พลาสติก
“พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2024” เปิดฉากยิ่งใหญ่ดันไทยบรรลุเป้า Net Zero อุตสาหกรรมพลาสติกและยางไทยปีนี้ขยายตัวดี เศรษฐกิจโลกฟื้น – หนุนความต้องการใช้พุ่ง วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2024 : Plastics & Rubber Thailand 2024” เปิดเผยว่า ความพิเศษของการจัดงาน“พลาสติกแอนด์รับเบอร์ไทยแลนด์ 2024 : Plastics & Rubber Thailand 2024” เป็นความร่วมมือกันจัดงานร่วมกันเป็นครั้งแรกระหว่าง อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ และ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ทั้งนี้ เพื่อมุ่งบรรลุเป้าผลักดันการจัดงานให้ยิ่งใหญ่และเข้มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ตอกย้ำจุดแข็งการจัดงานที่การระดมผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยในแวดวงอุตสาหกรรมพลาสติกและยางรวบรวมไว้ในงานสูงสุด พร้อมกับส่งเสริมโซลูชั่นสู่เป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการผลิตเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) และส่งเสริมความพร้อมแก่นักอุตสาหกรรมสำหรับการมาของมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่จะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไปสู่ยุโรป แ
พลาสติก ที่ทิ้งไป โทษภัยตามมามากมาย แล้วทำไมคนไทย ไม่แยกขยะ เจ้าโควิดตัวดี ทำให้คนไทยอยู่บ้านกันมากขึ้น ร้านอาหารดีลิเวอรีผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ไม่มีหน้าร้านก็ขายของได้ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี ใครว่างงานไม่รู้จะทำอะไร ผัดก๋วยเตี๋ยวเป็น อร่อย ก็พอหาเลี้ยงชีพได้แล้ว แต่ไอ้ที่แย่คือทุกเจ้าใช้กล่องพลาสติก ถุงพลาสติกกันหมด ไม่มีอะไรมาทดแทนได้จริงๆ ไม่ให้เขาใส่พลาสติกแล้วจะไปใส่อะไร ถึงแม้ว่าพลาสติกบางอย่างจะนำไปรีไซเคิลได้ แต่คนไทยไม่แยกขยะ เลยปรากฏว่าอัตรานำพลาสติกไปรีไซเคิลมีแค่ 25% ของขยะทั้งประเทศ อีก 75% ทิ้งฝังที่กันอยู่ ขยะของแต่ละบ้านในแต่ละวัน ไปคุ้ยดูเถอะครับ ต้องมีกล่องพลาสติก ถุงพลาสติก หนังยาง ทิ้งรวมไปกับเศษอาหารและขยะอื่นๆ จะหวังให้คนเก็บขยะ หรือทางการไปคัดแยกขยะได้ 100% คงเป็นไปไม่ได้ คนไทยจะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ก็ไม่รู้ได้ ที่จะคิดว่าขยะพลาสติกที่เรากำจัดออกไปจากบ้านหรือส่งไปกับร้านดีลิเวอรีแล้วมันไปไหน เกิดโทษอะไรขึ้นบ้าง การใช้กล่องพลาสติกรีไซเคิล ช่วยลดขยะพลาสติกได้จริงไหม โทษของ พลาสติก ที่ทิ้งไป หนึ่ง แน่ๆ มันรกครับ เป็นขยะทับถมเปื้อนขี้ขยะ ขี้ดิน ไม่มีใครชอบ ปลูกพืชอะไรก็
“เอกา โกลบอล” ชูไบโอพลาสติก หนุนบรรจุภัณฑ์ไทยไปเวทีโลก เตรียมอวดกรีนโปรดักต์ในงาน ThaiFex และ ProPak นายชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด (EKA GLOBAL) ผู้นำตลาดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร (Longevity Packaging) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 2/2566 ตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกของไทย โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างดี จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ปรับเปลี่ยนหันมาบริโภคอาหารในลักษณะ Ready to Eat มากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน บรรจุภัณฑ์พลาสติก กำลังเผชิญกับโจทย์ความท้าทายจากทิศทางตลาดโลกที่มุ่งหน้าสู่เทรนด์การแข่งขันเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืนมากขึ้น จากกระแสความตื่นตัวเรื่องภาวะโลกร้อน และปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจและการผลิต รวมถึงมาตรการค้าโลกที่เรียกเก็บภาษีสินค้าที่มีกระบวนการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากในอัตราที่สูงขึ้น เช่น สหภาพยุโรปมีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญต่อการปรับเพิ่มสัดส่วนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการพัฒนาสิน
