ปุ๋ยอินทรีย์
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณสมศักดิ์ เครือวัลย์ เกษตรกรทำสวนผลไม้ จังหวัดระยอง เดิมทีเขาทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อมาลงทุน แต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืช จากการผลิตแบบเดิมๆ ที่มีต้นทุนสูง จึงไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จุดเปลี่ยนของการทำการเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมี เริ่มจากได้ไปศึกษาดูงานกับ ธ.ก.ส. ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน และจากการได้รับคัดเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง โดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี จึงตัดสินใจทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกประเภท จนสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ มีรายได้ตลอดทั้งปี รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร คุณสมศักดิ์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานโดยมีความโ
ปกติแล้วกิ้งกือเป็นสัตว์ที่คนทั่วไปทั้งหญิงชาย ต่างพากันเกลียดกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงจะเกลียดและขยะแขยงกิ้งกือเป็นอย่างมาก แต่ว่าที่บ้านเลขที่ 435/12 ถนนกลางเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นบ้านของ นายศิวาวุธ หรือ แมน ช่างเพชร อายุ 25ปี ได้มีการเพาะเลี้ยงกิ้งกือไว้จำนวนมากกว่า 400 ตัว โดยกิ้งกือขนาดต่าง ๆ ทั้งเล็กใหญ่พากันไต่ยั๊วะเยี๊ยะอยู่ในกะละมังสำหรับเลี้ยงกิ้งกือ ซึ่งนายศิวาวุธ ได้นำเอาเศษผักและใบไม้แห้งมาเป็นอาหารเลี้ยงกิ้งกืออย่างดี และกิ้งกือแต่ละตัวก็กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง นายศิวาวุธ หรือ แมน ช่างเพชร อายุ 25ปี หนุ่มศรีสะเกษ ที่ประกอบอาชีพแปลกที่สุดในโลก กล่าวว่า ตนเพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดมีความคิดอยากทำอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยพบว่า มีการทำวิจัยในการเลี้ยงกิ้งกือเพื่อนำมูลกิ้งกือมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ตนจึงได้เกิดแนวความคิดที่จะเลี้ยงกิ้งกือขึ้นมา โดยเริ่มแรกจะเลี้ยงกิ้งกือเพียงประมาณ 30 ตัวเท่านั้น เนื่องจากว่า หากิ้งกือได้ค่อน