บังกลาเทศ
โควิด-19 ทำยอดขายจักรยานในบังกลาเทศพุ่งกระฉูด หลังคนไม่ไว้ใจขนส่งสาธารณะ การสัญจรในกรุงธากา นครหลวงของบังกลาเทศ เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากมีการประกาศ “ยกเลิกล็อกดาวน์” ไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่การกลับมาเริ่มต้นกันใหม่ครั้งนี้ ชาวกรุงธากา พบว่า การขี่จักรยาน น่าจะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด ในช่วงที่วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่สงบ สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า จากเดิมที่รถสามล้อตุ๊กๆ และรถเมล์ที่แออัดไปด้วยผู้โดยสาร คือบริการขนส่งสาธารณะที่ชาวกรุงธากาใช้ แต่ตอนนี้ทั้งรถเมล์ และรถสามล้อตุ๊กๆ กลายเป็นขนส่งสาธารณะที่คนส่วนใหญ่ยังรู้สึกกลัว เนื่องจากรักษาระยะห่างทางสังคมลำบาก เลยกลายเป็นว่า มีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น เพราะรู้สึกมั่นใจ สบายใจมากกว่า จากข้อมูลของ Dhaka’s Bangshal Bike Bazar ที่รวมร้านขายจักรยานอยู่ราว 150 ร้าน พบว่า การปั่นจักรยานไปทำงานหรือไปโรงเรียน กลายเป็น “นิวนอร์มอล” หรือ “วิถีชีวิตใหม่” ของผู้คนในนครหลวงแห่งนี้ “ยอดขายจักรยานเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ตอนนี้คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการโดยสารรถเมล์ รถแท็กซี่ รถสามล้อไฟฟ้า และหันม
ธนาคารบังกลาเทศ “กรามีน แบงก์” ชูแนวคิด คนยากจนมองเห็นแสงสว่างจากตัวเอง อุปสรรคสำคัญของพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยคือ “เงินทุน” เพราะหากไม่มีเงินทุนก้อนแรกในการประกอบอาชีพ เขาก็ไม่รู้จะค้าขายอะไร แม้บางคนอาจเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ ก่อน เช่น ขายข้าวเหนียวหมูปิ้งหน้าปากซอย, ขายปาท่องโก๋, ขายน้ำเต้าหู้ หรืออะไรต่อมิอะไรมากมายที่พอจะเลี้ยงตัวได้ แต่กระนั้น เมื่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศฝืดเคือง มีคนขายมากกว่าคนซื้อ จึงทำให้รายได้ของพวกเขาค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนบางรายต้องปิดร้านม้วนเสื่อกลับบ้านนอกเพื่อไปทำนา ทำไร่ ขณะที่พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยอื่นๆ ต่างหันไปกู้เงินนอกระบบ แม้จะรู้โดยสัญชาตญาณว่าดอกเบี้ยแพงมหาโหด แต่เขาจำเป็นต้องกู้ เพราะไม่เช่นนั้นไม่รู้จะประกอบอาชีพอย่างไรต่อ ไหนลูกจะต้องกินต้องใช้ ต้องไปโรงเรียน และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกจิปาถะ สำคัญไปกว่านั้น เหตุผลที่พวกเขาจำเป็นต้องกู้เงินนอกระบบ เพราะไม่มีรายได้เป็นหลักเป็นแหล่ง ไม่ได้ทำงานบริษัทห้างร้าน ไม่มีสลิปเงินเดือน และไม่มีใครค้ำประกันเงินกู้ได้ ครั้นจะขอกู้เงินจากแบงก์รัฐ และแบงก์พาณิชย์ก็ทำไม่ได้อีก เพราะไม่มีเอกสารใดๆ ทั้งสิ้น จนทำให้ชีวิ