ปราจีนบุรี
สืบสานภูมิปัญญา ผลักดันปราจีนบุรี ขึ้นแท่น “Silicon Valley ด้านสมุนไพร” เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ ภาคีเครือข่าย จัดงานมหกรรมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยปราจีนบุรี ครั้งที่ 1 ภายใต้แนวคิด “สืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน สร้างสรรค์นวัตกรรม เสริมพลังการแพทย์แผนไทย เพื่อสุขภาวะประชาชน” เปิดประสบการณ์สุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสมุนไพร เพื่อเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพด้วยภูมิปัญญาแผนไทย พญ.อรรัตน์ จันทร์เพ็ญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบรี (นพ.สสจ.ปจ.) กล่าวถึงความสำคัญของการจัดงานในครั้งนี้ว่า ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้นำเสนอภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยการรวมพลังจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุขและวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรและการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยมาสู่คนในพื้นที่และประชาชนทั่วไป การจัดงานครั้งนี้ ยังเป็นการตอกย้ำว่าจังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองสมุนไพรต้นแบบ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 7 ปี โดยภายในงานได้นำอัตลักษณ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาให้บริการประชาช
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ลงพื้นที่ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ชมความสำเร็จการบริหารจัดการน้ำชุมชน วันที่ 17 ส.ค. 2565 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้แทนจากภาคเอกชน ร่วมเยี่ยมชมจุดดำเนินงาน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อดูตัวอย่างความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำชุมชน โดยมีบรรยายพิเศษในหัวข้อ วิกฤตทรัพยากร และวิกฤตเศรษฐกิจในยุคโควิด พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการ ดิน น้ำ ป่า สู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชน และร่วมสรุปแนวทางรอดพ้นวิกฤตทรัพยากร และวิกฤตเศรษฐกิจ ชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 35,189 ไร่ ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน มีประชากร 10,230 คน และ 2,224 ครัวเรือน เป็นชุมชนที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ แต่ประสบปัญหาน้ำแล้งทุกปี ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและทำการเกษตร แต่พอถึงช่วงหน้าฝนจะประสบภาวะน้ำหลาก น้ำท่วมเป็นประจำ โดยเฉพาะบริเวณถนนสุวรรณศร ทำใ
ปราจีนบุรี เมืองสมุนไพร หนุน สร้างเวลเนส โมเดลธุรกิจด้วยกัญชา ขยายสู่พื้นที่อีอีซี เมื่อเร็วๆ นี้ นายสาธิต ปิตุเดชะ รมช.สาธารณสุข พร้อมคณะ เดินทางมายังโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจบุคลากร ใน จ.ปราจีนบุรี โดยมี นายพงษ์สิทธิ์ เนื่องจำนงค์ รองผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี พญ.โศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชมนิทรรศการการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ นายสาธิต กล่าวแสดงความเป็นห่วงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่ขยายวงกว้าง มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ แม้ประชาชนจะได้รับวัคซีนกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วก็ตาม พร้อมกันนี้ ยังได้เยี่ยมชมการดำเนินงานด้านสมุนไพร และการให้บริการเดย์สปา ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร รวมไปถึงคลินิกกัญชา และเยี่ยมชมระบบการปลูก การสกัดกัญชาเพื่อการแพทย์ ทั้งนี้หลังจากที่ สธ.ได้ประกาศปลดล็อกการปลูกกัญชา และอยู่ระหว่างการรอประกาศใช้กฎหมายภายใน 120 วันนั้น นายสาธิต ระบุว่า การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประ
“ปราจีนบุรี” ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพิ่มพื้นที่ปลูก 1.5 หมื่น ไร่ ชูต้นแบบจังหวัดสุขภาพดี เมื่อเร็วๆนี้ นายแพทย์เสรี ตู้จินดา ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 29 หน่วยงาน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ และโครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยจังหวัดปราจีนบุรี นายแพทย์เสรี กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคสินค้าอินทรีย์ หรือ Organic มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น เทรนด์ของโลก ส่งผลให้สินค้าเกษตรอินทรีย์มีอัตราการเติบโตสูงเพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งนโยบายเกษตรอินทรีย์ เป็นประเด็นในความสำคัญของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2561) ในยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยังให้การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบ
นับจากแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมานั้น ทำให้วงการสมุนไพรทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัดตื่นตัวเป็นอย่างมาก โดนในแผนแม่บทได้ระบุให้มีการพัฒนาเมืองสมุนไพรใน 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกการพัฒนาสมุนไพรครบวงจรแบบบูรณาการระดับพื้นที่ ซึ่งจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับคัดเลือกให้เป็น เป็น 1 ใน 4 เมืองสมุนไพรของประเทศ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านการพัฒนาสมุนไพรโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เมื่อได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 เมืองสมุนไพร ทางจังหวัดฯจึงจัดตั้งคณะกรรมการเมืองสมุนไพรขึ้นมา ทำหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดให้เกิดการพัฒนาเมืองสมุนไพรปราจีนบุรี โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ของเมืองสมุนไพรปราจีนบุรีได้นำ Thailand Model 4.0 มาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์ เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรี มีความได้เปรียบในความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อีกทั้งยังความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ซึ่งความได้เปรียบเหล่านี้สา