ปลาช่อน
ขายได้เดือนละ 20 ตัน! หนุ่ม 29 เลี้ยงปลาช่อน เลี้ยงยังไงให้ได้ปลาเนื้อดีไม่มีกลิ่นคาว เพราะเติบโตมาในครอบครัวที่ยึดอาชีพเป็นเกษตรกรเลี้ยงปลา เมื่อโตขึ้นจึงมุ่งหน้าเรียนสาขาประมงเพื่อนำความรู้มาต่อยอดและพัฒนาอาชีพของพ่อแม่ให้เติบโต จน “ปลาช่อน วิเศษฟาร์ม” ได้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ปลาน้ำจืดที่คอยให้ความรู้กับผู้ที่สนใจ และยังมีรายได้จากการจำหน่ายปลาอีกด้วย อายุน้อยแต่ประสบการณ์แน่น คุณจักรพันธ์ เชื้อขำ วัย 29 ปี เล่าให้ฟังว่า “ช่วงอายุประมาณ 13-14 ปี ผมได้เงินทุนจากพ่อมาก้อนหนึ่งเพื่อลองทำธุรกิจ เลยตัดสินใจเลี้ยงปลาช่อน ผมใช้เวลาแค่ 1 ปี สามารถถอนทุนคืนทั้งหมดและได้กำไรแบบ 100% ของเงินทุน ทำให้ตอนนั้นคิดว่าประสบความสำเร็จแล้ว แต่ผ่านไปเกือบ 2 ปี เกิดวิกฤตราคาปลาช่อนตก จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทำให้ผมต้องกลับมาคิดใหม่ว่าจะทำอย่างไรให้ฟาร์มปลาช่อนเราไปต่อได้ นั่นทำให้ผมตัดสินใจเรียนสาขาประมงโดยตรง เพื่อนำความรู้จากการเรียนมาปรับใช้กับการเลี้ยงปลาที่ฟาร์ม นอกจากบทเรียนในตำรา ผมต้องพยายามศึกษาเพิ่มเติมจากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ปลาช่อนที่มีคุณภ
ชี้เป้า! แหล่งเพาะ-จำหน่าย พันธุ์ปลาช่อนคุณภาพ โตเร็ว แข็งแรง “ปลาช่อน” เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีเกษตรกรเพาะเลี้ยงปลาช่อน จำนวนกว่า 199 ราย มีพื้นที่ 350.6 ไร่ ถือเป็นสัตว์น้ำที่มีผลผลิตและมีมูลค่าสูงอันดับต้นของจังหวัด รองจากปลานิลและปลาดุก ทั้งนี้ พื้นที่เลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอขาณุวรลักษบุรี จำนวน 4,406 ไร่ “โดโด้พันธุ์ปลา” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาช่อน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 24/2 หมู่ที่ 6 ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร แล้วยังเพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นอีก อาทิ ปลาดุก ปลาสลิด และปลาหมอ ฯลฯ พร้อมแปรรูป มีตลาดลูกค้าสั่งจองทั่วประเทศ โดยมี คุณอนุชา บุญสินชัย หรือ คุณเดี่ยวเป็นเจ้าของ คุณอนุชา บุญสินชัย หรือคุณเดี่ยว แต่เดิมคุณเดี่ยวช่วยครอบครัวภรรยาทำไร่ ทำนา อยู่หลายปี มองว่าอาชีพที่ทำอยู่ไม่ได้สร้างฐานะให้ดีขึ้นหรือยั่งยืนดีพอ จึงพยายามมองหาอาชีพเกษตรอื่น ขณะเดียวกัน ทางครอบครัวภรรยาได้เลี้ยงปลาช่อนขายด้วย จึงทำให้คุณเดี่ยวลองหันมาเลี้ยงปลาช่อนอย่างจริงจัง ระหว่างนั้นคุณเดี่ยวมองอีกว่า การเลี้ยงปลาช่อนขายต้องไปหาซื้อลูกพันธุ์ปลามา ตัวละ 3 บาท เลี้ยง
คุณขจร เชื้อขำ บ้านเลขที่ 51/3 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาช่อนในชนิดที่ว่าตัวยงเลยก็ว่าได้ มีทั้งการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อน การเลี้ยงปลาช่อนส่งเนื้อขาย และที่สำคัญมีการแปรรูปสินค้าจากเนื้อปลาช่อนอีกด้วย (กลาง) คุณขจร เชื้อขำ คุณขจร เล่าให้ฟังว่า สมัยเริ่มแรกของช่วงอายุวัยทำงาน ตนได้เลือกอาชีพเกษตรกรรม คือการเลี้ยงปลา เมื่อคิดว่าเหมาะสมกับทางสายงานด้านนี้แล้ว จึงจับเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งปลาที่เขาเลี้ยงในช่วงแรกเป็นปลาทับทิม ต่อมาเขาได้ไปศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์ปลาช่อนจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้สนใจอยากเลี้ยงปลาช่อนแบบจริงจังในเวลาต่อมา “ช่วงที่เราเลี้ยงปลาทับทิมอยู่ คนในย่านนี้เขาก็เลี้ยงปลาช่อนกันอยู่ เน้นไปหาช้อนลูกปลาจากธรรมชาติ มาเลี้ยงใส่บ่อกันส่วนมาก ซึ่งช่วงนั้นที่ฟาร์มเราก็ทำแต่ยังไม่มาก ต่อมาพอได้ไปเข้าร่วมอบรมหาความรู้ เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาช่อนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยง ก็เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำปลาชนิดนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง เพราะเรามองดูแล้วมันไม่น่าจะเป็น
