ผู้ประกอบการไทย
AWC ผนึก สถาบันอาหาร สนับสนุนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมโครงการ “Phenix” สร้างพื้นที่ส่งเสริมนวัตกรรม สนับสนุนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านอาหารของโลก เตรียมเปิด “Phenix” ให้ “อร่อยฟินบินได้” กันอย่างจุใจ 26 มิถุนายนนี้ ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หรือ NFI กล่าวว่า “สถาบันอาหารยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ AWC ในโครงการ Phenix ซึ่งเป็นโครงการที่มีแนวคิดใหม่ในการสนับสนุนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารของโลก เรามั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการด้านอาหารไทยได้แสดงศักยภาพ สร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างการเติบโตสู่ตลาดโลก โดยความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอาหารที่มุ่งแนะแนวทางให้กับภาครัฐและเอกชนในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการบริการอุตสาหกรรมอาหาร โดยทางสถาบันอาหารจะเข้ามาร่วมจัดตั้งศูนย์บริการเพื่อให้คำปรึกษาและบริการแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารอย่างครบวงจร และร่วมจัดตั้งพื้นที่ร้านค้าและ ShareShop เพื่อแสดงสินค้าของเครือข่ายผู้ประกอบการของสถาบันฯ ภายในโครงการ Phenix สร้างสรรค์เป็นช่องทางในการนำเสนอและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังเครื
ผู้ประกอบการไทยไหวไหม เปิดลิสต์ 5 กลุ่มสินค้าจีนทะลักเข้าไทยมากสุด แถมบางรายการมีราคาถูกกว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ยอดขายค้าปลีกปี 2567 เติบโตชะลอตัวลงจากปีก่อน หรืออยู่ที่ราว 3.0% (YoY) มีมูลค่าประมาณ 4.1 ล้านล้านบาท โดยยังคงมีแรงหนุนมาจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับผลของราคาสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะราคาสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัวที่น่าจะยังปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจผู้ประกอบการค้าปลีก พบว่า กว่า 60% ของธุรกิจมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคาสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้า (การสำรวจ Retailer Sentiment Index : RSI เดือนมกราคม 2567 ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยและธนาคารแห่งประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม แม้ยอดขายค้าปลีกในไทยเติบโต แต่ผู้ผลิตสินค้าไทยต้องแข่งขันรุนแรงกับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทย ซึ่งในปี 2566 ไทยนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 469,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% (YoY) หรือมีสัดส่วนราว 41% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด โดยสินค้าที่จีนเข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มที่เป็นของกินและของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วนมูลค่าประมาณ 43
สถาบัน NEA กางแผนเดินหน้าพัฒนาหลักสูตร ดันผู้ประกอบการไทย สู่การค้าโลก ปี 2566 สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (New Economy Academy) หรือ NEA เป็นสถาบันที่มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาผู้ประกอบการไทย ด้วยการเสริมสร้างองค์ความรู้และจัดฝึกอบรม/สัมมนา ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการไทยทุกระดับ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามนโยบายภาครัฐจาก Local to Global และกระจายองค์ความรู้ไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ตั้งแต่ระดับชุมชนซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ และเชื่อมต่อไปยังเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและเศรษฐกิจในระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการเรียนรู้ การปรับตัว และการวางแผนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการพลิกวิกฤตสู่โอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งยังมุ่งเน้นการยกระดับบริการภาครัฐด้วยนโยบาย “Sharing Economy” หรือ “เศรษฐกิจแบ่งปัน” โดยใช้หลักแนวคิด การเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกร่วมกัน ทลายเส้นแบ่งประเภทธุรกิจ ขนาดธุรกิจ กลุ่มพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างทั่วถึงทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เปิดโอกาสให้ได้พบปะกับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพากันเดิน
ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำ เงินบาทอ่อนค่า กระทบ อุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการไทย อย่างไร? เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยข่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าความเสี่ยงของภาวะถดถอยที่มีมากขึ้นของเศรษฐกิจหลักทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป จะกระทบอุตสาหกรรมส่งออก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทยคงจะไม่ได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่จากเงินบาทที่อ่อนค่า ยกตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยว แม้นักท่องเที่ยวจะแลกเงินบาทได้มากขึ้น แต่จริงๆ แล้วเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าเพียงสกุลเดียว และกลับแข็งค่ากว่าบางสกุลเงิน เช่น เงินยูโร เงินปอนด์ เงินเยน เป็นต้น ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม ก็อาจจะยังไม่ได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่ตามที่คาดหวัง ขณะเดียวกัน การอ่อนค่าของเงินบาท ยังกระทบต้นทุนการนำเข้า ซึ่งอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบในสัดส่วนที่สูง และเน้นขายเจาะตลาดในประเทศจำนวนมาก จะได้รับผลกระทบมากจากการอ่อนค่าของเงินบาท โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลง 10-15% จะทำให้ต้นทุนการนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2.2% (เมื่อเทียบกับปริมาณที่นำเข้าเท่าเดิม) ซึ่งที่ผ่า
บีโอไอ แนะ! 9 ธุรกิจที่ SMEs ไทย ควรไปลงทุนในต่างประเทศ คุณชูวงศ์ ตั้งคุณสมบัติ ผู้อำนวยการ กองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า กองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ หรือ บีโอไอ เป็นหน่วยงานที่ศึกษา วิเคราะห์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ อีกทั้งยังจัดทำยุทธศาสตร์การลงทุนรายประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่าย ผสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจให้กับ SMEs ไทย อีกทั้งคอยวางแผนงาน ชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาในไทย คุณชูวงศ์ เผยว่า ผู้ประกอบการไทย มีศักยภาพและความสามารถมากพอ ที่จะขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยที่ผ่านมา ทางบีโอไอ มีการแนะนำให้นักลงทุนไทย เข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV ซึ่งเป็นประเทศที่มีความต้องการการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมที่นักลงทุนไทยควรไปลงทุนในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ที่มีตัวเลขการลงทุนไทยในต่างประเทศ (TDI) ค่อนข้างสูง อาทิ ประเทศกัมพูชา ในปี 2017 มีตัวเลขการลงทุนไทยในต่างประเทศ กว่า 15.75 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอันดับการลงทุ
3 ปัญหาหลัก อุปสรรคสำคัญที่ เอสเอ็มอีไทย ต้องพบเจอ แม้ธุรกิจ ‘เอสเอ็มอี’ ของไทยจะมีการเติบโตสูงมากยิ่งขึ้นและเป็นที่น่าจับตามองในปัจจุบัน แต่การทำธุรกิจย่อมมีอุปสรรคปัญหา โดยคุณ คุณชมพูนุช ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีได้เผยถึงปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคในการเติบโตของเอสเอ็มอี อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาอินไซต์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย พบว่า ปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคในการเติบโตมีอยู่ 3 ข้อ คือ ปัญหาธุรกรรมยุ่งเหยิง การรับเงินจากลูกค้าและการจ่ายเงินให้คู่ค้าด้วยเงินสด และการโอนเงินหลายช่องทาง เช่น QR Code และเครื่อง ECD ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรวบรวมทำบัญชีกระทบยอด มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย สรุปยอดไม่ตรง ไม่สะท้อนภาพรวมสุขภาพการเงินหรือสภาพคล่องทางธุรกิจ ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาการบริหารบุคคล เนื่องจากธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นองค์กรขนาดเล็ก จึงถือได้ว่าพนักงานคือกลไกสำคัญเพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างราบรื่น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อพนักงานพร้อมทั้งสวัสดิการด้านสุขภาพเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่พนักงานให้ความสำคัญ แ
EXIM BANK ลงนาม MOU องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง ส่งเสริมศักยภาพ SMEs ไทยในโลกดิจิตอล นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ขวา) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนายปีเตอร์ หว่อง (ซ้าย) ผู้อำนวยการประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ นำร่องด้วยการรุกตลาดออนไลน์ ประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านเว็บไซต์ hktdc.com ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้