น้ำปลา
ศิลปวัฒนธรรม ชวนชิมประวัติศาสตร์ผ่านปลาร้า น้ำปลา กะปิ ภูมิปัญญาถนอมอาหารเก่าแก่คู่ครัวไทย ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของไทยและอุษาคเนย์ ที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ โดยเฉพาะ “ปลาร้า น้ำปลา กะปิ” ที่เป็นส่วนผสมสุดพิเศษคู่ครัว ช่วยขับเน้นรสชาติอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้น และยังเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ส่วนผสมสำคัญที่ทำให้อาหารไทยโด่งดังไกลทั่วโลก “ศิลปวัฒนธรรม” ผู้นำคอนเทนต์ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม ในเครือมติชน จึงได้ชวนทุกคนมาร่วมชูภูมิปัญญาถนอมอาหารเก่าแก่คู่ครัวไทย ในงาน SILPA SAVOURY “ชิมประวัติศาสตร์ผ่านปลาร้า น้ำปลา กะปิ” ร่วมกับ ร.ศ. ๑๒๗ “ในข้าวมีคำ” ร้านอาหารไทยระดับไฟน์ไดนิง เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี โดยมีผู้สนับสนุน ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) น้ำปลาแท้ กะปิแท้ ตรา ตราชู ตราชั่ง “กว่า 70 ปี ที่อยู่คู่เมืองระยอง” และน้ำปลาร้า หม่ำแซ่บ “แซ่บทุกคำ.. หม่ำคอนเฟิร์ม” ภายในงาน ผู้บริหารเครือมติชน นำโดย ปานบัว บุนปาน ประธานกรรมการ และผู้บริหาร ร.ศ. ๑๒๗ “ในข้าวมีคำ” เช่น ปิยวรรณ สารสมบูรณ์ เชฟและหนึ่งในหุ้นส่วน ให้การต้อนรับผู้ร่วมงาน อาทิ สุรช
ซีพีเอฟ โชว์ความคืบหน้า 5 โครงการหนุนกรมประมงจัดการปลาหมอคางดำ เดินหน้าต่อยอดร่วมกับกรมราชทัณฑ์ทำน้ำปลา การปฏิบัติการของหลายภาคส่วนโดยเฉพาะกรมประมงยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยกันกำจัด และลดจำนวนปลาหมอคางดำในหลายพื้นที่ของประเทศไทยให้หมดไป ในส่วนของภาคเอกชนอย่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โชว์ผลการดำเนินงาน 5 โครงการสนับสนุนกรมประมงมีความคืบหน้า ที่ผ่านมารับซื้อเพื่อผลิตปลาป่นแล้ว 1,500,000 กิโลกรัม สนับสนุนประมงจังหวัดจัดกิจกรรมการจับปลาใน 17 จังหวัด ร่วมกับสถาบันการศึกษาพัฒนาแปรรูปอาหารและหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากปลาหมอคางดำ ล่าสุด ซีพีเอฟได้ขยายความร่วมมือกับกรมประมงและกรมราชทัณฑ์ คิกออฟโครงการจับปลาหมอคางดำทำน้ำปลา พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ต้องขังใช้เป็นทักษะอาชีพด้วย โดยนำร่องที่เรือนจำกลางสมุทรสงครามเป็นแห่งแรก ตามที่บริษัทได้เล็งเห็นความเดือดร้อนของเกษตรกร และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากปลาหมอคางดำ จนกลายเป็นวาระแห่งชาติ ซีพีเอฟได้เดินหน้า 5 โครงการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนและร่วมมือกำจัดออกจากแหล่งน้ำทุกแห่ง ตามแนว
ก่อนที่น้ำปลาขวดจะมีให้ซื้อหาง่ายๆ นั้น คนภาคเหนือยังกินเค็มจากปลาร้า ถั่วเน่าเมอะ คนอีสานก็เช่นกัน กินปลาร้า ปลาแดก เค็มหมากนัด คนใต้กินบูดู ไตปลา กะปิ เช่นเดียวกับคนภาคกลาง ที่แม้จะปรากฏว่าเป็นแหล่งทำน้ำปลามาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ก็กินกะปิ ปูเค็ม ฯลฯ ตามหลักฐานเอกสารเก่ากันด้วย ผมเพิ่งไปเห็นสูตรการหมักน้ำปลาในหนังสือตำรับสายเยาวภา ของสายปัญญาสมาคม (พ.