ผู้พิการทางสายตา
เคทีซี ชวนพนักงานจิตอาสา ผลิตหนังสือเรียน ภายใต้โครงการ “พิมพ์ & Prove” เพื่อน้องผู้พิการทางสายตา นางสาวปิยะสุดา แคว้นนนทรีย์ (กลาง) ผู้บริหารสูงสุด สายงานทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ “พิมพ์ & Prove” เพื่อน้องผู้พิการทางสายตาโดยชวนผู้บริหารและพี่พนักงานจิตอาสากว่า 50 คน ร่วมแรง ร่วมใจกันจัดพิมพ์ และตรวจทานหนังสือเรียนจากแบบเรียนต่างๆ ที่น้องๆ สายตาปกติใช้ในห้องเรียน เพื่อส่งมอบให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตาที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ผ่านศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ หนังสือเรียนสำหรับน้องๆ ผู้พิการทางสายตานี้ เคทีซีได้รับหนังสือเรียนต้นฉบับมาจากศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด โดยจิตอาสาพนักงานเคทีซีช่วยกันพิมพ์ และตรวจรูปแบบความถูกต้องของตัวอักษรให้ตรงกับหนังสือเรียนต้นฉบับ ซึ่งจะพิมพ์เป็นไฟล์ไมโครซอฟต์เวิร์ดรูปแบบตัวหนังสือเท่านั้น เมื่อพิมพ์และตรวจทานครบทุกเล่มแล้ว จะรวบรวมไฟล์ส่งให้ทางศูนย์ฯ เพื่อนำเข้าสู่โปรแกรม “อ่านหน้าจอ” แปลงตัวอักษรจากไฟล์ไมโครซอฟต์เวิร์ดเป็นรูปแบบเสียง
Blind Experience เรียนรู้โลกของผู้พิการทางสายตา เมื่อโลกมืดมิด มองไม่เห็น เราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร เป็นคำถามที่หลายคนอาจจะจินตนาการไม่ออก แต่สำหรับผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิดที่ต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตท่ามกลางความมืดที่มองไม่เห็น เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ในสังคมที่บางครั้งก็ยังไม่ได้เอื้ออำนวยสำหรับกลุ่มผู้พิการมากนัก ในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 (SX2023) มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากมุมมองความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมแล้ว ยังให้ความใส่ใจกับเรื่องของกลุ่มคนเปราะบางในสังคม หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มผู้พิการทางสายตา ที่อยากจะฝากบอกคนในสังคมให้รับรู้ว่า เขามีตัวตน ต้องการความเข้าใจและการให้โอกาส กิจกรรม Blind Experience จึงจัดขึ้นภายในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 เพื่อให้คนตาดีได้มาเรียนรู้โลกของผู้พิการทางสายตาเพื่อสร้างสังคมเท่าเทียม อาทิ กิจกรรม Nice to see you Mini Workshop โดยเป็นการทำความรู้จักกันผ่านโลกของผู้พิการทางสายตา ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปิดตา และสัมผัสก
ตีแผ่อาชีพขายหวย ของผู้พิการทางสายตา มีแต่เจ็บช้ำ โดนขโมย ชกตีแย่งเงิน ปัจจุบันเรามักเห็นผู้พิการที่ประสบความสำเร็จอยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่คนปกติทั่วไปสามารถทำได้ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้พิการไม่ปล่อยให้ความบกพร่องของร่างกายมาเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้มักจะถูกมองข้าม ขาดทั้งแรงบันดาลใจ โอกาส และการสนับสนุนที่ดี ทำให้ไม่สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ “คนขายหวย” จึงกลายมาเป็นอาชีพยอดนิยมที่ผู้พิการเลือกที่จะทำถึงแม้ว่าบางครั้งจะไม่เต็มใจก็ตาม ลุงบุญนันท์ ไพบูลย์ หนึ่งในบุคคลที่ขาดโอกาสจากการเป็นผู้พิการทางสายตา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ตั้งแต่เด็กจนเป็นวัยรุ่นได้ใช้ชีวิตมาอย่างปกติ จนมาเป็นโรคตาแดง ด้วยความไม่รู้ภาษาของพ่อแม่ บวกกับสมัยนั้นไม่มีหมอรักษา จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด นำสิ่งแปลกปลอมหยอดลงไปในตา แล้วตาก็เริ่มบอด ลุงเลยเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เรียนอักษรเบรลล์ พออายุ 19 ปี พ.