พันธุ์พระราชทาน 80
ครั้งแรกในไทย! คณะนักวิจัย “ดอยคำ” ค้นพบไวรัส 2 สายพันธุ์ชนิดใหม่ ในสตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 คณะนักวิจัย บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ค้นพบเชื้อไวรัส strawberry latent ringspot virus (SLRSV) และ strawberry crinkle virus (SCV) ในสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 สาเหตุการเกิดโรคใบจุด และใบย่นในพื้นที่เพาะปลูกเกษตรกร 3 แห่ง ได้แก่ บ้านหนองเต่า บ้านขอบด้ง ตำบลม่อนปิ่น และบ้านแม่งอนขี้เหล็ก ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย นายนิวัฒน์ ขันโท ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมเกษตร กล่าวว่า “การค้นพบในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่บริษัทฯ ร่วมมือกับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชากีฏวิทยา และโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาพัฒนาสายพันธุ์สตรอเบอร์รี ณ โรงปฏิบัติการวิจัยทางพืช (LAB) ของบริษัทฯ ซึ่งพบปัญหาอาการใบด่าง ม้วนงอ และอาการแคระแกร็นในสตรอเบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 ที่เป็นสาเหตุสำคัญต่อการเจริญเติบโต และปริมาณผลผลิต ซึ่งส่งผลต่อมูลค่าทางการตลาด โดยตรวจพบเชื้อไวรัส SLRSV และ SCV : ซึ่งยังไม่มีใครเคยพบเจอในพืชชนิดนี้” สำหรับโรง
ในบรรดาผลไม้เมืองหนาวทำเงินในบ้านเรา ต้องบอกว่า สตรอเบอรี่ มาแรงทีเดียว และใช่จะปลูกได้บนดอยสูงๆ เท่านั้น เวลานี้สามารถปลูกกันได้ในหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด อย่างในภาคอีสาน ที่บุรีรัมย์ ปากช่อง เขาใหญ่ หรือที่กาญจนบุรี ราชบุรี และอุทัยธานี ในภาพรวมตอนนี้บ้านเราปลูกสตรอเบอรี่กันประมาณ 1 หมื่นไร่ สามารถขายได้กิโลกรัม (ก.ก.) ละประมาณ 200-500 บาท ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ออกผล สร้างรายได้ให้เกษตรกร เฉลี่ยไร่ละ 300,000-500,000 บาท ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยรวยกันเป็นแถว ปลูกพันธุ์พระราชทาน 80 อย่างวันก่อนทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เชิญคณะสื่อจากส่วนกลางไปชมไร่ GBของ ร้อยตรียุทธนา บำรุงคีรี เกษตรกรอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ที่มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการปลูกสตรอเบอรี่ ในพื้นที่ 2 ไร่ โดยในช่วงต้นฤดูสามารถขายได้กิโลกรัมละ 400-500 บาท ซึ่งเมื่อ ปี 2558 หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว มีรายได้ ประมาณ 350,000-400,000 บาท ใช้เวลาปลูกประมาณ 5 เดือน แต่ในช่วงแรกอาจจะต้องลงทุนมากหน่อยในเรื่องระบบน้ำ และในปี 2559 มีรายได้เท่าๆ กับ ปี 2558 ร้อยตรียุทธนา เจ้าของไร่ GB เล่าว่า เ