ศ. 2478) เห็นว่าน่าสนใจดี เลยขอเอามาเล่าต่อครับ เผื่อจะมีใครปรับใช้สูตรนี้ ทำน้ำปลารสชาติแบบโบราณๆ กินเล่น หรือลองผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดน้ำปลาเมืองไทยดูบ้าง ตำรับสายเยาวภาฯ เริ่มเล่าถึงถังหมักน้ำปลา ว่ามีความสูงตั้งแต่ 1 เมตร ถึง 1.6 เมตร ก้นถังมีเส้นรัศมีตั้งแต่ 1.25-1.7 เมตร รองรับน้ำปลาได้ตั้งแต่ 1,200-1,800 กิโลกรัม ตัวถังเบื้องล่างจะต้อง “เจาะเป็นรูสำหรับระบายน้ำปลาออกได้ ภายในถังบรรจุไว้ด้วยข้าวสารและเปลือกหอย และพูนขึ้นเป็นรูปเจดีย์ สูงประมาณ 40 เซนติเมตร ณ ตำแหน่งที่เราเจาะรูไว้นั้น ใช้หางม้าหรือผมบรรจุไว้ภายในรูนั้นเพื่อใช้เป็นเครื่องกรอง” และกล่าวสรุปว่า การทำน้ำปลานั้น แบ่งวิธีทำได้ดังนี้ เริ่มแรกก็คือ เคล้าเกลือกับปลา เมื่อได้
สต๊อกขาดตลาดรับสงกรานต์! ห้าง จำกัดการซื้อ น้ำมัน-น้ำปลา ไม่เกิน 6 ขวดต่อ 1 ใบเสร็จ เว็บไซต์ ข่าวสดออนไลน์ เผยข่าว ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ถึงปริมาณสินค้าอุปโภคบริโภคภายในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง พบว่า หลายสินค้าเริ่มไม่มีสินค้าวางบนชั้นวางสินค้าเพื่อจำหน่ายและสต๊อกขาด จากการสำรวจห้างค้าปลีกย่านบางเขน พบว่า น้ำมันพืชบรรจุขวด (1 ลิตร) ทุกชนิด ทั้งน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว เริ่มไม่มีสินค้าวางบนชั้นวางสินค้า ขณะที่บางห้างมีการนำสินค้าอื่นมาวางจำหน่ายแทน บางห้างจำกัดจำนวนซื้อต่อครอบครัวไม่เกิน 6 ขวด จากการสอบถามพนักงานในห้าง ได้รับการยืนยันว่า น้ำมันถั่วเหลืองที่สต๊อกหมดทุกยี่ห้อ โดยราคาสูงขึ้น เฉลี่ยขวดละ 61.00-65.00 บาท ส่วนน้ำมันปาล์มเฉลี่ย 64.00-69.75 บาท น้ำมันรำข้าวอยู่ที่ 66.00-69.00 บาท น้ำมันดอกทานตะวันอยู่ที่ 85 บาท นอกจากนี้ หลายสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เริ่มลดน้อยและหาซื้อยาก โดยเฉพาะน้ำปลายี่ห้อยอดนิยม ขวด 700 ซีซี ปิดป้ายจำกัดจำนวนการซื้อครอบครัวละไม่เกิน 6 ขวดต่อ 1 ใบเสร็จ และมีบางสินค้าปิดป้ายแจ้งว่าสต๊อกขาดชั่วคราว
ห่วงคนไทยไตวาย! รมว.คลัง เตรียมรีด ภาษีเค็ม จากผงปรุงรส เกลือ น้ำปลา เว็บไซต์ ข่าวสดออนไลน์ รายงานข่าว นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนา เพื่อการขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทย ว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตความเค็มตามปริมาณโซเดียม โดยมาตรการภาษีสรรพสามิตเป็นอีกเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้ประชาชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลดการบริโภคและลดการผลิตสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูง ร่วมกับการใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่ภาษี และมีเป้าหมายให้การบริโภคโซเดียมของคนไทยในแต่ละวันให้น้อยกว่า 20% ต่อคนต่อวัน หรือเหลือ 2,800 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน จากอัตราการบริโภคของคนไทยในปัจจุบันที่ 3,600 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน และมีเป้าหมายให้ลดต่ำกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีจากความเค็มนั้น ต้องไปดูว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างไร โดยอาจจะต้องใช้เวลา เพราะต้องมีการหารืออย่างรอบคอบกับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร “ปัจจุบันคนไทยเป็นเบาหวาน ความดัน ไตวายเรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาจากการบริโภคหวาน มัน เค็ม ที่ผ่านมาคลังได้มีการจัด
ดันน้ำปลา ปลาร้า สมุนไพรไทยเจาะตลาดแคนาดา นอกจากเรื่องรสชาติ ผู้บริโภคในปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับอาหารประเภท Functional Foods มีดีต่อสุขภาพ อาทิ มีสรรพคุณช่วยให้ย่อยง่าย ป้องกันโรค สร้างภูมิคุ้มกัน และคุณค่าของอาหารที่นอกเหนือจากการกินเพื่อให้อิ่ม ดังนั้น อาหารไทยจะสร้างสตอรี่ได้ก็ต้องมีข้อมูลด้านโภชนาการที่น่าเชื่อถือ #FunctionalFoods #bangkokbank #bangkokbanksme #sme ก่อนวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระแสของสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ Healthy Food Trend ได้รับความนิยมอยู่แล้วทั่วโลก ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่นั้น ส่วนใหญ่มองหาสินค้าที่จะทำให้ชีวิตมีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตั้งแต่การเปลี่ยนรูปแบบอาหาร หันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพ เลือกอาหารที่มาจากธรรมชาติมากที่สุด ออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโยคะ วิ่ง หรือการเข้ายิมเป็นประจำ เป็นต้น โดยในส่วนของสินค้าอาหาร ปัจจุบันนี้นอกเหนือจากประโยชน์ทางโภชนาการขั้นพื้นฐาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแคลอรีแล้ว ผู้คนยังให้ความสนใจไปถึงแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ในเชิงลึกมากขึ้น ทำให้สินค้าเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่ช่วยป้องกั
บิ๊กตู่ เผยเตือนบริษัท น้ำปลา ผลิตให้ถูก เชื่อคงไม่โดน แบน ทั้งหมด! บิ๊กตู่ / วันที่ 24 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณี อเมริกา ห้ามนำเข้า น้ำปลา บางยี่ห้อจากประเทศไทย ว่า เรื่องสหรัฐอเมริกาห้ามนำเข้าน้ำปลาก็ต้องเข้าใจ ซึ่งตนได้ถามในที่ประชุมและกระทรวงพาณิชย์แล้ว บริษัทที่ถูกแบนไม่ใช่ทั้งหมด มีเพียง 2 บริษัท ซึ่งมีการหารือเรื่องนี้มา 5 ปีแล้ว กระทรวงพาณิชย์ก็เตือนไปหลายครั้ง ทั้งหมดอยู่ที่กระบวนการผลิต ต้องไปต้มหรือไม่ ซึ่งเขาต้องไปปรับแก้วิธีการผลิตให้ตรงกับที่มีการกำหนด คงไม่ใช่เรื่องการแบนน้ำปลาไทยทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำลังประสานงานอยู่ อ่าน พาณิชย์แจง น้ำปลาไทยในสหรัฐไม่ขาดตลาด แค่ถูกกักบางยี่ห้อ ชี้ยังมีขายอีกกว่า 10 ยี่ห้อ
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า หลังจากสหรัฐอเมริกาห้ามนำเข้าน้ำปลาจากประเทศไทยเมื่อปี 2557 เนื่องจากไม่มีข้อมูลการตรวจสารพิษโบทูลินัมในน้ำปลาที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อมูลค่าและสัดส่วนการตลาดของน้ำปลาไทยในสหรัฐเป็นอย่างมาก และส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอาหารไทยนั้น สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้ทำการสำรวจการปนเปื้อนสารพิษโบทูลินัมและเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม