พลังชุมชน
SCG ลดเหลื่อมล้ำ ชูการตลาดรอดจน ด้วยชุมชนที่แข็งแกร่งอุดรธานี เอสซีจี เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสส่งต่อความรู้คู่คุณธรรม ผ่าน “โครงการพลังชุมชน” มุ่งให้ชุมชนเปลี่ยนวิธีคิด เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เสริมแกร่งการตลาด เสิร์ฟสินค้าหลากหลายมัดใจลูกค้าเป็นการตลาดรอดจน หนุน 140 ชุมชนสร้างเครือข่ายเข้มแข็ง ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น เลิกจนยั่งยืน นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักงาน Enterprise Brand Management เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี มุ่งแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำสังคม ผ่านโครงการพลังชุมชน อบรมเสริมความรู้สร้างอาชีพยั่งยืน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เน้นพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมชุมชนให้เห็นคุณค่า และพัฒนาศักยภาพตนเอง แปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เข้าใจลูกค้าและตลาดก่อนผลิตและจำหน่าย บริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน ปัจจุบัน พลิกชีวิต 140 ชุมชน กว่า 10,000 คน ใน 14 จังหวัด ปลดหนี้ มีรายได้เพิ่ม อาชีพมั่นคง ทั้งต่อยอดความรู้จนสามารถพัฒนาเป็นการตลาดรอดจนซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัว พร้อมแบ่งปันความรู้ขยายเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง และเป็นต้นแบบส่งต่อแรง
ชื่นชม ครูอ้อ ส่งต่ออาชีพให้ชุมชน ช่วยคนเปราะบาง หาเลี้ยงตัวเองได้ แม่ป่วย สามีความจำเสื่อม เคยมีเงินติดบ้านแค่ 20 บาท วันนั้นเหมือนทุกอย่างพังทลาย แต่เธอไม่เชื่อว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของเวรกรรม หากแต่เชื่อว่าคนเราสามารถลิขิตชีวิตตัวเองได้ เธอ คือ ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่เคยเผชิญมรสุมชีวิตหนัก ที่อาจถอดใจได้ทุกเมื่อ แต่เธอกลับฮึดสู้ ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำครอบครัว ด้วยงานหัตถกรรมที่ตัวเองรัก แถมยังส่งต่อโอกาสให้กลุ่มผู้เปราะบางมีงานมีรายได้มั่นคง เธอ ผู้เป็นเจ้าของเรื่องราวนับจากนี้ ชื่อ อำพร วงษา ที่หลายๆ คนเต็มใจยกย่อง เรียกเธอว่า “ครูอ้อ” แม้เธอจะลาออกจากอาชีพแม่พิมพ์ มานานหลายปีแล้วก็ตาม ครูอ้อ ย้อนความทรงจำเมื่อเกือบ 20 ปีก่อนหน้านี้ให้ฟัง แววตาหม่น “เมื่อก่อน เป็นครูสอนอนุบาลค่ะ พอสามีล้ม ทำให้ไม่สามารถทำงานที่ตัวเองรักได้ ตอนนั้นเสียใจมากที่ต้องลาออกจากการเป็นครู แต่ต้องเลือกครอบครัว ใช้เวลาส่วนใหญ่มาดูแลครอบครัว แต่พอวันหนึ่งเราซึ่งเคยมีเงินเดือน แล้วจู่ๆ ขาดรายได้ประจำไป ทำให้อยู่ลำบาก ซึ่งจะไปทำการเกษตร ก็ไปไม่ได้ เพราะมีภาระที่ต้องดูแล เลยจำเป็นต้องหารายได้จากทางอื่น” ครูอ้อ เริ่มต้นอ
กุ๊กไก่ไส้สับปะรด จากแทบไร้ตัวตน สู้จนคนยอมรับ ได้เสิร์ฟผู้นำเอเปก พอ D คำ by แม่หนิงภูดอย คือ กิจการขนมของฝากขึ้นชื่อของชุมชน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง หนึ่งในชุมชนซึ่งเข้ารับการอบรมวิชาจาก “โครงการพลังชุมชน” ซึ่งเป็นโครงการเสริมความรู้คู่คุณธรรม สนับสนุนโดยเอสซีจี คุณหนิง-เกศรินทร์ กลิ่นฟุ้ง เจ้าของกิจการ พอ D คำ by แม่หนิงภูดอย เริ่มต้น จากการเป็นพนักงานออฟฟิศในเมืองหลวง แต่เมื่อมีลูกจึงอยากกลับมาทำงานที่บ้านเกิด และระหว่างรับงานเหมาทำบัญชีให้กับโรงปูนใน อ.แจ้ห่ม เธอก็มองหาอาชีพเสริม เพราะมีภาระต้องเลี้ยงดูแล “ภูดอย” ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ที่เวลานั้น วัยได้ 2 ขวบเศษ “อย่างแรกที่เริ่มทำคือ ขนมปังกรอบ ด้วยที่มีความชอบกินเลยไปเรียน แล้วไปฝากขายตามร้านกาแฟ ร้านก๋วยเตี๋ยว พอเริ่มขายได้ขยับมาทำคุกกี้ เพราะเก็บได้นาน และอยากทำให้ลูกกินด้วย” คุณหนิง ย้อนให้ฟังถึงจุดเริ่ม เมื่อหลายปีก่อน และเล่าต่อถึงภารกิจช่วงทำงานประจำควบคู่กับการทำขนมขาย ว่า ตอนกลางวันไปทำงานที่โรงปูน เย็นกลับมา กินข้าว เข้านอนตอน 2 ทุ่มครึ่ง และตื่นขึ้นมาทำขนมตอนตี 1 ยาวไปถึงตี 5 เพราะต้องเตรียมตัวให้ลูกไปโรงเรียน ดำเนินชีวิตประจำ
พลังชุมชน พา ลืมตาอ้าปาก จากถั่วปี๊บ หันทำ เมล็ดพันธุ์ รับปีหลายสิบล้าน ห่างหายไปหลายปี เพราะมีเหตุจำเป็นไม่สามารถเดินทางลงพื้นที่ได้ แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง เอสซีจี นำโดย คุณวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักงาน Enterprise Brand Management Office เอสซีจี จึงพาคณะสื่อมวลชนสัญจรไปเยี่ยมชม โครงการ พลังชุมชน และ บริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดลำปางและลำพูน พื้นที่แรกที่คณะไปถึงคือ บ้านสาแพะใต้ ม.3 ตำบลสาแพะ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง พวกเราได้ร่วมพูดคุยกับตัวแทนชุมชน ให้หัวข้อ “จากฝายชะลอน้ำสู่อาชีพยั่งยืน” โดยทางผู้บริหารเอสซีจี ย้อนที่มาที่ไป ให้ฟังว่า โรงงานปูนลำปาง ตั้งขึ้นในปี 2537 เป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการทำเหมือง เรียกว่า เซมิ โอเพ่น คัต คือ การตักหินปูนเพื่อจะไปทำซีเมนต์ จะตัดจากยอดเขา เปรียบเหมือนควักเนื้อลูกแตงโม แล้วเหลือเปลือกหรือสันเขาไว้ เป็นการช่วยป้องกันฝุ่น ป้องกันเสียง ไม่ให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน จึงพูดได้ว่าเป็นโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขณะได้รับสัมปทานเหมือง ก็ต้องดูแลป่าไม้ด้วย แต่สิ่งที่เจอคือ ความแห้งแล้ง พบปัญหาลักลอบตัด