โควิด-19 วิกฤตนี้ยังมีโอกาส ส่งธุรกิจแพ็กเกจจิ้งโต เหตุอาหารพร้อมทาน ยังเป็นที่ต้องการ ท่ามกลางวิกฤตที่คนทั่วโลกต้องเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ลุกลามไปยังหลายประเทศ โดยเฉพาะทวีปยุโรป ที่การแพร่ระบาดเริ่มบานปลาย ยอดผู้ติดเชื้อไต่ระดับขึ้นแทบทุกวัน หลายต่อหลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก ยอมจำนนต่อโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่างๆ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ที่ดูเงียบเหงา ไม่ครึกครื้นเหมือนแต่ก่อน แต่ในทางกลับกัน ยังมีธุรกิจอีกกลุ่ม ที่สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ คุณชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด บริษัท ผู้ผลิต Longevity Packaging บรรจุภัณฑ์ถนอมอาหาร รายใหญ่ของโลก เผยว่า ทุกคนต่างกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบแทบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะฝั่งรัฐบาล เอกชน หรือภาคธุรกิจ แต่ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาสซ่อนอยู่ อ่านเพิ่มเติม ถึงเวลาคนไทยส่งออกขนม! ด้วย ‘แพ็กเกจจิ้งถนอมอาหาร’ นวัตกรรมสุดล้ำที่อินเดียยังใช้ “อย่างธุรกิจแพ็กเกจจิ้งของผมยอดขายขึ้
ถึงเวลาคนไทยส่งออกขนม! ด้วย ‘แพ็กเกจจิ้งถนอมอาหาร’ นวัตกรรมสุดล้ำที่อินเดียยังใช้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะได้เห็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และสารพัดขนมหวานของไทย มีโอกาสส่งไปขายต่างประเทศได้เหมือน “อินเดีย” ดินแดนภารตะที่หลายคนมองข้าม แต่วันนี้สามารถส่งออกขนมหวานขึ้นชื่อข้ามน้ำข้ามทะเลไปหลายประเทศทั่วโลกได้สำเร็จ โดยที่ยังคงความอร่อยไม่เน่าเสีย สามารถวางขายอยู่ในอุณหภูมิปกติได้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ถึง 2 ปี ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการพัฒนาแพ็กเกจจิ้งที่เรียกว่า Longevity Packaging หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูป ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาจนสามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้ยาวนาน โดยไม่ต้องอยู่ในตู้แช่ และคนสำคัญที่จะมาช่วยให้เราเข้าใจโลกของแพ็กเกจจิ้งมากขึ้นคือ คุณชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด โปรไฟล์ไม่ธรรมดา เรียนจบปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยทำงานอยู่ฝ่ายธนบดีธนกิจ ธนาคารไทยทนุ ก่อนหันมาช่วยธุรกิจครอบครัว บริษัทแป้งมันสำปะหลังชั้นนำของประเทศไทย จากนั้นได้ร่วมทุนกับนักลงทุนจากออสเตรเลีย
เทสโก้ โลตัส เดินหน้ายกระดับมาตรการลดใช้พลาสติกอย่างต่อเนื่อง ประกาศยกเลิกใช้หลอดพลาสติกภายในทั้ง 2,000 สาขาทั่วประเทศ ดีเดย์วันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม นี้ คุณสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “เป้าหมายของกลุ่มเทสโก้ในด้านบรรจุภัณฑ์ ทั้งที่ทำจากพลาสติกและวัสดุอื่นๆ คือการสร้างระบบปิดโดยการงดหรือลดใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) นำบรรจุภัณฑ์กลับเข้าระบบ (Retrieve) และรีไซเคิลเพื่อกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง (Recycle) หลอดพลาสติก ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการประเมินว่าในประเทศไทย มีขยะจากหลอดพลาสติกมากถึง 100 ล้านชิ้นต่อวัน หรือปีละกว่า 35,000 ล้านชิ้น ซึ่งหลอดพลาสติกไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ จึงเป็นที่มาของนโยบายในการเลิกใช้หลอดพลาสติกภายในเทสโก้ โลตัส ทั้ง 2,000 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม นี้เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับลูกค้าที่ซื้อเครื่องดื่มภายในเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส ถ้าหากจำเป็นต้องใช้หลอด เรามีหลอดกระดาษไว้บริการเพื่ออำนวยความสะดวก ส่วนในเทสโก้ โลตัส สาขาใหญ่ ภายในซูเปอร์มาร์เก็ตจะงดแจกหลอดพลาสติกทั้งหมด” นอกจากนโย