เมื่อมองถึงเรื่องของการตลาดแล้ว นับได้ว่าอนาคตของปลาช่อนยังไปได้อีกไกล เพราะวิธีการเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยากและที่สำคัญตลาดยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค คุณขจร เชื้อขำ บ้านเลขที่ 51/3 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาช่อนในชนิดที่ว่าตัวยงเลยก็ว่าได้ มีทั้งการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อน การเลี้ยงปลาช่อนส่งเนื้อขาย และที่สำคัญมีการแปรรูปสินค้าจากเนื้อปลาช่อนอีกด้วย (กลาง) คุณขจร เชื้อขำ เห็นปลาช่อน เป็นสัตว์น้ำที่น่าสนใจ คุณขจร เล่าให้ฟังว่า สมัยเริ่มแรกของช่วงอายุวัยทำงาน ตนได้เลือกอาชีพเกษตรกรรม คือการเลี้ยงปลา เมื่อคิดว่าเหมาะสมกับทางสายงานด้านนี้แล้ว จึงจับเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งปลาที่เขาเลี้ยงในช่วงแรกเป็นปลาทับทิม ต่อมาเขาได้ไปศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์ปลาช่อนจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้สนใจอยากเลี้ยงปลาช่อนแบบจริงจังในเวลาต่อมา “ช่วงที่เราเลี้ยงปลาทับทิมอยู่ คนในย่านนี้เขาก็เลี้ยงปลาช่อนกันอยู่ เน้นไปหาช้อนลูกปลาจากธรรมชาติ มาเลี้ยงใส่บ่อกันส่วนมาก ซึ่งช่วงนั้นที่ฟาร์มเราก็ทำแต่ยังไม่มา
ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีลูกปลาช่อนจากแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่อีกไม่น้อย ที่ทำให้คนในพื้นที่หารายได้ ด้วยการช้อนลูกปลาช่อนเหล่านั้น มาส่งจำหน่ายให้กับฟาร์มที่รับซื้อ เพื่อมาอนุบาลให้เป็นปลาไซซ์นิ้ว จึงเป็นงานที่สร้างรายได้แบบส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ คุณชาญ บัววิเชียร หรือที่ทุกคนเรียกแกว่า ลุงชาญ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลาช่อนมามากกว่า 20 ปี โดยรับซื้อลูกพันธุ์จากชาวบ้านที่ไปช้อนมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในอำเภอสองพี่น้อง และลุงชาญก็นำมาอนุบาลต่อเป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไปอีกด้วย จากอาชีพบริการ สู่ชีวิตเกษตรกร ลุงชาญ ชายผู้มากด้วยรอยยิ้มและมีอารมณ์ขัน เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีตนมีอาชีพเป็นช่างตัดผมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อทำมาได้ระยะหนึ่งรายได้ที่หาได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย จึงได้หยุดอาชีพนั้นกลับมาทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัด คือ สุพรรณบุรี “ช่วงนั้นเป็นช่างตัดผมอยู่แถวรามคำแหง เงินที่ได้รับไม่ค่อยพอ เลยตัดสินใจจากช่างตัดผม กลับมาอยู่บ้านต่างจังหวัดน่าจะดีกว่า ก็มาเป็นล
“การเลี้ยงปลาช่อน เดี๋ยวนี้แตกต่างกว่าสมัยก่อนมาก คือมีการใช้อาหารเม็ดมากขึ้น ทำให้การเลี้ยงเป็นแบบมาตรฐานจีเอพี (GAP) ซึ่งทำให้ปลาที่เลี้ยงมีความสะอาด เพราะน้ำที่เลี้ยงไม่เน่าเสีย เพราะฉะนั้นตัวปลาก็สามารถทำราคาเพิ่มได้ เพราะมีที่มาที่ไป โดยสามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตได้หมด ว่าเป็นลูกปลารุ่นไหน มีการเพาะพันธุ์ และการเลี้ยงอย่างไร ซึ่งเป็นการช่วยทำตลาดให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ทำให้วางห้างสรรพสินค้า และส่งออกยังต่างประเทศได้ เชื่อว่ายังมีโอกาสที่ดีในอนาคต” คุณวินัย จั่นทับทิม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กล่าว ปลาช่อน นับได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เรียกง่ายๆ ว่า ถ้าไปตามร้านอาหารแล้วเมนูที่เกี่ยวกับปลาช่อน จะต้องมีอยู่ในเมนูของร้านกันเลยทีเดียว เช่น ปลาช่อนเผา แกงส้มแปะซะปลาช่อน ตลอดไปจนถึงผัดฉ่า หรือต้มยำก็อร่อย เมื่อมองถึงเรื่องของการตลาดแล้ว นับได้ว่าอนาคตของปลาชนิดนี้ยังไปได้อีกไกล เพราะวิธีการเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยากอย่างสมัยก่อน และที่สำคัญตลาดยังเป็นที่นิยม ผู้บริโภคที่ชื่นชอบกินเนื้อปลาช่อน สามารถกินได้บ่อยๆ ในราคาที่ไม่แพง คุณขจร เชื้อขำ บ้