ปลากัด
สสว. แถลงผล การประกวดปลากัดออนไลน์ระดับชาติ ปี 2564 สำเร็จเกินคาด พร้อมโครงการ พัฒนาและส่งเสริมคลัสเตอร์ SME ประจำปี 2564 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แถลงการดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมคลัสเตอร์ SME ประจำปี 2564 ผลเป็นที่น่าพอใจ ได้รับความร่วมมือจาก 5 หน่วยงานพันธมิตร มีกลุ่มคลัสเตอร์เข้าร่วมโครงการ อาทิ คลัสเตอร์โกโก้ คลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ คลัสเตอร์ Digital Content คลัสเตอร์ Health and Wellness คลัสเตอร์กระเทียม เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 30 คลัสเตอร์ ผู้ประกอบการตบเท้าเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4,347 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 270 ล้านบาท ในส่วนของกลุ่มคลัสเตอร์ปลากัด มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 824 ราย ล่าสุดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 51 ล้านบาท แนวโน้มตลาดโตต่อเนื่อง คาดการณ์อนาคต จะมีมูลค่าการส่งออกไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท/ปี ขณะที่การจัดกิจกรรมไฮไลต์ “การจัดประกวดปลากัดออนไลน์นานาชาติ ปี 2564” (National Plakad Online Competition 2021) ผลตอบรับดีเกินคาด มีทั้งไทยและต่างชาติเข้าร่วมชม และส่งปลากัดร่วมประกวด มากเกือบ 1,600 ตัว นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่ง
ผู้เพาะเลี้ยงปลากัด จ.นครปฐม แบกภาระไม่ไหว – ส่งออกไม่ได้ เทปลาทิ้งนับแสน เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ปลากัดส่งออก แหล่งใหญ่ที่จังหวัดนครปฐม เจอพิษโควิด-19 ส่งออกปลากัดไปต่างประเทศไม่ได้นานกว่า 2 เดือน ต้องแบกภาระต้นทุนวันละกว่า 2,000 บาท จำใจปล่อยทิ้งปลากัดนับแสนตัวลงแหล่งน้ำธรรมชาติให้หากินเองคุณสิรินุช ฉิมพลี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านอ้อมพยศ หมู่ 7 ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมืองนครปฐม กล่าวว่า ทางกลุ่มมีสมาชิก 8 ราย เลี้ยงปลากัดมานาน 10 ปี ส่งออกไปต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกงฝรั่งเศส เยอรมนี อเมริกา ปกติในทุก 1-2 สัปดาห์ จะแพ็กสินค้าส่งออกไปทางเครื่องบิน ส่งให้กับลูกค้าที่มีออร์เดอร์เข้ามาครั้งละ 50,000-100,000 ตัว หลังเกิดโรคโควิด-19 ระบาด เครื่องบินหยุดบิน แม้จะมีออร์เดอร์มาจากต่างประเทศ ทางกลุ่มก็ส่งออกไม่ได้มานานกว่า 2 เดือนแล้ว สมาชิกที่เพาะเลี้ยงปลากัด ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าอาหารปลา ค่าน้ำ และค่าแรงงาน ตกวันละ 2,000 บาท ต่อปลากัด 100,000 ตัว เพราะปลากัดจะมีอายุมากขึ้น ถ้าเกิน 4 เดือน จะกินอาหารมากขึ้น ลำตัวมีขนาดใหญ่ หากยังเลี้ยงในขวดต่อไปจะหันกลับมากัดหางตัวเอง ตามธรรมชาติ ทำให้
ว่างจากนา เลี้ยงปลากัด! ขายผ่านโซเชียล คนแห่ประมูล รับทรัพย์อื้อ ไม่พอ! รับต่อตู้ปลาอีก ปัจจุบันความสวยงามของปลากัด เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้หลายคนหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น จากเดิมปลากัดเป็นเพียงแค่ปลาต่อสู้ของเซียนพนันในหมู่บ้านเล็ก หลังจากที่มีคนนำปลากัดมาผสม และสร้างสายพันธุ์ใหม่ จนได้ปลากัดที่มีความสวยงาม และไม่เหลือเค้าโครงของปลากัด ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลากัดที่สร้างรายได้หลายล้านบาทต่อปี มีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรองรับ อย่างเช่นนางวิไลพร สามพิมพ์ อายุ 36 ปี และนายคมสันต์ สามพิมพ์ 2 สามีภรรยา ชาวบ้านโสน ต.แสลงพันธ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ หลังว่างเว้นจากการทำนาข้าว ได้หันมาทำอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงปลากัดแฟนซี ส่งขายต่างประเทศ และขายผ่านโซเชี่ยลโดยใช้ชื่อเพจ “ปลากัด บ้านปลาฟาร์มสุรินทร์” เพาะปลากัดส่งขายทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเริ่มต้นครั้งแรกใช้งบประมาณ 5 พันบาท ลงทุนซื้อพันธุ์ปลากัดและวัสดุอุปกรณ์ เพาะเลี้ยงปลากัดแฟนซีขายทำมาปีนี้เป็นปีที่ 2 สร้างรายได้เสริมจากเวลาว่างเว้นจากการทำนาข้าว เฉพาะปลากัดอย่างเดียว จะมีรายได้ประมาณ 12,000 บาทต่อเดือน หรือมีรายได้หมื่นอัพ
หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ด้วยสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ คนไทยรู้จักปลากัดมายาวนาน ปลากัดมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว และสามารถเพาะพันธุ์ต่อยอดเป็นธุรกิจสร้างอาชีพให้คนไทยได้ มีข้อมูลผู้ประกอบการไทยส่งออกปลากัดระหว่างปี 2556 – 2560 ประมาณ 20.85 ล้านตัวต่อปี ส่งไป 95 ประเทศทั่วโลก มูลค่าไม่ต่ำกว่า 115.45 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยราคาตัวละ 5.42 บาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี คุณสุวรรณีย์ แสงดี หรือ “คุณแอน” เจ้าของธุรกิจ เจ๊แอนปลากัด ร้านดังในตลาดนัดจตุจักรเปิดมายาวนาน 11 ปี ร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่อง ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ว่า “ปัจจุบันปลากัดในท้องตลาดมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อ ครม.มีมติให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ คาดว่าสัตว์น้ำชนิดนี้จะขายดียิ่งขึ้นไปอีก อีกทั้งไปรษณีย์ไทยอำนวยความสะดวกมีบริการส่งปลากัดภายในประเทศ เชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจปลากัดขยายตัวมากขึ้น ตลาดปลากัดจะกว้างขึ้น” คุณสุวรรณีย์ แสงดี เมื่อปลากัดกลายเป็นสัตว์น้ำประจำชาติและส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย คุณสุวรรณีย์ มี
พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เส
ผู้ประกอบการเผย ยอดขาย “ปลากัด” พุ่ง! คนไทยแห่ซื้อ หลังถูกจัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เป็นเรื่องราวดีๆ ของวงการปลาไทย หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวประกาศให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ด้วยเอกลักษณ์และความโดดเด่นของปลากัดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นเจ้าของ และยังเป็นสัตว์น้ำที่ช่วยส่งเสริมด้านพาณิชย์และเศรษฐกิจอีกด้วย เส้นทางเศรษฐีสอบถามไปยังร้านปลากัดถึงข่าวน่ายินดี โดยมี คุณจิ๋ว-ณภัทร ตาณธนพนธ์ และ คุณหน่อย-รมิดา ตาณธนพนธ์ เจ้าของกิจการขายปลากัดออนไลน์ “Bettaberry Thailand” (เบตต้าเบอร์รี่ ไทยแลนด์) ให้ข้อมูลว่า ทางร้านยินดีมากที่ ครม. ประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ หลังมีข่าวออก ลูกค้าเริ่มเข้ามาติดต่อสอบถามอยากนำไปเลี้ยง มีความสนใจมากขึ้นว่า ปลากัดมีลักษณะอย่างไร มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และสวยงามขนาดไหน ทำไมจึงถูกยกให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เชื่อว่าตลาดปลากัดจะมีแนวโน้มที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ส่วนยอดขายถ้าทำแบรนด์มาค่อนข้างดีแน่นอนว่ายอดขายย่อมดีตาม “การที่รัฐบาลผลักดันให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ใน
