น้ำหมักชีวภาพ
กยท. ร่วมทัพ ติดตาม รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่เปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ เตรียมส่งผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเกษตร เมื่อ 22 กรกฎาคม 2567 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่บูรณาการความร่วมมือเพื่อเร่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำที่ส่งผลต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ สำหรับผู้บริหารของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหาร และพนักงาน กยท. ได้เข้าร่วมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมประชุมหารือร่วมกับผู้แทนสมาคมการประมง 16 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด พร้อมร่วมสังเกตการณ์ขั้นตอนการรับซื้อปลาหมอคางดำ ณ จุดรับซื้อ และชมการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ โดยกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ เบื้องต้น กยท. จะดำเนินการสนับสนุนงบประมาณเพื่อรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ระบาดทุกแห่ง ซ
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีการปลูกเป็นการค้าในหลายพื้นที่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในปัจุบันมีแหล่งปลูกที่สำคัญที่มีศักยภาพในการผลิตคุณภาพสูงมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี เป็นต้น แปลงกุหลาบตัดดอก การปลูกกุหลาบตัดดอกสามารถผลิตในรูปแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการผลิตสองรูปแบบนี้จะต้องคำนึงเลือกพื้นที่ผลิตที่ที่เหมาะสม ทั้งสภาพอากาศ ดิน และน้ำ ซึ่งปัจจุบันมีหลายพื้นที่ของภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จังหวัดนครปฐมที่มีความพร้อม สามารถปลูกกุหลาบตัดดอกรูปแบบเชิงปริมาณที่ใหญ่แห่งหนึ่ง กุหลาบถือได้ว่าเป็นไม้ดอกที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เพาะปลูกได้ทุกวัน อีกทั้งมีการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาปลูกเป็นพืชเสริมสลับกับพืชหลักได้ ที่สำคัญตลาดยังให้การตอบรับอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเกษตรกรหลายคนหันมาปลูกกุหลาบตัดดอกกันมากขึ้นในหลายพื้นที่ แต่จะมีวิธีการปลูก ดูแลกุหลาบให้มีดอกที่ใหญ่ สีสด กลีบหนา กานยาว ตรงตามความต้องการของตลาดได้อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแล ซึ่งพี่สุรีย์ เจ๊กพัน เกษตรกรผู้ปลูกกกุหลาบตัดดอก ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือ
“ปุ๋ยปลาร้า” (น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล) ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต รักษาสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้ ภาคเกษตรต้องเผชิญปัญหาดินเสื่อม โรคแมลงศัตรูพืชและปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ได้ผลผลิตต่ำสวนทางกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หากใครกำลังมองหาแนวทางลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ก็แนะนำให้ทดลองใช้ “ปุ๋ยปลาร้า” (น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ ย้อนกลับเมื่อปี 2550-2551 กรมส่งเสริมการเกษตร โดยคุณสุพจน์ แสงประทุม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในสมัยนั้น เกิดแนวคิดที่จะช่วยเกษตรกร “ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม” จึงได้มอบหมายให้ นักวิชาการเกษตร ชื่อ คุณวิชัย ซ้อนมณี ศึกษาทดลองการใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ มาใช้ในแปลงเพาะปลูกพืช ก็ได้ผลสรุปว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลหรือที่เรียกกันทั่วไปคือ ปุ๋ยปลาร้า มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม ได้อย่างดี เมื่อนำปุ๋ยปลาร้าไปให้เกษตรกรทดลองปุ๋ยปลาร้าก็พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในแปลงปลูกพืช เพราะสามารถเพิ่มจำน