ศ. 2519 เริ่มขายหวย ตอนนั้นใบละ 10-11 บาท ก็ขายพออยู่ได้ คนตาบอดต้องมีสายคล้องคอ แล้วก็ต้องมีซิปรูดปิด ไม่งั้นไม่สะดวก ตอนขายหวยก็ไปทั่วแหละ ตลาดพลู พระโขนง บางลำพู
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จัดทำ โครงการหนังสือนิทานเสียง UOB Voice of Love นำพนักงานจิตอาสา 120 คนร่วมอ่านและลงเสียงนิทานจำนวน 100 เรื่อง สำหรับเด็กผู้พิการทางสายตา นายสัญชัย อภิศักดิ์ศิริกุล กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและสนับสนุนธุรกิจธนาคาร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้วิธีการเรียนการสอนของเด็กเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบดิจิทัลและออนไลน์มากขึ้น ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของภาพและการเคลื่อนไหว ทำให้การเรียนรูปแบบนี้ไม่เหมาะสมกับเด็กผู้พิการทางสายตา เราจึงต้องการขจัดอุปสรรคในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กๆ ทุกคนได้สัมผัสกับเรื่องราวที่น่าค้นหาและสนุกสนานเมื่อได้ฟังนิทานเสียงเหล่านี้ เราหวังว่าโครงการหนังสือนิทานเสียง UOB Voice of Love จะช่วยเปิดโลกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ ได้” สร้างห้องสมุดหนังสือเสียง เพื่อให้นิทานเสียงสามารถกระตุ้นและเสริมสร้างจินตนาการของเด็กๆ ให้ดีที่สุด ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับบริษัท กล่องดินสอ จำกัด จัดเวิร์กช็อปเพื่อแนะนำพนักงานจิตอาสาของยูโอบีถึงเทคนิควิธีการใช้เสียง การเล่าเรื่อง การเตรียมความพร
ไร้ดวงตาแต่ยังมีฝีมือ! “ปักจิตปักใจ”งานคราฟต์สไตล์ญี่ปุ่น จากผู้พิการทางสายตา งานฝีมือจากผู้พิการทางสายตา – งานหัตถกรรมสุดประณีตที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า งาน “คราฟต์ : CRAFT” กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน งานคราฟต์บางชิ้นถูกนำไปตกแต่งบ้าน บางชิ้นถูกนำไปเป็นของที่ระลึก หรือนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ จะเห็นงานคราฟต์หลายชิ้นโลดแล่นอยู่ในร้านขายสินค้าราคาแพงกันมากขึ้น นอกจากนั้น งานคราฟต์ ยังมีการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เข้ากับสไตล์ของวัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็มีงานคราฟต์ที่น่าสนใจหลากหลายรูปแบบ ทั้ง สินค้าแฟชั่น เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีลักษณะการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป งานคราฟต์จากโครงการ “ปักจิตปักใจ” ก็เป็นอีกหนึ่งงานฝีมือที่น่าสนใจ โดยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถูกถักทอและปักขึ้น ด้วยฝีมือผู้พิการทางสายตาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสนเข็ม ไปจนถึงการบรรจุสินค้าเตรียมจำหน่าย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากไปรษณีย์ไทย ในการช่วยขนส่งอุปกรณ์ อีกทั้งเข้ามารับสินค้าถึงบ้านผู้พิการทางสายตา พร้อมจัดจำหน่ายและจัดส่งสิ
