ปลูกข้าวโพด
ธ.ก.ส. เตรียมจ่ายเงินประกันรายได้ แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนิน “โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64” เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีรายได้ที่แน่นอน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำและสร้างความมั่นคงในอาชีพ เป้าหมายเกษตรกร 452,000 ราย วงเงินงบประมาณ 1,867 ล้านบาท ประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ด ณ ความชื้น 14.5% กิโลกรัมละ 8.50 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยแจ้งเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะทำการตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งมายัง ธ.ก.ส. เพื่อให้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเงินประกันรายได้ดังกล่าวเป็นส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่กำหนดโดยคณะอนุกร
เกษตรกรแฮปปี้! ปลูกข้าวโพดหลังนา วอนรัฐหนุนต่อยอดโครงการ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม เกษตรกรชาว จ.สกลนคร ภายหลังได้ลงทะเบียนร่วมกับทางสำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดสกลนคร ได้ส่ง นางกาญจนา อินธิกาย เกษตรอำเภอเมืองสกลนคร จนท.นักวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ไปพบปะเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการทำนาปรัง ทั้งปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ผลผลิตไม่ดี รวมทั้งราคาขายที่เมื่อขายไปแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน ซึ่งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทางรัฐบาลเข้ามาสนับสนุน ทั้งปัจจัยการผลิต การดูแล รวมถึงตลาดรับซื้อ นางสมัย เกษมศาสนต์ อายุ 54 ปี เกษตรกร ต.เหล่าปอแดง อ.เมือง จ.สกลนคร กล่าวว่า ในยุคใหม่สมัยใหม่ ในฐานะตนเองเป็นเกษตรกรอยากทดลองปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บ้าง จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งแต่ก่อนหลังทำนาปีก็หันมาทำนาปรัง บางปีก็ปลูกมะเขือเทศ หรือพืชอื่นๆ แต่ก็ยังประสบปัญหาขาดทุน มาปีนี้พอทราบมาว่ารัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยมีรัฐสนับสนุน ปัจจัยการผลิต เช่น ธ.ก.ส. ให้
“กฤษฎา” มึนเกษตรกรเมินปลูกข้าวโพดหลังนา สมัครร่วมโครงการไม่ถึง 50% ยังห่างเป้า จี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ ชี้ 20 ต.ค.นี้ จะเป็นวันสุดท้ายของการลงทะเบียนเกษตรกร เมินปลูกข้าวโพดหลังนา – รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรฯ กำลังวิตกเกี่ยวกับการขับเคลื่อนโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปลายเดือนก.ย. 2561 มีเป้าหมายส่งเสริมการปลูกประมาณ 2 ล้านไร่ ขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมไม่ถึง 50% จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ การรับรู้โครงการ ข้อดีที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้จากการเปลี่ยนอาชีพมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยในวันที่ 20 ต.ค.นี้ จะเป็นวันสุดท้ายของการลงทะเบียนเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้สั่งการให้สหกรณ์จังหวัดในพื้นที่ 33 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังนา ระดมเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจจำนวนเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้
หลายคนคงจะคุ้นเคยกับ คำขวัญเมืองโพธาราม ที่กล่าวว่า “ คนสวยโพธาราม งดงามน้ำใจ ค่ายหลวงบ้านไร่ หนังใหญ่วัดขนอน ที่นอนนุ่มชั้นนำ ถ้ำค้างคาวร้อยล้าน งามตุ๊กตาน่าพิศ จิตกรรมฝาผนัง หนองโพดังนมสด เลิศรสผักกาดหวาน ” แต่ความจริงแล้ว เมืองโพธารามยังมีของดีอีกอย่างที่อยากแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักก็คือ ข้าวโพดแปดแถว อยู่ในกลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียว มีลักษณะพิเศษคือ ขนาดฝักเล็ก เมล็ดข้าวโพดสีขาวมีจำนวนแปดแถว รสชาติหวาน เนื้อเหนียวนุ่ม ไม่ติดฟัน สามารถปลูกได้ตลอดปี แค่ชิมครั้งแรก มีตกหลุมรักรสชาติความอร่อยของข้าวโพดพันธุ์นี้เสียแล้ว เพราะมีรสอร่อย นุ่มและหวาน ไม่เหมือนข้าวโพดต้มที่เคยกินในพื้นที่อื่นเลย จุดเริ่มต้นของการปลูกข้าวโพดแปดแถว ชาวบ้านในชุมชนตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ที่มีอาชีพปลูกข้าวโพดแปดเล่าให้ฟังว่า “คุณดำรง มินทนนท์” หรือ ลุงดำเป็นคนแรกที่นำมาปลูก เมื่อ 30 ปีก่อน โดยได้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดแปดแถวมาจากเพื่อนคนหนึ่ง จึงนำมาปลูกครั้งแรกในพื้นที่อำเภอโพธาราม และนำออกต้มขายที่หน้าวัดโบสถ์ ปรากฎว่า ชาวบ้านชอบใจในรสชาติความอร่อยของข้าวโพดพันธุ์นี้ จึงหันมาปลูกเป็นพ
วันที่ 23 มกราคม 2560 ส.อ.สมจิตร ฟูธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ภาพรวมของพื้นที่เกษตรกรของ ต.ร่มเย็น ในปี 2560 นี้ พบว่า พื้นที่เดิมที่เกษตรกรเคยปลูกหอมแดงเป็นประจำนั้น ได้เปลี่ยนมาเป็นการปลูกข้าวโพดและมันอะลูหรือมันฝรั่งกว่าร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ เนื่องจากปีที่ผ่านมาข้าวโพดได้ราคาดี กก.ละไม่ต่ำกว่า 9 บาท ทำให้เกษตรกรจึงหันมาปลูกข้าวโพดกันมากขึ้น รวมทั้งมันฝรั่งนิยมปลูกกันมาก 1-2 ปีมาแล้ว เนื่องจากมีการประกันราคาจากกลุ่มที่นำพันธุ์มาให้ เกษตรกรจึงสนใจปลูกมันฝรั่ง ขณะเดียวกันได้ลดพื้นที่การปลูกหอมแดงลง ปรากฏว่าปีนี้หอมแดงราคาสูงตั้งแต่ต้นฤดูกาล จะมีเพียงพื้นที่บางส่วนที่ปลูกหอมแดงไว้บริโภคซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2560 ด้านนางศรีประภา มีสุข รองนายก อบต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ในพื้นที่ ต.แม่ลาว ทุกหมู่บ้านมีการปลูกมันฝรั่งทั้งหมด เนื่องจากมีกลุ่มทุนจากบริษัทเอกชนรายใหญ่ระดับประเทศ และทุนใหญ่จากประเทศมาเลเซีย นำสายพันธุ์มันฝรั่งมาให้ปลูกและรับซื้อผลผลิตกลับคืนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นมันฝรั่งทอดหรือทำประโยชน์ด้านอื่น เนื่อง