พ่อค้าคนกลาง
ผักกินใบและลำต้นใช้เวลาปลูกไม่นาน อย่าง “ต้นหอม” หรือ “หอมแบ่ง” ติดทำเนียบผักขายดี เรียกว่าแทบจะทุกตลาดสด และตลาดติดแอร์ต้องมีผักชนิดนี้ติดไว้เพื่อบริการลูกค้า เพราะเกือบจะทุกเมนูของอาหารไทยมักมีต้นหอมเป็นส่วนประกอบ บางครั้งก็ทานเป็นเครื่องเคียง นับเป็นผักที่สร้างรายได้ให้ผู้ปลูกทุกวัน คุณโสภณวิชญ์ แซ่ลิ้ม หรือคุณวัน เกษตรกรหนุ่มวัย 37 ปี ชาวราชบุรี อยู่เลขที่ 6 ต.แก้มอัน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เท้าความกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เกิดและเติบโตมาในครอบครัวปลูกอ้อย จนกระทั่งราวปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ขายอ้อยไม่ได้ เนื่องจากโรงงานน้ำตาลปิดตัวลง ทางบ้านเลยลดปริมาณการปลูกอ้อย แล้วหันมาปลูกพืช ผักสวนครัว เช่น หัวไชเท้า คะน้า มันสำปะหลัง รวมถึงต้นหอม เพื่อทดแทนรายได้ที่หายไป สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยของคุณวันราว 500 ไร่ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ชายหนุ่ม เผยกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ช่วงนั้นเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนปลาย ยังไม่ได้เข้ามาช่วยงานที่บ้านเต็มตัว กระทั่งเรียนจบปี 2546 มารู้ว่าคุณพ่อเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ เบ็ดเสร็จ 20 ล้านบาท เลยตั้งปณิธานไว้ว่าในฐานะลูกชายคนที่ 2 ของบ้านจะต้องปลดหนี้ค
นายรังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานประสานความร่วมมือพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า สถาบันยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มข.ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ และหน่วยงานทุกภาคส่วนใน จ.กาฬสินธุ์ ช่วยฟื้นฟูสินค้าทางการเกษตรของเกษตรกรจาก อ.เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยจัดพื้นที่จำหน่ายสินค้าแปรรูปทางการเกษตรบริเวณ ลานชั้น 1 ด้านหน้าที่กราบสักการะหลวงพ่อคูณคณะแพทยศาสตร์ มข.ทั้งนี้ สืบเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมนาข้าว และสินค้าจากเกษตรกรโดยเฉพาะพริก ประสบกับปัญหาพริกล้นตลาด จึงแนะนำให้เกษตรกรแปรรูปโดยการตากแห้ง แต่เนื่องจากมีพริกแห้งนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก มูลนิธิปิดทองหลังพระจึงขอความร่วมมือ มข.เพื่อหาช่องทางจำหน่ายพริกโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้เกษตรกรได้รับรายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อที่เกษตรกรจะได้มีกำลังใจในการประกอบอาชีพต่อไป นางสุวิมล จันทร์เพ็ง เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า นอกจากพริกที่นำมาแปรรูปขายแล้ว ยังขายสินค้าทางการเกษตรอื่นๆ ซึ่งขายดีมาก โดยส่วนตัวปลูกสินค้าทางการเกษตรเป็นรายได้หลัก แต่มักได้ผล
หนังสือและแนวคิด “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว The One Straw Revolution” เป็นแนวคิดอันโด่งดังของชาวญีปุ่นที่ชื่อ มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ ซึ่งหนังสือเล่มดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 แปลเป็นภาษาอังกฤษปี 2519 และได้รับการแปลและเผยแพร่เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2530 แนวคิดดังกล่าว มีหัวใจอยู่ 4 ข้อคือ ไม่ไถพรวนดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ว่าโดยการถางหรือใช้ยาปราบ ไม่ใช้สารเคมี ช่วงปี 2530 -2540 แนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อแรงบันดาลใจของเกษตรกรชาวไทย ในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างมาก รวมไปถึง หนุ่มพนักงานออฟฟิศ คนนี้ด้วย คุณวรวิทย์ ไชยทิพย์ หรือคุณเม้ง ในวัย 44 ปี คุณเม้ง จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี จากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2537 เริ่มต้นทำงานที่ สำนักพิมพ์มติชน ในส่วนกองบรรณาธิการ หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นคนทำหนังสือนั่นเอง ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเกษตรกลวิธานที่ร่ำเรียนมา หากแต่การสัมภาษณ์ พูดคุย ทัศนคติ การมองโลก ถูกอกถูกใจบรรณาธิการในสมัยนั้น นั่นคือคุณสรกล อดุลยานนท์ หรือหนุ่มเมืองจันท์ จึงได้ร่วมงานกัน คุณเ