ปุ๋ย
ศูนย์โอท็อปบ้านศาลาดิน ผลิตดินพร้อมปลูกจากผักตบ สร้างรายได้ 4 หมื่นบาทต่อเดือน ผักตบชวา เป็นไม้น้ำที่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีลำต้นสั้น แตกใบเป็นกอ ลอยไปตามน้ำ มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่จะไม่ทนน้ำเค็ม คลองมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธฆณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นอีกแหล่งที่มีปริมาณต้นผักตบชวามากมาย แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนในชุมชน เพราะคนในชุมชนได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส นำผักตบชวาที่หลายคนมองว่าไร้ค่า มาแปรรูปเป็นดินผสมพร้อมปลูกจำหน่าย สร้างรายได้ ผักตบชวา คุณวันชัย สวัสดิ์แดง ประธานกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบ้านศาลาดิน เล่าว่า เนื่องจากผักตบชวา เป็นปัญหาต่อการสัญจรในคลอง เลยมองเห็นว่าถ้านำมาใช้ประโยชน์ก็น่าจะได้ช่วยกำจัดได้อีกทางหนึ่ง จึงขึ้นป้ายรับซื้อผักตับชวาตากแห้งในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จากนั้น ก็นำมาผสมรวมกับวัสดุอื่น บรรจุถุงเป็นดินพร้อมปลูก สำหรับส่วนผสมประกอบไปด้วย ผักตบชวาสับตากแห้ง / แกลบ / ขี้เถ้า / ดินบดผสมขี้วัว ทั้งหมดนี้อย่างละ 1 ส่วน ผสมเข้ากัน คุณวันชัย สวัสดิ์แดง ด้วยคุณสมบัติที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่ผสมอยู่ในดิน สามารถนำไปปลูกพืชได้หลากหลาย ไม่ว
“ปุ๋ยปลาร้า” (น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล) ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต รักษาสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้ ภาคเกษตรต้องเผชิญปัญหาดินเสื่อม โรคแมลงศัตรูพืชและปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ได้ผลผลิตต่ำสวนทางกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น หากใครกำลังมองหาแนวทางลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ก็แนะนำให้ทดลองใช้ “ปุ๋ยปลาร้า” (น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเล) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ ย้อนกลับเมื่อปี 2550-2551 กรมส่งเสริมการเกษตร โดยคุณสุพจน์ แสงประทุม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในสมัยนั้น เกิดแนวคิดที่จะช่วยเกษตรกร “ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม” จึงได้มอบหมายให้ นักวิชาการเกษตร ชื่อ คุณวิชัย ซ้อนมณี ศึกษาทดลองการใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ มาใช้ในแปลงเพาะปลูกพืช ก็ได้ผลสรุปว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลหรือที่เรียกกันทั่วไปคือ ปุ๋ยปลาร้า มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม ได้อย่างดี เมื่อนำปุ๋ยปลาร้าไปให้เกษตรกรทดลองปุ๋ยปลาร้าก็พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในแปลงปลูกพืช เพราะสามารถเพิ่มจำน