ำกว่าฤดูการผลิตที่ผ่านมา เนื่องจากนักวิเคราะห์มองสถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยที่ตกต่ำต่อเนื่องมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่มีราคาดีกว่า หลังจากนั้นประเมินแนวโน้มราคาน้ำตาลโลกจะเข้าสู่จุดสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคน้ำตาล ทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกกลับมาสู่ระดับราคา 15 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ประเทศผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ได้ “ขณะนี้ สอน. ยังคงติดตามปัจจัยพื้นฐานของสถานการณ์ภัยแล้งและราคาน้ำตลาดโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อผลผลิตไทยและอินเดียเป็นสำคัญ ขณะที่จีน อินโดนีเซียยังคงมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้บราซิลนำอ้อยไปผลิตเอทานอลแ
นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรเดือนมีนาคม 2562 ที่จัดทำโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส.ว่า ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย 0.18-0.59% อยู่ที่ราคา 15,574-15,638 บาท/ตัน เนื่องจากความต้องการข้าวหอมมะลิยังมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการเสนอราคารับซื้อในราคาที่สูง สำหรับน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาเฉลี่ยในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.20-1.00% อยู่ที่ราคา 13.39-13.50 เซนต์/ปอนด์ (9.23-9.31 บาท/กก.) เพราะการปรับขึ้นของราคาน้ำมันช่วยหนุนราคาน้ำตาลสัญญาล่วงหน้า ทำให้บราซิลนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากกว่าน้ำตาล ประกอบกับราคาขายน้ำตาลขั้นต่ำภายในประเทศของอินเดียที่สูงขึ้นอาจกระตุ้นให้ผู้ผลิตน้ำตาลของอินเดียเพิ่มกำลังการผลิตน้ำตาล เพื่อขายภายในประเทศมากขึ้น ทำให้การส่งออกน้ำตาลทรายลดลง ส่วน ยางพาราแผ่นดิบ ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.52-4.56% อยู่ที่ราคา 42.64-43.12 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงเพราะเข้าสู่ฤดูยางผล