ขาดรายได้มาหลายเดือน! ‘หมอนวดตาบอด’ ไร้เงินกิน เดินสายนวดดีลิเวอรี่ประทังชีวิต “ร้านนวด” คืออีกกลุ่มอาชีพที่ได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และถึงแม้วันนี้สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น รัฐคลายล็อกให้หลายธุรกิจสามารถเปิดได้ แต่ร้านนวดไทย ยังคงไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลกระทบหนักต่อผู้ที่ยึดอาชีพหมอนวด โดยเฉพาะหมอนวดซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา คุณนุดี-นุวดี พงศ์วุฒิวัฒน์ ผู้จัดการร้าน “perception blind massage” ร้านนวดโดยคนตาบอด บอกกับ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ว่า ปัจจุบันร้านเปิดให้บริการ 3 สาขา สีลม สาทร และถนนท่าแพร ที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้บริการนวดโดยหมอนวดผู้พิการทางสายตา ให้บริการทั้งนวดไทย นวดคอบ่าไหล่ นวดฝ่าเท้า นวดประคบ และนวดน้ำมัน “หมอนวดตาบอดที่มาทำงานกับเรา มาจากหลายที่ บางคนมาจากการแนะนำว่าทางร้านรับสมัครหมอที่เป็นผู้พิการทางสายตา หรือบางคนมาจากการที่เราไปโปรโมตตามศูนย์ผู้พิการทางสายตา ทักษะแตกต่างจากคนปกติ ด้วยความที่บกพร่องทางสายตา บางคนเห็นแค่แสง เห็นขาวดำ หรือบอดสนิท จะใช้การสัมผัสเส้นให้ได้ก่อนว่าจุดนี้เป็นเส้น
หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด สู้ไม่ท้อ ตั้งโรงงานผลิตเนยถั่วคุณภาพ ทำส่งขายห้างใหญ่มีสาขาทั่วประเทศ อย่าง เทสโก้ โลตัส ‘พอลร์ ผู้พิชิตไพร’ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง วัย 40 กว่า พิการตาบอดสนิททั้งสองข้าง ที่ความมืดมัวไม่สามารถทำร้ายเขาได้ ต่อสู้จนวันนี้มีโรงงานขนาดย่อมผลิตเนยถั่ว น้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากงา จัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ พอลร์ ฟู้ด ที่สำคัญ ยังเป็นพาร์ตเนอร์ผลิตเนยถั่วส่งขายห้างยักษ์ใหญ่อย่าง เทสโก้ โลตัส “ย้อนไปเมื่อปี 2541 ขณะศึกษาปริญญาตรีด้านบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตาของผมค่อยๆ พร่ามัว บอดลงช้าๆ เป็นผลมาจาก โรคเบเซ็ต (Behcet’s) ซึ่งทำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือดทั่วร่างกาย เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เข้าออกโรงพยาบาลอยู่ 3 ปี กระทั่งปี 2544 ตาบอดสนิททั้งสองข้าง จำเป็นต้องหยุดพักการเรียนไป” เมื่อตาบอดสนิทจะให้ใช้ชีวิตในเมืองหลวงเพียงลำพังคงไม่ใช่เรื่องง่าย คุณพอลร์ตัดใจกลับบ้านเกิด จังหวัดเชียงใหม่ ขังตัวเองอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ นาน 2 ปี ร่างกายซูบผอม จนคนในครอบครัวคิดว่าอาจจะอยู่ได้ไม่นาน “โชคดีที่ผมได้กำลังใจจากพ่อแม่ ทำให้ฮึดสู้กลับมาเรียนต่อปริญญาตรี ครั้งนี้เลือกเรียนด้าน