“ช่างตัดผม” เพาะเลี้ยงปลากัด ขายเป็นรายได้เสริม เผยหลังครม.ประกาศให้เป็นปลาประจำชาติ ยอดขายพุ่ง (มีคลิป) คุณสุรศักดิ์ ยิ้มย่อง อายุ 27 ปี อยู่บ้านเลขที่ 88/4 หมู่ที่ 8 ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง ซึ่งประกอบอาชีพช่างตัดผม แต่หารายได้เสริมด้วยการเพาะเลี้ยงปลากัดสวยงามกว่า 30 บ่อหรือกว่า 10,000 ตัว จนปัจจุบันกลายเป็นรายหลักที่เลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย ทั้งที่เพิ่งจะเพาะปลากัดขายได้ประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากหลงใหลในสีสันความสวยงาม ทำให้ลงทุนเพาะขยายพันธุ์ด้วยตัวเองและเรียนรู้วิธีการเลี้ยง การให้อาหาร การดูแลรักษาผ่านทางยูทูบ โดยได้ทดลองผสมพันธุ์ปลากัดแบบธรรมชาติ จนได้สีสันที่สวยงาม แปลกตา ซึ่งสามารถขายได้เดือนละประมาณ 30-50 ตัว ราคาตั้งแต่ตัวละ 200-10,000 บาทเลยทีเดียว โดยหลัง ครม.มีมติเห็นชอบให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ก็ยิ่งทำให้กระแสตอบรับดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าสนใจสั่งจองผ่านเฟซบุ๊กของตนจำนวนหลายสิบราย ส่วนใหญ่ชอบโทนสีขาว สีธงชาติไทย ในตระกูลนีโม่และสีเหลืองส้ม ซึ่งมีสีสันที่สวยงาม นิยมนำไปเลี้ยงในตู้ปลาเพื่อความสวยงาม ทั้งยังเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย ทนทานต่อโรค และให
ปลากัด – คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ มีมติเห็นควรให้กรมประมง ชงครม.ให้หนุน ปลากัดไทย กลายเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ปลากัด – เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ครั้งที่ 2/2561 เพื่อพิจารณาการให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ตามข้อเสนอของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เผยว่า ในที่ประชุม นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง และคณะนักวิชาการ ได้นำข้อมูลของปลากัดไทย อย่างครบถ้วนรอบด้าน และมีหลักฐานยืนยันว่าปลากัดไทยปรากฏในบทประพันธ์และวรรณคดีไทย รวมถึงประวัติศาสตร์ไทยมานานร้อยกว่าปี มิติด้านความเป็นเจ้าของ มีชื่อที่บ่งบอกและเป็นชื่อที่ได้รับการยอมรับด้านวิชาการและในวงการวิชาการด้านสัตว์น้ำ คือ Siamese Fighting Fish ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกพบในประวัติศาสตร์มานานแล้ว อีกทั้งมีข้อมูลระบุด้วยว่าแหล่งที่พบปลาดังกล่าวอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ในบางกอก นายสุวพันธุ์ เผยต่อว่า ด้านประโยชน์ที่จะรับหากประกาศให้ปลา
เมื่อเร็วๆนี้ Change.org เว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้คนทุกคนสามารถเริ่มเรื่องรณรงค์ของตัวเอง ได้เผยแพร่ ข้อเรียกร้องเพื่อการณรงค์ในประเทศไทย จากผู้ที่ใช้ Change.org นามว่า Noppanan Arunvongse Na Ayudhaya ได้เรียกร้องให้มีการประกาศให้ “ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ” เหมือนกับที่ประเทศออสเตรเลีย ที่มีจิงโจ้เป็นสัตว์ประจำชาติ หรือ ประเทจีน ที่มี แพนด้า เป็นเอกลักษณ์ และจุดขายที่นำมาต่อยอดพัฒนาเป็นสินค้าต่างๆ สำหรับสาเหตุ ที่ต้องการให้ ปลากัด ต้องเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ นั้น เจ้าของเรื่องรณรงค์ดังกล่าว บอก นอกจากประเด็นเรื่องเอกลักษณ์และความภูมิใจแล้ว เมื่อปลากัด ได้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติจะทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง สามารถนำปลากัดสายพันธุ์ไทยไปจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ง่ายขึ้น ซึ่งหมายความว่า ไทยจะสามารถเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ของปลากัด ออกใบรับรองต่างๆ ได้ เอื้อให้สามารถแข่งขันในเวทีประกวดระดับโลกในนาม ‘ปลาไทย’ ได้ และเอื้อให้รายได้จากการค้าปลากัดกับต่างชาติเพิ่มขึ้น “เคยมีการเสนอแนวคิดนี้แล้วครั้งหนึ่งและมีแนวโน้มว่าจะสำเร็จ แต่แล้วเรื่องกลับถูกปัดตกไป โดยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการเอ