ผ้าไหม
อลังการงานผ้าไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี “COLORS OF BURIRAM” เส้นทางสายไหม สายใยวัฒนธรรม คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ ภาคเอกชน ร่วมจัดงาน “COLORS OF BURIRAM” ย้อนรอย “เส้นทางสายไหมบุรีรัมย์” ประวัติศาสตร์ผ้าไหม คุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่นยาวนานมากกว่า 2 ทศวรรษ ผ่านนิทรรศการแห่งกาลเวลา ถ่ายทอดองค์ความรู้จากเส้นไหม การทอ การสาวไหม การย้อมผ้าไหม สู่การพัฒนาเป็นเสื้อผ้าไทยประยุกต์ สะท้อนอัตลักษณ์ผ้าไหมเมืองบุรีรัมย์แฝงไว้ซึ่งความผูกพันทางสายใยจากรุ่นสู่รุ่น นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า “งาน COLORS OF BURIRAM เป็นงานที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดขึ้น และถือเป็นงานผ้าไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี ที่เปิดประตูอาณาจักรองค์ความรู้ของเส้นทางสายไหมของจังหวัดบุรีรัมย์จากอดีตที่เชื่อมโยงถึงปัจจุบัน การส่งต่อวัฒนธรรมของผู้คนทุกช่วงวัยในหลายเจเนอเรชัน ภายใต้แนวคิดโครงการ ผ้าไทยใส่ให้สนุก” งาน “COLORS OF BURIRAM” แบ่งเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับผ้าไหมออกเป็นโซนต่างๆ ได้แก่ Threads of Time โซนที่จะพาย้อนสู่มิติแห่งประวัติศาสตร์การผลิตเส้นไหมและผ้าไหมในสมัยรัชกาลที่ 5 ไ
ผ้าไหมแบรนด์ไทย Soft Power ตัวจริง เร่ง “อุ๊งอิ๊ง” ส่งเสริมให้มีที่ยืนในเวทีสากล เมื่อเร็วๆ นี้ ผ้าไหมพรีเมียมแบรนด์ “Chayanna” ของ ดร.ชญณา ศิริภิรมย์ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน “Bangkok Uncovered & Beyond” ซึ่งโรงแรมสุโขทัยได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยมี นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง และ นายสุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดังของเมืองไทย เข้าร่วมงาน พร้อมกับสวมเสื้อผ้าไหมแบรนด์ “Chayanna” ด้วย ดร.ชญณา ย้อนความให้ฟังถึงที่มาที่ไปของผ้าไหมพรีเมียมแบรนด์ “Chayanna” ว่า เกิดจากความรักในผ้าไหมของคุณแม่ ที่เก็บสะสมมากว่า 40 ปี ทำให้ท่านมีผ้าไหมนับร้อยผืน ที่มีลวดลายงดงาม สีสันเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น วันหนึ่งได้ไปเปิดตู้ พบกรุผ้าไหมของคุณแม่ เห็นแล้วชอบในทันที ยิ่งเมื่อได้สัมผัสเนื้อผ้า ที่มีความนุ่มนวล เย็นสบาย ยิ่งทำให้หลงรัก หลังจากนั้น จึงได้นำผ้าของคุณแม่มาออกแบบตัดเย็บเป็นชุด ในแบบที่ทันสมัย สวมใส่ออกงานได้ ใช้ในชีวิตประจำวันก็โก้เก๋ ไม่ซ้ำใคร คนเห็นต่างทักว่าสวย หลายคนขอซื้อ และเมื่อมีโอกาสนำผ้าไหมไปจัดแสดงในงานต่างๆ คนเริ่มสอบถามแล้วว่าเป็นแบรนด์อะไร สามา
สานต่อภูมิปัญญาไทย! ต่อยอด ผ้าไหม ด้วยงานวิจัย สู่ ผ้าไหมยีนส์ เตรียมยกระดับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมดี มากมีปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม พร้อมวัฒนธรรม คำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้ สัมภาษณ์ สองสามีภรรยา คุณอาทร แสงโสมวงศ์ และคุณทัศนีย์ สุรินารานนท์ เจ้าของกิจการ เรือนไหม-ใบหม่อน จังหวัดสุรินทร์ ผู้หยิบยกเอา ผ้าไหม สินค้าพื้นถิ่นมาต่อยอดเพิ่มมูลค่า เป็น ผ้าไหมยีนส์ เพื่อเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ โดยทั้งคู่ช่วยกันเล่าว่า ก่อนจะมาทำธุรกิจ เรือนไหม-ใบหม่อน คุณทัศนีย์ได้ทำธุรกิจรับทำจิวเวลรี่มาก่อน ส่วนคุณอาทรก็ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ แต่ครอบครัวของทั้งคู่ก็ทำอาชีพทำนา ทำหม่อนไหม รวมถึงรับซื้อเส้นไหมเพื่อส่งให้โรงงานทอ ซึ่งก็วนเวียนอยู่ในวงการเดียวกันทั้งหมู่บ้าน กระทั่งอายุเยอะขึ้น ผนวกกับหลายๆ ปัจจัย ทั้งคู่ก็พาครอบครัวเล็กๆ กลับมาที่บ้านเกิด ซึ่งก็คือจังหวัดสุรินทร์ และมาจับงานสานต่อกิจการครอบครัว เมื่ออยู่ไปได้สักพักก็เล็งเห็นกันว่า ปริมาณการผลิตเส้นไหมธรรมชาติลดลงอย่างน่าตกใจ เพราะช่วงเวลานั้น
ซอฟต์ พาวเวอร์ ผ้าไหมไทย สู่ ผ้าไหมโลก ชาวบ้านมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น เริ่มต้นทำงานทันที หลังประกาศความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อพรรคใหม่ “ชาติพัฒนากล้า” ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรค และ นายกรณ์ จาติกวณิช กรรมการบริหารพรรค เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยทั้งสองได้พูดคุยกันถึงการผลักดันของดีโคราช คือ ผ้าไหม ซึ่งมีอัตลักษณ์โดดเด่น สวยงามเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและต่างประเทศ แต่การจำหน่ายยังอยู่ในวงที่จำกัด ซึ่งในแง่ทางเศรษฐกิจสามารถพัฒนาได้อีกมาก จึงได้เชิญ นายศักดา แสงกันหา “มิสเตอร์ผ้าไหม-โคราช” เข้ามาสอบถาม เนื่องจากเป็นคนที่คลุกคลีกับผ้าไหมมาตั้งแต่เด็ก โดยมองถึงความเป็นไปได้ ที่จะผลักดันให้ผ้าไหมไทยเป็นผ้าไหมของโลก มีคุณภาพมาตรฐาน โดยนายศักดามองว่า ขณะนี้ประเทศไทย เป็นรองแค่ประเทศจีนเท่านั้น ในเรื่องของปริมาณการผลิต ซึ่งแน่นอนด้วยพื้นที่และประชากร แต่เรื่องความสวยงามผ้าไหมโคราชและผ้าไหมของภาคอีสานไม่เป็นสองรองใคร สามารถพัฒนาโคราชให้เป็นศูนย์กลางผ้าไหมของภาคอีสาน และเป็นแหล่งผ้าไหมของโลกได้ “ผ้าไหมไทยเป็นศิลปวัฒนธรรม เป็นหนึ่งใน ซอฟต์พาวเวอร์ ของคนไทย ที่สามารถแข่งขันได้ในระด
กรมหม่อนไหม ดัน “Thai Silk Online” เปิดขายใน Lazada Shopee สู้โควิด-19 เว็บไซต์ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าว นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงส่งผลให้เกษตรกร ผู้ทอผ้าไหมและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหมจำหน่ายสินค้าได้ลดลง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมหม่อนไหม จึงได้เปิดจำหน่ายสินค้าหม่อนไหมในระบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผู้ทอผ้าไหม และผู้ประกอบการด้านหม่อนไหม มีช่องทางการตลาดมากขึ้น ผ่านเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ภายใต้ชื่อ “Thai Silk Online” เป็นแหล่งรวมสินค้าหม่อนไหมทั่วประเทศ พร้อมกับเชื่อมโยงช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ยอดนิยม อย่าง Lazada และ Shopee นอกจากนี้ ยังมีช่องทาง Website www.thaisilkonline.com ซึ่งแสดงรายละเอียดสินค้าหม่อนไหม เช่น รูปภาพ ราคา จำนวน คุณลักษณะของสินค้าไว้อย่างละเอียด อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวอีกว่า กรมหม่อนไหม จะสำรวจจำนวนสินค้าหม่อนไหมในพื้นที่จากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม่อนไหม ผู้ทอผ้าไหม และผู้ประกอบการหม่อนไหม ที่ผลิ
“บ้านคำปุน” แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ฝีมือทอผ้าไหมสุดเลื่องลือ “บ้านคำปุน” คือ แหล่งผลิตและจำหน่ายผ้าไหมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่แห่งนี้ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางวัฒนธรรมการทอผ้าไหม ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัดอุบลฯ ความพิเศษของ “บ้านคำปุน” นี้ คือ การเปิดให้เข้าชมแค่ปีละ 1 ครั้ง เป็นเวลาไม่เกิน 3 วัน ในช่วงเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลฯ ทุกปี เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นบ้านส่วนตัว โดยมีการเก็บค่าเข้าชม 100 บาท รายได้ไม่หักค่าใช้จ่ายจะนำไปทำบุญตามแต่จะกำหนดไว้ในแต่ละปี สำหรับชื่อเรียกขานบ้านทรงไทย บนที่ดินร่มรื่นแห่งนี้ มีที่มาจากชื่อของ คุณคำปุน ศรีใส เจ้าของผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ. 2537 และมี คุณเถ่า-มีชัย แต้สุจริยา ทายาทของเธอ เป็นผู้ดูแล คุณเถ่า กับผลงานผ้าทอผืนงาม ที่เผยได้เพียงว่า ราคาหลาละ 6 หลัก ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง ทรุด หันทำผ้าทอสืบทอดบรรพบุรุษ คุณเถ่า-มีชัย แต้สุจริยา แห่ง “บ้านคำปุน” ปัจจุบันอายุ 59 ปี ผู้ชายคนนี้ มีรางวัลการันตีความสามารถด้านผ้าทอมาแล้วมากมาย
“MUTTA” ห้องเสื้อแพรวาไทย สวย-แพง โดนใจ เตรียมดังไกลต่างแดน แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยหรือภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย ภูมิปัญญาในการทอผ้าของชาวภูไท เป็นมรดกทางความคิดที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจกที่มีลวดลายโดดเด่น ทอด้วยไหมทั้งผืน มีสีสัน ลวดลายที่หลากหลาย นับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่ผู้นิยมผ้าไทย ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะผ้าจาก บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการทอผ้าไหมแพรวาที่งดงามและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ คุณเล็ก – กุลทรัพย์ เมธีไตรพัฒน์ เจ้าของห้องเสื้อแบรนด์ “MUTTA” (มุตตา) วัย 55 ปี ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไหมแพรวาเช่นกัน โดยเธอเล่าให้ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ฟังว่า เดิมก่อนจะหันมาจับธุรกิจผ้าไทย เธอเคยทำงานเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตมือถือในบริษัทฮ่องกงแห่งหนึ่ง ที่มีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศจีน จนเมื่อ 3 ปีก่อน เธอ