ในตัวอย่างน้ำปลาที่หน่วยงานต่างๆ และเอกชนนำส่งตรวจวิเคราะห์และตัวอย่างน้ำปลาที่จำหน่ายในตลาดทั่วไป รวม 48 ตัวอย่าง แยกเป็น น้ำปลาแท้ 28 ตัวอย่าง 21 เครื่องหมายการค้า จาก 18 แหล่งผลิตใน 12 จังหวัด และน้ำปลาผสม 20 ตัวอย่าง 18 เครื่องหมายการค้า จาก 14 แหล่งผลิต ใน 9 จังหวัด โดยตรวจหาสารพิษโบทูลินัม ชนิด A, B, E และ F และตรวจหาเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม ปรากฎว่าไม่พบทั้งสารพิษโบทูลินัมและเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัมในน้ำปลาทุกตัวอย่าง “เชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ในดินและ
กรณีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ สุ่มตรวจคุณภาพของน้ำปลาที่จำหน่ายและผลิตในประเทศ ในปี พ.ศ.2555 – 2558 จำนวน 1,121 ตัวอย่าง 422 ยี่ห้อ พบไม่ได้มาตรฐาน 410 ตัวอย่าง หรือ ร้อยละ 36.57 ส่งผลให้หลายคนเกิดความวิตกกังวล และเรียกร้องให้เปิดเผยยี่ห้อ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคนั้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องบอกว่า การที่กรมฯตรวจสอบคุณภาพน้ำปลาก็เพื่อให้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆมีคุณภาพตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ ไม่ได้ต้องการสร้างความแตกตื่น หรือวิตกกังวลจนเกินเหตุ แต่เป็นการรายงานข้อเท็จจริงให้ผู้บริโภคทราบ โดยการตรวจสอบน้ำปลาก็เป็นการสุ่มตรวจจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ส่งมาให้ดำเนินการ โดยกรณี 410 ตัวอย่างที่พบว่าไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 36.57 นั้น จะแยกเป็นน้ำปลาแท้ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 27 และน้ำปลาผสมอีกร้อยละ 46 น.ส.จารุวรรณ กล่าวว่า โดยปัญหาส่วนใหญ่จะมาจา
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ทั่วประเทศ เฝ้าระวังคุณภาพของน้ำปลาที่จำหน่ายและผลิตในประเทศ ในปี พ.ศ.2555 – 2558 ได้รวบรวมข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำปลาทั่วประเทศไทย จำแนกเป็น น้ำปลาแท้ 576 ตัวอย่าง น้ำปลาผสม 545 ตัวอย่าง รวม 1,121 ตัวอย่าง จากผู้ผลิต 245 ราย 422 ยี่ห้อ พบไม่ได้มาตรฐาน 410 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36.57 โดยพบน้ำปลาแท้ไม่ได้มาตรฐาน 159 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น ร้อยละ 27.6 ส่วนน้ำปลาผสมไม่ได้มาตรฐาน 251 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 46.06 สาเหตุที่น้ำปลาไม่ได้มาตรฐานส่วนใหญ่ เนื่องจากปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดต่ำร้อยละ 56.10 และปริมาณกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมดสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 65.12 นพ.พิเชฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังพบการเติมผงชูรสเพื่อนำมาแต่งกลิ่นรสของน้ำปลา อาจส่งผลต่อผู้บริโภคที่แพ้ผงชูรส ดังนั้นการกำหนดอัตราส่วนของปริมาณกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหม