ผับบาร์
เปิดร้านไม่ได้! OVERSEOUL BKK บาร์เกาหลีขวัญใจวัยรุ่น ปรับตัวสุดฤทธิ์ ขนอาหารสตรีตฟู้ดแดนโสม เสิร์ฟถึงบ้านสู้วิกฤต เชื่อว่าสาวกเกาหลีหลายๆ คน คงคุ้นหน้าคุ้นตากับ Overseoul บาร์เกาหลีย่าน BTS สนามเป้า ซึ่งเป็นแหล่งแฮงเอาต์สำหรับคนชอบปาร์ตี้ ที่มีดีเจคอยเปิดเพลงสนุกๆ โดนใจ ค่อยสร้างบรรยากาศให้ตลอดค่ำคืน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือน สถานที่สร้างความสนุกแห่งนี้ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้คุยกับ คุณแก้ม-แก้มแก้ว โล่ห์อุลกะมณี วัย 30 ปี หนึ่งในเจ้าของบาร์แห่งนี้ โดยเธอเล่าว่า บาร์แห่งนี้เปิดเมื่อปลายปี 2018 ณ ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่เปิดให้บริการมา บาร์แห่งนี้ เป็นการรวมตัวกันของเธอและเพื่อนๆ กว่า 10 คน ที่มีกิจกรรมสังสรรค์กันค่อนข้างบ่อย จึงมักไปเยี่ยมเยือนที่ร้านต่างๆ มากมาย รวมทั้งเพื่อนบางคนทำธุรกิจบาร์อยู่แล้ว ก็ได้แวะเวียนไปใช้บริการด้วย ต่อมาเพื่อนๆ ก็มาสังสรรค์กันที่บ้านของคนในกลุ่ม และมีการเปิดเพลงเกาหลีเต้นกัน ซึ่งคุณแก้มและเพื่อนๆ เห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำแล้วพวกเธอเกิดความสนุก และอยากมอบบรรยากาศสนุกๆ แบบนี้ให้กับคนที่มีความชื่นชอบเหมือนๆ กัน จึงปรึกษ
10 อาชีพ/ธุรกิจ สุดช้ำ รายได้หาย กำไรหด เพราะวิกฤตไวรัส ในรอบปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด จนถึงตอนนี้จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน สะสมกว่า 80 ล้านคนทั่วโลก ในส่วนของผลกระทบ เรียกว่าเจ็บช้ำไปตามๆ กัน ไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่ ก่อนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ขอรวบรวม 10 อาชีพ/ธุรกิจ สุดช้ำ ในปี 2563 มาให้ดูกัน ว่ามีอะไรบ้าง 1. นักบิน จากวิกฤตไวรัส ส่งผลให้ธุรกิจการบินหยุดชะงัก นักบิน หรือกัปตัน เลยต้องหันมาทำอาชีพเสริม หารายได้เลี้ยงตัวในช่วงหยุดบิน เช่น คุณเดช-เดชพนต์ พูลพรรณ กัปตันการบินไทย วัย 39 ปี จากคนขับเครื่องบิน ต้องเปลี่ยนมาควบคุมไฟอบบราวนี่ แบรนด์ Flying sweets ขาย ในทุกๆ วัน คุณเดชพนต์จะเป็นเชฟหลักทำบราวนี่ทุกชิ้นด้วยตัวเอง ส่วนภรรยาจะช่วยเช็กและรับออร์เดอร์จากลูกค้า ลูกสาวคอยพับกล่อง ติดสติ๊กเกอร์แบรนด์ เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ และยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนในครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันอีกด้วย อ่านเพิ่มเติม กัปตันการบินไทย ทำบราวนี่ขายยาวๆ แถมผุดโครงการ ช่วย รร.ขาดแคลน 2. แอร์โฮสเตส คืออีกอาชีพที่ได้รับผลกระทบเช่
กรมอนามัย ย้ำ ร้านอาหาร-ผับ-บาร์ ที่มีแรงงานต่างด้าว การ์ดอย่าตก แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลสถานการณ์คนต่างด้าวของสำนักบริหารต่างด้าว กรมการจัดหางาน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 พบ มีจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย 2,419,452 คน ส่วนใหญ่ทำงานในกิจการร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีทั้งทำหน้าที่ปรุงประกอบอาหาร สัมผัสอาหาร และให้บริการแก่ลูกค้าที่เข้ามานั่งรับประทานหรือซื้อกลับบ้าน รวมไปจนถึงร้านที่ให้บริการด้านความบันเทิงร่วมด้วย เช่น การจัดแสดงคอนเสิร์ต ผับ บาร์ เป็นต้น ซึ่งจากผลการตรวจประเมินเพื่อการเฝ้าระวังกิจการประเภทร้านอาหารและเครื่องดื่มของกรมอนามัย ล่าสุด จำนวน 164 แห่ง พบว่า ในร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีจุดบริการล้างมือ ร้อยละ 96 กำหนดจำนวนผู้เข้าใช้บริการเพื่อลดความแออัด ร้อยละ 90 เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ร้อยละ 81 สวมหน้ากาก ร้อยละ 80 แต่ยังคงต้องเน้นย้ำการทำความสะอาดจุดสัมผัสบ่อยที่พบเพียง ร้อยละ 77 นอกจากนี้ จากการสำรวจสถานบริการประเภท ผับ บาร์ คาราโอเกะ ลานเบียร์ โรงเบียร์ โรงเหล้า จำนวน 93 แห่งทั่วประเทศ พบว่า สถานบริการทุกแห่ง มีจุดบริการล้
สถานบันเทิง ยอมรับสภาพร้านยังเปิดไม่ได้ วอนรัฐอุ้มผู้ประกอบการ ถ้าไม่ช่วย คงตายหมด คุณปกรณ์กิตติ์ นนท์ธนาวงศ์ หุ้นส่วนสำคัญกิจการ “อีสานตะวันแดง สาดแสงเดือน” ย่านคลองตัน กรุงเทพฯ ให้สัมภาษณ์ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” กรณี สมช. มีมติ ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1 เดือน จนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 63 ระบุว่า ยอมรับสภาพว่าสถานบันเทิงเปิดไม่ได้ และไม่อยากเปิดมาแล้วเป็นสาเหตุให้โควิดระบาดระลอก 2 “สถานการณ์ร้านผมตอนนี้ต้องแบกรับภาระค่าเช่าที่เดือนละ 1 แสนบาท ตอนนี้ลูกน้องแยกย้ายกันไป งดจ่ายเดือนพนักงานมาตั้งแต่ปิดร้าน ซึ่งพนักงานทุกคนเข้าใจ ในฐานะคนทำธุรกิจสถานบันเทิง อยากบอกรัฐบาลให้ชัดเจนกว่านี้ ว่าเปิดได้เมื่อไหร่ ปลายปี หรือปีหน้า เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้ตั้งรับได้ถูก ส่วนพนักงานที่หยุดงานจะได้ตัดสินใจว่าจะไปทำอาชีพอื่นดีมั้ย หรือหาอะไรทำระหว่างรอร้านเปิด” “และตอนนี้ถ้ายังเปิดไม่ได้ ผมอยากให้รัฐมีมาตรการเยียวยา ช่วยอุ้มผู้ประกอบการสถานบันเทิง ผมอ่านข่าว หลายๆ ธนาคารเปิดให้ธุรกิจกู้เงินได้ พอติดต่อไปบอกว่าทำสถานบันเทิงโดนปฏิเสธทุกที่ บอกไม่เข้าเกณฑ์บ้าง ไม่เข้าข่ายบ้าง กลายเป็นนโยบายสวยหร