เทสโก้ โลตัส เดินหน้าลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ใช้โอกาสวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ในวันที่ 22 เมษายน 2562 เปิดตัวโครงการ “Bring Your Own (B.Y.O)” มอบส่วนลดให้ลูกค้าที่นำแก้วส่วนตัวมากดเครื่องดื่มที่เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส และศูนย์อาหารในสาขาใหญ่ทั่วประเทศ เทสโก้ โลตัส มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นโครงการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกที่เป็นห้างค้าปลีกรายแรกที่มอบแต้มให้กับลูกค้าที่ไม่รับถุงพลาสติก โครงการประหยัดพลังงานต่างๆ อาทิ ติดตั้งหลังคาโซล่าร์ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในสาขาและศูนย์กระจายสินค้า เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประหยัดพลังงานทุกสาขาทั่วประเทศ เป็นต้น ปัจจุบัน สังคมไทยมีความตระหนักและตื่นตัวมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในประเด็นหลักคือปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งนอกเหนือจากการลดการใช้ถุงพลาสติกแล้ว การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะพลาสติกได้ ดังนั้น เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลกที่จะมาถึงในวันที่ 22 เมษายนนี้ เทสโก้ โลตัส จะเปิดตัวโครงกา
จากพลาสติกไร้ค่า สู่งานกระเป๋าสานดีไซน์หรู ประณีตทุกขั้นตอน โดนใจลูกค้าต่างชาติ สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะสาว ๆ ต้องพกติดตัวขณะเดินทางไปข้างนอกหรือไปงานโอกาสต่างๆ ใช้ใส่สิ่งของได้สารพัดชนิด ขนาดน้อยใหญ่ หลากหลายสีสัน เป็นแฟชั่นหรือพร็อบในการแต่งกาย พูดแบบนี้แล้วคงจะนึกถึงอะไรไปไม่ได้นอกจาก “กระเป๋า” เส้นทางเศรษฐีมีโอกาสผ่านไปพบกระเป๋าแบรนด์หนึ่ง ภายใต้ชื่อ KATHANA (คาทาน่า) กระเป๋าถือและสะพายจากเส้นพลาสติกสานรีไซเคิล 100% ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ของ บริษัท วรกุลชัย แพ็กเกจ ซีล จำกัด โดยมี คุณทินกร วรกุลชัย ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารและผู้พัฒนานวัตกรรม และ คุณรุ่ง – กัญฐณา วรกุลชัย เป็นผู้จัดการโปรเจ็กต์ คุณรุ่งเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการหันมาทำกระเป๋าสานจากเส้นพลาสติกรีไซเคิลแบรนด์คาทาน่า ว่า ในตอนแรก “บริษัท วรกุลชัย แพ็กเกจ ซีล จำกัด” เป็นผู้ผลิตเส้นพลาสติกรัดของและนำเข้าเครื่องจักรเพื่อมาจำหน่าย มีการผลิตวัตถุดิบเอง โดยรับซื้อเศษเส้นพลาสติกจากโรงงานนำมาหลอมเพื่อแปรสภาพใหม่ กลายเป็นรูปแบบรีไซเคิล เห็นว่าเศษเส้นพลาสติกที่ทางบริษัทรับซื้อมาคละไปด้วยสีและ
ถุงพลาสติกหลบไป! ‘พวงกุญแจถุงผ้า’ มากประโยชน์ ห้อยกระเป๋าได้ แถมใส่ของได้อีกเพียบ พูดถึงกระแสรักษ์โลก ช่วง 2 ปีมานี้คนไทยให้ความสำคัญมากขึ้น มีธุรกิจเกิดใหม่ที่ช่วยให้คนลดการใช้ขยะ หรือลดการใช้พลังงานซึ่งอาจจะสร้างมลพิษให้กับประเทศ อาทิเช่น การใช้รถยนต์อีโค่คาร์ ร้านสะดวกซื้อที่ลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยการให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่ของเอง หรือจะเป็นธุรกิจกระเป๋าผ้าซึ่งเป็นเทรนด์ต่อเนื่องมาตลอด ช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกแถมใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย “Make a Wood house and Crafts” ร้านพวงกุญแจถุงผ้า 2 in 1 แฮนด์เมดของคู่พ่อลูก คุณเจน-ชาลิสา วาระดี อายุ 26 ปี และคุณชาลี วาระดี อดีตนักข่าวมากประสบการณ์ที่คนในวงการข่าวรู้จักกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันทั้งคู่ช่วยกันทำธุรกิจนี้มาได้ 1 ปีกว่าแล้ว นัดแนะพูดคุยกันที่ร้านกาแฟแถวบางนา บรรยากาศสุดชิล คุณเจน เริ่มบทสนทนาด้วยรอยยิ้มถึงที่มาของธุรกิจนี้ให้ฟังว่า เริ่มทำพวงกุญแจถุงผ้ามาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งได้แนวคิดมาจากกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เมื่อครั้งไปเรียนต่อด้านภาษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ “ที่นิวซีแลนด์คนส่วนใหญ่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ช่วงที่กลับมา