รู้จัก ‘พอลร์ ผู้พิชิตไพร’ หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด สู่เจ้าของกิจการเนยถั่ว “ความพิการทางสายตา ไม่สามารถทำร้ายจิตใจที่แข็งแกร่งเหมือนหินผาของเขาได้เลยพี่” ฉันได้ยินเรื่องราวของผู้ชายคนนี้จากน้องรักคนหนึ่ง เธอเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่สู้ชีวิตยิบตาน่าชื่นชม แต่เธอบอกฉันว่าเรื่องราวของผู้ชายคนนี้ทำให้เธอรู้สึกว่าชีวิตเธอเบาหวิวยิ่งนัก “เขาสู้มากจริงๆ พี่ ฟังแล้วรู้สึกตัวเองจะท้อไม่ได้เลย” “พอลร์ ผู้พิชิตไพร” ผู้ชายเชื้อสายกะเหรี่ยงที่เราพูดถึงวันนี้ เป็นรุ่นน้องเรียนมัธยมต้นมากับเธอ เขาเป็นหนุ่มน้อยหน้าตาดี ท่าทางร่าเริงแจ่มใส แยกย้ายกันไปกว่า 20 ปี เธอจำได้เลือนรางเท่านี้ จนไม่นานนี้พี่ชายของพอลร์มาขอเบอร์โทรศัพท์เธอไป บอกว่าพอลร์ต้องการติดต่อเพื่อขอให้ช่วยเรื่องสื่อโฆษณาในกิจการที่เขาทำ วันหนึ่งเขาก็โทรกลับมา “ผมพอลร์นะ พี่จำผมได้ไหม?” แน่นอนเธอจำได้ดี เสียงเขาไม่เปลี่ยน ยังคงร่าเริงอยู่เช่นนั้น 2 คนพูดคุยสนุกสนาน เธออธิบายงานให้เขาฟัง พยายามอธิบายให้เขาเห็นภาพ กระทั่งประโยคหนึ่ง ทำให้เธอนิ่งอึ้ง “พี่ ผมตาบอด” พอลร์ เล่าให้ฟังว่า เขาเป็นโรคเบเซ็ต (Behcet’s) ซึ่งทำให้เกิดอาการอักเส
หลังจากเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาสักระยะกับเรื่องกระเบื้องบนทางเท้าที่ใช้นำทางให้กับผู้พิการทางสายตา หรือ เบรลล์บล็อก แต่กลับมีสิ่งกีดขวางจนหลายคนเป็นห่วงว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับผู้พิการทางสายตา รวมไปถึงการตั้งคำถามว่าทำไมหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงปล่อยให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้ โดย ประภาส ชลศรานนท์ นักคิดนักเขียน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ลองพยายามมองโลกในแง่ดีกันดู คนเรียงกระเบื้องอาจไม่เข้าใจ braille block แต่การปูกระเบื้องก็ต้องมีการออกแบบก่อนว่าลายบนพื้นจะเป็นอย่างไร หรือคนออกแบบจะไม่เข้าใจ braille block เหมือนกัน คนตรวจรับงานล่ะ เขาจะเข้าใจ braille block ไหม แล้วการกำหนดเนื้องานแต่แรกละ คนเขียนข้อกำหนดเขาจะเข้าใจ braille block ไหม อันที่จริง สกัดปูนออกแล้วปูกระเบื้องใหม่ก็น่าจะยังพอไหว เสียเงินอีกไม่มาก ดีกว่าให้คนตาบอดหัวคะมำ คนทำงานนั้นมีสองประเภท ประเภทหนึ่ง ทำให้เสร็จ อีกประเภทหนึ่ง ทำให้สำเร็จ
คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เผยว่า กสิกรไทยได้มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีโลกการเงินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นสร้างนวัตกรรมการเงินรองรับดิจิทัลแบงกิ้ง ล่าสุดได้เปิดตัวบริษัท บีคอน อินเตอร์เฟส จำกัด (Beacon Interface Company Limited) บริษัทสตาร์ทอัพน้องใหม่ภายใต้การร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทย ที่พร้อมส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาบริการทางการเงินรองรับกระแสสังคมและเทคโนโลยีโลกยุคใหม่ สำหรับผลงานตกผลึกชิ้นแรกของบีคอน อินเตอร์เฟส ที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมสุดล้ำระดับประเทศ คือ การสร้างรูปแบบและประสบการณ์การใช้งานโทรศัพท์มือถือในรูปแบบใหม่ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้ผู้พิการทางสายตา (The Blind) ผู้มีความผิดปกติทางสายตา (The Low Vision) และผู้สูงอายุ (The Elderly) สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นเพื่อการทำธุรกรรมทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนได้อย่างง่ายดาย มั่นใจและเป็นส่วนตัว เพียงปลายนิ้วสัมผัส สอดคล้องกับความหมายของ Beacon Interface หรือประภาคารที่นำแสงสว่างมาสู่ผู้มีความผิดปกติทางสายตา