พิษสุนัขบ้า
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย นำกำลังเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวภายในวัดดอยพระบาท ต.รอบเวียง เขตเทศบาลนครเชียงราย ตลอดจนสุนัขและแมวของชาวบ้านในชุมชนที่มีการเลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงฤดูร้อน หลังพบว่าก่อนหน้านี้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างน้อย 4 หมู่บ้าน มีสุนัขติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจำนวนหลายตัว ทำให้ทางกรมปศุสัตว์ประกาศให้เชียงรายเป็น 1 ใน 13 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงต่อการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ต้องควบคุมอย่างจริงจัง นายนพพร มหากันธา ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ระบุว่า การฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ทุกตัวเป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่ได้ผลที่สุด แต่ที่ผ่านมาประชาชนหลายพื้นที่ปล่อยปละละเลยไม่ยอมนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดจนเกิดการแพร่ระบาด ซึ่งระยะนี้จะมีการลงพื้นที่ฉีดให้กับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขและแมวทุกตัว โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดอาสาสมัครปศุสัตว์ไปฉีดให้บ้านทุกหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกรมปศุสัตว์ ประกาศเขตโรคระบาดพิษสุนัขบ้าไปแล้ว 13 จังหวัด ซึ่งถูกจัดเป็นพื้นที่สีแดง เพราะอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง คือ จ.สุรินทร์ ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา น่าน บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เชียงราย ร้อยเอ็ด สงขลา ระยอง ตาก และศรีสะเกษ นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังโรคระบาดพิษสุนัขบ้าในอีก 42 จังหวัด ซึ่งจัดให้อยู่ในพื้นที่สีเหลือง ปรากฏว่าในสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลถึงปัญหาการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ว่ามีการทักท้วงการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เนื่องจากไม่ใช่ภารกิจของท้องถิ่น และหากทำจะขัดต่อกฎหมาย จนส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักการซื้อวัคซีนฉีดสุนัขเพื่อป้องกันโรค จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มี.ค. นสพ.พรพิทักษ์ พันธ์หล้า หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เห็นได้จากช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปี 2561 พบหัวสุนัขที่มีเ
รู้จัก…ระวังไว้ ‘โรคพิษสุนัขบ้า’ ‘ไร้สายพันธุ์ใหม่’ จากกรณีการเสียชีวิตของคนขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในซอยวัดบางนาใน หลังถูกสุนัขกัดและเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขในเวลาต่อมา และถูกตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นเชื้อพิษสุนัขบ้าสายพันธุ์ใหม่นั้น ทำให้ โรคพิษสุนัขบ้า กลับมาเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจอีกหน โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Rabies, Hydrophobia คือไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของสมองในมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ในอาการแรกเริ่มนั้น หลังจากเชื้อฟักตัวผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นไข้และเกิดอาการเหน็บชา รวมถึงเคลื่อนไหวรุนแรง ควบคุมความตื่นเต้นไม่ได้ กลัวน้ำและลม ก่อนจะเสียชีวิตในที่สุด โรคนี้แพร่ได้ด้วยการที่ถูกกัดที่ติดเชื้อแล้วกัดหรือข่วน รวมถึงสามารถส่งผ่านโรคได้หากน้ำลายจากสัตว์ดังกล่าวสัมผัสตา ปากหรือจมูก กรณีการเสียชีวิตของคนขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างหลังถูกระบุว่าเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้านั้น ทำให้เกิดการตื่นกลัวว่าอาจเป็นพิษสุนัขบ้าที่กลายพันธุ์หรือเป็นสายพันธุ์ใหม่ ซึ่ง ศ.นสพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงโรคพิษสุนัขบ้าว่
เมื่อวันที่ 8 กันยายน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในส่วนของผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าที่ จ.ปทุมธานี นั้น เบื้องต้นก็ยังไม่ได้ตัดประเด็นการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทิ้ง ขณะนี้ทางศูนย์โรคติดเชื้อกำลังประสานขอเลือดผู้เสียชีวิต และขอเก็บตัวอย่างเนื้อสมองไปตรวจสอบเพื่อความชัดเจน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า จากข้อมูลสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค และกรมปศุสัตว์ วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 8 กันยายน 2559 ตรวจสมองสุนัขที่ต้องสงสัย คือ กัดคนหรือมีอาการแปลกๆ 579 หัว พบว่า มีไวรัส 279 หัว คิดเป็นร้อยละ 47.67 เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบว่า จ.สงขลา ร้อยละ 55 จ.ชลบุรี ร้อยละ 35 จ.อุบลราชธานี ร้อยละ 31 จ.สมุทรปราการ ร้อยละ 30 จ.กาฬสินธุ์ ร้อยละ 22 จ.ปราจีนบุรี ร้อยละ 17 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 14 จ.สุรินทร์ ร้อยละ 14 จ.บุรีรัมย์ ร้อยละ 12 และ จ.ศรีสะเกษ ร้อยละ 10 ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่มีตัวเลขนั้นไม่ได้แปลว่าไม่มีเชื้อโรคนี้ ขึ้นอยู่กับการส่งตรวจ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า ถึงแม้สุนัข แมว อาการปกติก็สามารถปล่อยไวรัสได้ในน้ำลาย 10