น้ำทะเลหนุนสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมท่าเรือและลานเอนกประสงค์หน้าศาลากลางเดิม จ.นนทบุรี เมื่อช่วงเช้าวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ส่งผลให้ประชาชนที่ขึ้นลงเรือต้องลุยน้ำอย่างทุลักทุเล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์น้ำวันที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 06.00 น. ณ จุดตรวจสอบน้ำ อ.ศรีสัชนาลัยพบว่า มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 153 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดจากเมื่อวานนี้ อยู่ที่ 193 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากจุดตรวจสอบน้ำค่ายจิรประวัติ มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,117 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเมื่อวานอยู่ที่ 2,087 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่แม่วงก์ เมื่อสองวันที่ผ่านมา ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ลดลงอยู่ที่ 2,018 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ด้านเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประมาณน้ำไหลผ่านลดลงอยู่ที่ 239 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเมื่อวานนี้ที่ 431ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก ลดลงเหลือ 533 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเมื่อวานนี้มีปริมาณน้ำไหลผ่าน อยู่ที่ 601 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และปริมาณน้ำไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ที่2
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม นางเบญทราย กียปัจจ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า นี้สำนักการระบาย กทม.ได้รายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสถานการณ์น้ำเหนือ น้ำหนุน รวมถึงสถานการณ์น้ำทางพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ยังไม่น่าห่วง เนื่องจากกรมชลประทานได้ลดปริมาณการปล่อยน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเหลือประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) เนื่องจากเริ่มมีน้ำเอ่อล้นท่วมหลายพื้นที่ เช่น ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ประกอบกับฝนตกน้อยลง รวมถึงระดับน้ำหนุนซึ่งวัดได้ที่ปากคลองตลาดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1.4 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ จะมีน้ำทะเลหนุนสูง จึงต้องเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดกับขึ้นกับชุมชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำรวมถึงจุดที่เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยายังสร้างไม่เสร็จ ซึ่ง กทม.ได้เตรียมการช่วยเหลือแล้ว “ในส่วนของระดับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระดับน้ำอยู่ในระดับวิกฤตหลายจุด เช่น มีนบุรี ลาดกระบัง ฯลฯ สูงกว่าระดับวิกฤตทำให้มีน้ำล้นเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ กทม.ไ