บริการ
โรงแรม-ร้านอาหาร-บริการ การ์ดไม่ตก เข้มมาตรฐานความสะอาด ปลอดเชื้อ ปลอดภัย ด้านงาน Food & Hospitality Thailand ร่วมชมรมผู้บริหารงานแม่บ้าน กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เปิดโซน Cleaning & Hygiene Thailand เตรียมขนนวัตกรรมใหม่ร่วมโชว์ ธุรกิจกลุ่มท่องเที่ยว-บริการ ยังยกการ์ดสูง พร้อมเข้มด้านมาตรฐานความสะอาด ปลอดเชื้อ สร้างความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการ ส่งผลอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับทำความสะอาดเป็นที่ต้องการสูง ด้าน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ร่วมจับมือชมรมผู้บริหารงานแม่บ้านประเทศไทย และกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เปิดโซนใหม่ Cleaning & Hygiene Thailand (CHT) เตรียมขนนวัตกรรมล่าสุดด้านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ พร้อมกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ในการทำความสะอาด นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 กล่าวถึงการเติบโตและความต้องการอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมด้านความสะอาด ปลอดเชื้อ ปลอดภัยของกล
รู้หรือไม่! โลกการค้าขาย การใช้ระบบ เหมาะสมกับ สินค้า ส่วน บริการ ต้องใช้ความเป็นมนุษย์ เมื่อใดที่เราควรใช้ระบบมาจัดการธุรกิจให้ง่ายขึ้น แล้วเมื่อใดที่ควรใช้ความเป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาในการตอบโต้กับลูกค้า เรื่องง่ายๆ ที่หลายธุรกิจ ตกม้าตาย เอามาใช้แบบผิดที่ผิดทาง ผมมีโอกาสนั่งคุยกับเพื่อนเก่าแก่ ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอาหาร ขายก๋วยเตี๋ยวร้านไม่ใหญ่ ไม่มีสาขา แต่ว่าลูกค้าตรึม ยิ่งเที่ยงๆ ลวกกันข้อมือแทบหัก ขายก๋วยเตี๋ยวจนสามารถลงทุนเปิดร้านอาหารแนวคาเฟ่ได้อีกร้านที่บ้านเกิด ซึ่งเนรมิตฝันของทุกคนในครอบครัวให้เป็นจริงได้ด้วยเงินหลายล้าน ด้วยความที่เป็นธุรกิจใหม่ ต้องอาศัยความใส่ใจฟูมฟัก เพื่อนคนนี้จึงต้องยอมทิ้งร้านก๋วยเตี๋ยวที่ กทม. ไปดูแลคาเฟ่ในต่างจังหวัดบ่อยมาก สัปดาห์หนึ่งก็ 5-6 วัน กลับมาดูร้านที่ กทม. แค่ 1-2 วัน ความเป็นครอบครัวใหญ่ ที่มีทั้งน้อง ทั้งหลาน รวมถึงลูกน้องในร้าน ช่วยเป็นหูเป็นตาได้แบบไม่ต้องกังวลเรื่องความซื่อสัตย์ เรื่องการยักยอก อีกทั้งทุกคนที่มอบหมายให้ดูแล ล้วนแล้วแต่ได้ผ่านประสบการณ์ร่วมกันมาอย่างช่ำชอง ช่วงเดือนแรกของร้านคาเฟ่ แม้ทั้งร้านจะเริ่มต้นแบบธุ
ปัญหา ที่ผู้ค้าออนไลน์ต้องเคยเจอ! ลูกค้าไม่พอใจสินค้า ควรรับมืออย่างไร ให้ไม่เสียลูกค้า การเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ดี แต่ก็มีปัญหาไม่น้อย ทั้งสินค้าหมดไม่มีขาย การตอบแชตลูกค้า ถ้าช้าก็ทำให้เสียลูกค้า อีกสิ่งหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวเตรียมใจคือ การที่ลูกค้าไม่พอใจสินค้า เมื่อรับสินค้าแล้วมีปัญหา อยากเปลี่ยนหรือคืนสินค้า ซึ่งอาจเกิดจากลูกค้าผิดหวังในตัวสินค้า ของชำรุด หรือแม้แต่ความผิดพลาดของพ่อค้าแม่ค้าเอง เช่น ส่งผิดไซซ์ ผิดสี ส่งผิดคน เป็นต้น ซึ่งคนเป็นพ่อค้าแม่ค้าย่อมต้องแก้ไขเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด โดย เว็บไซต์ POSTFAMILY ได้แชร์วิธีรับมือ เมื่อลูกค้าไม่พอใจ ควรรับมือด้วยวิธีเหล่านี้ 1. อย่ารีบโต้แย้ง ปฏิเสธ หรือหาข้ออ้างทันที แต่ให้ฟังอย่างตั้งใจ ร้านต้องพยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นปัญหา อย่ารีบโต้แย้ง อย่ารีบปฏิเสธ แม้บางทีอาจไม่ใช่ความรับผิดชอบของร้าน แต่ก็อย่าเพิ่งรีบปฏิเสธโดยทันที เพราะถ้าคุณรีบโต้แย้ง หรือปฏิเสธทันที ลูกค้าจะรู้สึกว่าร้านขาดความรับผิดชอบ ซึ่งจะกลายเป็นผลเสียตามมา 2. อย่าโต้ตอบด้วยอารมณ์ ให้ตั้
