ปลูกพลู
สวนพลูของนายมาโนช สูญกลาง เกษตรกรชาว ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นพลูสายพันธุ์เขียวและเหลืองที่ขึ้นอย่างสมบูรณ์ในร่องสวนบนพื้นที่ 4 ไร่ เป็นรายได้หลักของครอบครัวนี้มาแล้วกว่า 4 ปี จนสามารถหมดหนี้สิน และส่งลูก 3 คน เรียนในระดับปริญญาตรี หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ปลูกฝรั่ง ชมพู่ และองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา นายมาโนช กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลพบว่าพลูเป็นพืชที่น่าสนใจ การดูแลไม่ยุ่งยากปลูกครั้งเดียวก็สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องได้เรื่อยๆ จึงได้ทดลองนำพลูมาปลูกจำนวน 400 หลัก ปัจจุบันได้มีการขยายการปลูกพลู จำนวน 1,200 หลัก แบ่งเป็นพลูเขียว 800 หลัก ลักษณะใบจะบาง ขนาดใหญ่คล้ายใบโพธิ์ มีสีเขียวเข้ม รสเผ็ด นิยมนำไปในงานเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม และพลูเหลือง 400 หลัก ลักษณะใบจะมีขนาดเล็ก ปลายใบเรียว รสไม่เผ็ดมากจึงนิยมนำมาบริโภค นายมาโนช กล่าวต่อว่า พลูเป็นพืชที่ชอบแสงแดดและความชื้น จึงเลือกปลูกพลูแบบร่องสวน และใช้แสลนขึงเพื่อให้เกิดร่มเงา จากนั้นจึงเตรียมเสาสำหรับทำค้างให้พลูเลื้อย สูงจากระดับพื้นดิน 3 เมตร โดยเสา 1 หลัก จะใช้ต้นพันธุ์จำนวน 3 ต้น ปลูกลงในหลุม รดน้ำเช้า-เย็น ต้องหมั่นสังเกตด
พลูเป็นไม้เลื้อยที่มีข้อและปล้องชัดเจน โดยแต่ละข้อจะมีรากสั้นๆออกรอบๆ จัดเป็นพืชใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ซึ่งลักษณะของใบจะแหลมคล้ายใบโพธิ์ ผิวใบมัน มีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญ กดชมคลิป สวนพลูกว่า 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมี คุณสิตา หิมารัตน์ หรือคุณเจี๊ยบ เจ้าของสวนพลูแห่งนี้ คุณเจี๊ยบ เล่าว่า การปลูกพลูการเกษตรที่ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ และเธอเอง ก็มาสืบสานอาชีพนี้ต่อ พลูเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่จะให้ผลผลิตดีต้องปลูกในพื้นที่ที่สภาพอากาศร้อนชื้นและมีแสงแดดส่งถึงอย่างน้อย 50-60 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถปลูกได้ทุกฤดู 30 วันเก็บ 1 ครั้ง ไม่งั้นใบจะแก่เกินไป เริ่มต้นการปลูก ดินต้องเป็น ดินร่วน ขุดหลุม ลึก 15 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร โดย กิ่งพันธุ์ต้องเป็นยอดที่ขยายพันธุ์โดยการชำ ระยะปลูกระหว่างต้น ระหว่างแถว อยู่ที่ 1.2 เมตร คูณ 1.5 เมตร และต้องให้น้ำวันเว้นวัน และปุ๋ยเดือนละ 2 ครั้ง หลังจากปลูกแล้ว 3 เดือนเก็บใบขายได้ ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกไ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “พลูหรือใบพลูพืชที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ใช้กินกับหมากหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ส่วนใหญ่จะปลูกกันไว้บริเวณบ้านกินบ้างขายบ้าง ยังไม่มีการปลูจริงๆจังๆเป็นอาชีพ” ขณะที่ชาวบ้าน หมู่ 4 ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา ได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกพลูทั้งเป็นอาชีพเสริมและเป็นอาชีพหลัก ขณะนี้มีชาวบ้านเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่ม 26 คน และปลูกพลูส่งขายตลาดสงขลาและตลาดต่างประเทศกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เนื่องจากขณะนี้ใบพลูกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศทั้งอินเดีย และปากีสถาน รวมทั้งตลาดในพื้นที่ แม้จะเป็นพืชที่ปลูกกันทั่วไปแต่ยังมีปริมาณจำกัด ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและยังมีพื้นปลูกกันค่อนข้างน้อย “สมบูรณ์ ปัญจะ” อายุ 70 ปี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกพลู เปิดเผยว่า สมาชิกแต่ละคนจะปลูกพลูในพื้นที่บริเวณบ้านของตัวเอง จะใช้พื้นที่หลังบ้าน ประมาณ 1 ไร่ ปลูกพลูเต็มพื้นที่ จากก่อนหน้านี้ที่เคยปลูกพืชผักสวนครัวแบบผสมผสาน แต่ขณะนี้ได้เปลี่ยนมาปลูกพลูอย่างเดียว หลังจากที่พลูเป็นที่ต้องการของตลาดราคาปรับตัวสูงขึ้นจากกำละ 7 บาท เป็นกำลัง 17-18 บาท