น้ำตาลมะพร้าว
บ้านสวนตาสอย แหล่งผลิตน้ำตาลมะพร้าวโบราณ ตำนานที่เหลืออยู่ไม่กี่เจ้า นอกจาก ปลาทู ที่เป็นของขึ้นชื่อของ แม่กลอง แล้วยังมี น้ำตาลมะพร้าว ที่ถือเป็นสินค้าขึ้นชื่อที่ใครไปใครมาก็ต้องซื้อกลับไปเป็นของฝากกันแทบทุกราย เพราะ แม่กลอง เป็นเมืองสามน้ำ คือมีทั้ง น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทำให้น้ำตาลมะพร้าวของที่นี่มีรสชาติเฉพาะตัว คุณตาล-บุศรินทร์ เกิดแก้ว เจ้าของ น้ำตาลมะพร้าวบ้านสวนตาสอย เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า ครอบครัวทำน้ำตาลมะพร้าวกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ตกทอดกันมาหลายรุ่นจนมาถึงปัจจุบัน โดยทุกคนในครอบครัวต่างก็ทำน้ำตาลมะพร้าวเป็นกันหมด เพราะจะได้รับการถ่ายทอดต่อๆ กันมา “ตั้งแต่สมัยเด็กๆ สิ่งที่ตาลเห็นรอบตัวมีแต่สวนมะพร้าว และการทำน้ำตาลมะพร้าวก็เป็นอาชีพที่เลี้ยงดูแลครอบครัวของเรามาตลอด โดยทุกคนยังคงสืบทอดการทำน้ำตาลมะพร้าวจนถึงปัจจุบัน เหมือนเป็นมรดกที่บรรพบุรุษแห่งลุ่มน้ำแม่กลองทิ้งไว้ให้ลูกหลานได้ทำมาหาเลี้ยงชีพกันต่อๆ มา ซึ่งพี่น้องคนอื่นๆ เขาก็ทำแบรนด์ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลมะพร้าว ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ส่วนตาลก็ทำแบรนด์ขึ้นมาเองเหมือนกัน โดยใช้ชื่อว่า น้ำตาลมะพร้าวบ้านสว
“โควิด” ทำคนซื้อหายเกลี้ยง ”เตาตาล” เสี่ยงล่มสลาย ชวนอุดหนุน “ยิ้มทั้งน้ำตาล” สถานการณ์โรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” สร้างแรงสั่นสะเทือน จนเกิดความเสียหายตามกันแทบทุกหย่อมหญ้า อย่างล่าสุด มีเรื่องราวน่าตกใจ เมื่อมีผู้ออกมาเปิดเผยว่า ชาวสวนตาล คนเคี่ยวน้ำตาล หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า อาชีพ “เตาตาล” ผู้สืบสานภูมิปัญญาตกทอดมาจากบรรพบุรุษนับร้อยปีของไทยนั้น กำลังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง “ล่มสลาย” โดยเพจ เดอะมนต์รักแม่กลอง สมุทรสงคราม ออกมาโพสต์ เรื่องราว เล่าว่า “ในท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 คนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดไม่แพ้ใครก็คือ ชาวสวนตาล เตาตาล คนทำน้ำตาลมะพร้าว ชาวสวนเตาตาลเป็นคนขยันสุดๆ ด้วยความจำเป็น ไม่ขยันไม่ได้เพราะเมื่อเริ่มปาดหน้างวงมะพร้าวเพื่อเอาน้ำตาลแล้ว น้ำหวานบริสุทธิ์จากงวงตาลจะไหลออกมาทุกวันเหมือนน้ำนมที่ไหลจากอกแม่ เมื่อน้ำตาลออกทุกวัน ก็ต้องเอามาเคี่ยวทำน้ำตาลทุกวัน ไม่มีพักเบรก ไม่มีวันหยุด ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ทำตาล เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจหยุดชะงัก การรับซื้อน้ำตาลหดหาย วิบากกรรมของความขยัน คือ น้ำตาลมะพร้าวที่ผลิตออกมาทุกวันๆ จึงขายไม่ออก ตกค้างเป็นภาระอยู่
วิกฤติราคามะพร้าวยังคงสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวสวนอย่างทั่วหน้า ไม่เว้นแม้แต่ คุณพรเลิศ เลี่ยนเครือ ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่จังหวัดกาญจนบุรีด้วย แต่ผลกระทบในครั้งนี้กลับเป็นจุดเปลี่ยนอาชีพด้วยการหันไปผลิตเป็นน้ำตาลมะพร้าวอินทรีย์ แล้วคิดค้นเทคโนโลยีเครื่องจักรประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาดั้งเดิม รองรับการผลิตเพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรมอาหารและขนมหลายแห่ง พร้อมกับผลิตส่งขายให้กับอเมริกาและฝรั่งเศสมานานเกือบ 10 ปี สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกาญจนบุรีด้วยแบรนด์ผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าวคุณภาพชื่อ “ไผ่ริมแคว” เตรียมขนส่ง คุณพรเลิศ เลี่ยนเครือ หรือ พี่แดง อดีตเคยทำงานที่การไฟฟ้าทองผาภูมิ ในตำแหน่งพนักงานเก็บเงินมานานกว่า 14 ปี ก่อนจะผันตัวเองเข้าสู่เส้นทางเกษตรกรรมด้วยการเลี้ยงปลากระชังเป็นปลาทับทิมกว่า 400 กระชัง ซึ่งถือเป็นรายใหญ่ของกาญจนบุรี จากนั้นต่อยอดด้วยการทำร้านอาหารแล้วนำปลาที่เลี้ยงไปทำเมนูปลาต่างๆ แล้วหันไปปลูกผลไม้ในสวนตัวเองอย่างจริงจังหลายชนิด รวมถึงมะพร้าวน้ำหอม จนนำมาสู่การทำธุรกิจน้ำตาลมะพร้าวที่โด่งดังของจังหวัดจนทุกวันนี้ “ทำสวนผลไม้ อย่างขนุน ส้มโอ แก้วมังกร กระท้อน มะพร้าว ฯลฯ
คุณปรีชา เจี๊ยบหยู อยู่บ้านเลขที่ 62/1 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เผยว่า เดิมทีการทำน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงครามมีทำกันเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อสังคมเมืองมีการขยายตัว ทุกคนมีทางเลือกมากขึ้น จึงได้ตัดสินใจไปทำอาชีพอื่นแทน จึงส่งผลให้การทำน้ำตาลมะพร้าวค่อยๆ สูญหายไป เขาจึงได้ทำการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง โดยนำชาวบ้านที่มีองค์ความรู้มารวมกลุ่ม จนทำให้ทุกวันนี้การทำน้ำตาลมะพร้าวของกลุ่มสามารถทำรายได้เลี้ยงสมาชิกได้ถึง 12 ครัวเรือนกันเลยทีเดียว คุณปรีชา เล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยปี 2500 พื้นที่บริเวณนี้มีชาวบ้านที่ทำน้ำตาลมะพร้าวถึง 52 บ้าน ทำแบบเชิงเป็นธุรกิจของครอบครัวที่ไม่ได้รวมกลุ่ม ต่อมาจังหวัดสมุทรสงครามเริ่มมีถนนพระราม 2 ตัดผ่านและมีการเปิดใช้งานจึงทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น จึงทำให้การทำน้ำตาลมะพร้าวเริ่มมีจำนวนที่ลดลงไปด้วย คือเหลือประมาณ 2 เตาในปี 2534 ซึ่งผู้ที่ขึ้นปาดน้ำตาลในขณะนั้นก็เป็นผู้สูงอายุแทบทั้งสิ้น เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่ได้สนใจในอาชีพนี้มากนัก ต่อมาเมื่อมองเห็นถึงความสำคัญของการทำน้ำตาลมะพร้าวให้คงอยู่ คุณป