ชีวิตดีๆ ที่ (ไม่) ลงตัว! เมล์ไทย VS เมล์พม่า บริการสุดต่าง-ราคาคนละขั้ว เมล์พม่า 5 บาท – เมื่อวันที่ 14 ต.ค. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม และอดีตแคนดิเดตนายกฯพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก บอกเล่าเรื่องราวระบบขนส่งสาธารณะของเมืองหลวงเก่า และ ศูนย์กลางการค้าสำคัญของประเทศ อย่าง นครย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีใจความว่า นายชัชชาติได้ไปทำบุญออกพรรษาและไหว้พระเจดีย์ชเวดากอง ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เขาไม่ได้ไปเยี่ยมเยียนเมืองย่างกุ้งนานมาก สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนว่าเมืองเปลี่ยนไปเยอะสิ่งหนึ่งเลย คือ ระบบขนส่งสาธารณะอย่าง รถเมล์ แต่ก่อน รถเมล์ของเมืองย่างกุ้ง มีจำนวนเส้นทางมากถึง 357 เส้นทาง มีผู้ประกอบการจำนวนมาก รถเมล์ 4,000 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถเก่า ทรุดโทรม มีสภาพค่อนข้างแย่ คุณภาพการให้บริการไม่ดี จนจำนวนคนใช้รถเมล์ในย่างกุ้งลดลงเรื่อยๆ (น่าจะคล้ายๆ บ้านเรา) ต่อมา รัฐบาลท้องถิ่นของเมืองย่างกุ้ง ได้ทำการปฏิรูปรถเมล์ครั้งใหญ่ โดยมีการก่อตั้ง Yangon Region Transport Authority (YRTA) ไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2016 และ ตั้งระบบ ํYBS Yangon Bus System โดยมีการจัดสายรถเ
ความจำเป็นยุคโซเชียล! ต้องออกแบบสินค้า/บริการ “กระตุ้น”ให้อยากถ่ายรูป คุณพริมา จักรพันธุ์ ณ อยุธยา นักออกแบบไอศกรีมอาชีพคนแรกของเมืองไทย และเจ้าของร้านไอศกรีมดีไซน์สร้างสรรค์ “ICEDEA-ไอซ์เดีย” ให้ข้อมูลไว้ว่า ลูกค้าเป้าหมายกิจการของเธอเป็น กลุ่มผู้หญิง ในวัยนักเรียน นักศึกษา และ เริ่มต้นทำงาน ฉะนั้นก่อนที่จะออกแบบไอศกรีมรสชาติหรือรูปทรงใดๆออกมาจำหน่าย ต้องมีการศึกษาพฤตกิรรมลูกค้ากลุ่มหลักก่อน ว่าเป็นอย่างไร “ลูกค้าที่ร้านชอบของใหม่ๆ ชอบมาเป็นหมู่คณะ และต้องถ่ายรูปอาหาร หรือไม่ก็ถ่ายอาหารกับตัวเอง แล้วอัพขึ้นเฟซบุ๊ค โชว์เพื่อน แชร์กัน จึงเกิดไอเดียทำไอศกรีมให้มีหน้าตาที่กระตุ้นให้พวกเขารู้สึกอยากถ่ายรูป”เจ้าของกิจการบอกถึงที่มาของไอศกรีมหน้าตาแปลกจากความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเหมือนตัวช่วยให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของกิจการไอศกรีม ICEDEA บอกอีกว่า การสร้างเรื่องราว มีที่มาที่ไป ใส่ลงไปในอาหาร สามารถสร้างเสน่ห์ให้คนหันมามอง หันมาสนใจได้ ยกตัวอย่าง เมนู “โกลบอล วอร์มมิ่ง” เป็นไอศกรีมลดโลกร้อน ที่จริงมันคือ ไอศกรีมรสมินต์ โอริโอ ช็อคชิพ ทั่วไป เพียงแต่มีการเสริมแนวคิดเพิ่มเติมเข้าไป คือ แ
เมื่อก่อนเวลาพูดถึงการท่องเที่ยว มีผู้ให้นิยามสั้นๆ ว่า ขอให้มีองค์ประกอบ “ชม ชิม ช็อป” ถือว่าครบสูตร แต่สมัยนี้ ต้อง “ชม ชิม ช็อป แชะ แชร์” จึงจะครบสูตร เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ใครๆ ก็เป็นช่างภาพได้ สมัยที่โทรศัพท์กับกล้องยังไม่รวมกัน คนที่จะมีกล้องถ่ายรูป ต้องเป็นเรื่องของใจรัก หรือไม่ก็ต้องมีเงินเหลือใช้ ซื้อมาแล้วยังยุ่งยาก ต้องมาเรียนรู้อีกว่า ใช้งานยังไง แม้มีกล้องรุ่น “ปัญญาอ่อน” ออกมาช่วยแก้ปัญหานี้ไปได้บ้าง แต่ยังต้องเรียนรู้ในระดับหนึ่งอยู่ดี คนที่ทำธุรกิจอย่างชาญฉลาด ไม่ปล่อยโอกาสให้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ ผ่านหน้าไปเฉยๆ พวกเขาหยิบฉวยเอามาเป็น “ส่วนเสริม” ให้ธุรกิจมีเสน่ห์ได้อย่างลงตัว เริ่มจากยุคแรก ที่เน้นการจัดบรรยากาศร้านและสภาพแวดล้อมให้พร้อม “ถูกถ่ายรูป” มองมุมไหนก็ดูดีมีความสวยงาม จากที่หวงห้าม ก็กลายเป็นปล่อยให้ถ่ายรูปได้ตามใจชอบ ไปที่ไหน ไม่ให้ถ่ายรูป ดูจะขัดใจลูกค้าอย่างรุนแรง จากนั้นเริ่มพัฒนาการไปสู่ การจัดมุมให้ถ่ายรูป คือ บางทีจัดทั้งพื้นที่คงบาดเจ็บจากค่าใช้จ่าย แต่การเลือกมุมเด็ดมุมโดนแค่ไม่กี่มุม หรือแค่มุมเดียวก็ได้ ทำให้กลายเป็น “มุมห้ามพล