ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
จากปลูกในกล่องโฟมสู่โรงเรือน! พี่สาวสอนน้องปลูกผักตั้งแต่ ม.2 ส่งขายกรุงเทพฯ มีเงินจ่ายค่าเทอม เรียนไปด้วย ทำเกษตรไปด้วย คือเรื่องราวของ เกด-พิรกานต์ สองสี และ บิว-เพ็ญพิชชา อินเขียน วัย 18 ปี ทั้งสองช่วยพี่สาว ทราย-จุฑารัตน์ ลิ้มวงษ์ อายุ 34 ปี ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่จังหวัดอุทัยธานี ตั้งแต่ชั้น ม.2 จนได้วิชาชีพเกษตรติดตัว และมีรายได้มาจ่ายค่าเทอมช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว ทราย เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ตนเองอยากปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเริ่มต้นด้วยการปลูกในกล่องโฟม จำนวน 9 กล่อง ผักเติบโตสวยงาม แม้นำผลผลิตมาทำกินแล้วยังเหลือ จากนั้นจึงเห็นโอกาสว่าพื้นที่อยู่อาศัยสามารถปลูกผักได้สวยงาม จึงปลูกเพิ่มเป็น 36 กล่อง และเริ่มหาลูกค้าในจังหวัด ทั้งร้านอาหาร และลูกค้าปลีก พร้อมปรับมาปลูกแบบน้ำวนในโรงเรือน “ปลูกผักเพราะสนใจเทรนด์สุขภาพ รู้สึกว่าการทำอะไรพวกนี้มันยั่งยืน ใจอยากปลูกเป็นอินทรีย์ด้วยซ้ำ แต่ด้วยสภาพอากาศ สภาวะต่างๆ เลยปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ เราศึกษาวิธีการปลูกผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการไปดูแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ได้พูดคุยและขอเทคนิคจากผู้ปลูกแต่ละคน” แต่ด้วยตนเองไม่ได้อยู่ที่จังหวัด
ฟาร์มต้นผักแมวน้ำ เปิดมาได้ 2 ปีครึ่ง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ราว 100 ตารางวา ย่านลาดพร้าว โดยพื้นที่แห่งนี้ถูกเนรมิตให้เป็นฟาร์มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดย่อมๆ ของอดีตตากล้องนิตยสาร ที่อยากหาอาชีพรองรับเพื่อเตรียมพร้อมหลังออกจากงานประจำ เจ้าของต้นเรื่องชื่อว่า คุณแมวน้ำ-บุษกร เบญจกุล อายุ 54 ปี บอกว่า เริ่มทำฟาร์มต้นผักแมวน้ำ เพราะคิดหาอาชีพรองรับหลังออกจากงานประจำ เป็นจังหวะพอดีที่น้องสาวของเธออยากทำฟาร์มเพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมด้วยเหมือนกัน จึงช่วยกันคิด วางแผน และลงมือทำทันที โดยมีน้องเป็นหุ้นส่วน แต่คุณแมวน้ำคอยดูแลเป็นส่วนใหญ่ เจ้าของฟาร์ม เล่าอย่างใจดีต่อว่า เลือกปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะหลงใหลการทำสวน และการปลูกผัก มาตั้งแต่สมัยทำงานเป็นช่างภาพนิตยสาร เพราะได้มีโอกาสใกล้ชิดกับแหล่งข่าวซึ่งเป็นเกษตรกร และเจ้าของทำสวนอยู่บ่อยครั้ง ได้เห็น ได้ฟังถึงที่มาของแต่ละสวนจึงสั่งสมความชอบมาตลอด “เป็นช่างภาพตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ จนถึงอายุใกล้เกษียณ เรารู้ตัวเองว่าการเป็นช่างภาพเป็นอาชีพที่ไม่คงที่ สักวันต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะมีเด็กรุ่นใหม่เข้ามา ฉะนั้น พี่ต้องเตรียมหาอาชีพรองรับ ช่วงเตรียมต
คุณวรรณนิภา เรืองทัพ บ้านเลขที่ 70/7 หมู่ที่ 4 บ้านหนองสะเดา ตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โทร. (086) 1106387, (084) 868-8474 เจ้าของ “สุดใจ Hydroponics จ.พิจิตร” การปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์เบื้องต้น โดยทั่วไปผักสลัดจะมีอายุการปลูกประมาณ 6 สัปดาห์ (42 วัน สามารถกินได้ ผักมีน้ำหนักได้ที่ มีรสชาติอร่อย หากเกิน 50 วัน ผักจะแก่ทำให้มีรสชาติขม ไม่อร่อย) เริ่มจาก การเพาะเมล็ดสลัด นำฟองน้ำสำเร็จรูปที่จะเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าตรงกลางฟองน้ำจะถูกกรีดเป็นกากบาทเพื่อนำเมล็ดมาวางใส่ลงไป ปลูกวางเรียงบนถาดรอง รดน้ำฟองน้ำปลูกให้ชุ่ม พร้อมกับใช้มือกดฟองน้ำให้ซับน้ำให้อิ่มตัว นำไม้ปลายแหลมหรือไม้จิ้มฟันจุ่มน้ำแล้วแต้มแตะไปที่เมล็ดพันธุ์ผักสลัด แล้วนำเมล็ดสลัดที่ติดที่ปลายไม้มาใส่ลงไปในกลางฟองน้ำที่ผ่าไว้ 1 เมล็ด ต่อฟองน้ำ 1 อัน นำแผ่นโฟมเพาะเมล็ดไปไว้ในโต๊ะอนุบาลที่ 1 ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือกล้าผักสลัดมี 2 ใบ ช่วงนี้ต้องหมั่นฉีดน้ำด้วยฟ็อกกี้หรือกระบอกฉีดน้ำเพื่อลดความร้อนให้ต้นกล้าทุกๆ วัน วันละ 2-5 ครั้ง ตามสภาพอากาศ ช่วงเพาะเมล็ด (สัปดาห์ที่ 1) ใช้เวลา 7 วัน นำเมล็ดใส่ลงไปในวัสดุยึดราก เช่น ฟอง
ผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) กับประโยชน์ทางโภชนาการ Hydroponics เป็นการผสมคำภาษากรีก 2 คำ คือ Hydro แปลว่า “น้ำ” Ponos แปลว่า “งาน” เมื่อนำความหมายรวมกันมาใช้กับการปลูกพืช จึงหมายถึง การปลูกพืชลงบนธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง นั้นหมายความว่า เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นอกจากนี้ การผลิตพืชผักบนดินก็ยังได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง พายุ และความเสื่อมของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีมากจนเกินไป ทำให้การปลูกพืชผัก แบบ Hydroponics เป็นเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จุดเด่นของการปลูกผักในระบบ Hydroponics มีดังนี้ คือผักมีความอุดมสมบูรณ์สูง โตเร็ว เพราะได้รับสารอาหารอย่างสมดุล ผักสะอาดปราศจากยาฆ่าแมลงและเชื้อโรค สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ กำหนดหรือวางแผนการผลิตได้ต่อเนื่อง ปัจจุบัน ผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ได้รับความนิยมอย่างมากในฐานะผักปลอดสารพิษ ซึ่งทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอตลอดทั้งปี ผักเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีความปลอดภัยสูง เนื่องด้วยผักอุดมไปด้วยวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ซึ่งให้ไข