ภัยแล้ง
ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม หนึ่งความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้ คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูล ณ ขณะนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้น ได้แก่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบในขั้นแรก คาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 2566 ส่วนผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม หลักๆ จะกระทบกับอุตสาหกรรมอโลหะ เช่น แก้ว กระเบื้อง และซีเมนต์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรหรืออาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถ้าหากประเทศไทย เผชิญภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง รัฐบาลอาจจะต้องพ
กรมชลฯ มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ เดินหน้า 3 โครงการขนาดใหญ่ ห้วยน้ำรี-นฤบดินทรจินดา-คลองหลวง หวังเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปี 2565-2566 กรมชลประทาน ยังเดินหน้า 3 โครงการขนาดใหญ่ ได้แก่ 1. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งแล้วเสร็จภายในปี 2568 โดยโครงการจะใช้ประโยชน์ได้ 100% ซึ่งอ่างเก็บน้ำมีความจุเก็บกัก 73.70 ล้าน ลบ.ม. เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 53,500 ไร่ ฤดูแล้ง 39,920 ไร่ ในพื้นที่ 9 ตำบล 60 หมู่บ้าน 2. โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ห้วยโสมง) จ.ปราจีนบุรี โดยอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาฯ เป็นเขื่อนดิน แบบแบ่งโซน ความสูง 32.75 เมตร ความยาว 3,967.51 เมตร ความจุ 295 ล้าน ลบ.ม. พร้อมก่อสร้างระบบชลประทาน มีลักษณะเป็นคลองส่งน้ำคอนกรีต และถนนบนคันคลองผิวจราจรลูกรัง สามารถส่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ชลประทานในเขตพื้นที่ อ.นาดี และอ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี จํานวนรวม 111,300 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้
ธ.ก.ส. ออกสินเชื่อ 3 โครงการช่วยเกษตรกรรับมือภัยแล้ง นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านๆ มา ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหา ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร โดยมีพื้นที่ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพของเกษตรกร นำไปสู่ปัญหาการก่อหนี้นอกระบบ ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อ เงื่อนไขและดอกเบี้ยผ่อนปรน จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1. สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือฉุกเฉินจำเป็นในครัวเรือนของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบภัยในเขตพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เช่น ค่าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ค่าซ่อมแซมบ้านเรือน เครื่องมือ/อุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี ในช่วง 6 เดือนแรก และตั้งแต่เดือนที่ 7 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี
ฟรี! น้ำประปาดื่มได้ 19 จุด ทั่ว กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ วันที่ 11 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ ไทยคู่ฟ้า โพสต์ข้อความระบุว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง การประปานครหลวงได้เปิดจุดให้บริการน้ำประปาดื่มได้ฟรี ณ สำนักงานประปาทั้ง 19 แห่งในพื้นที่ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/photos/a.210271022772045/913068105825663/?type=3&theater ประชาชนสามารถนำภาชนะมารับน้ำประปาดื่มได้ฟรีทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 08.00-20.00 น. ที่สำนักงานประปาสาขาทั้ง 18 สาขา ยกเว้นที่สำนักงานใหญ่ จะเปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30-16.30 น.
อัพเดตล่าสุด! มาตรการช่วยลูกหนี้ของทุกสถาบันการเงิน สู้วิกฤตโควิด-19 จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สรุปมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เช่น ภัยแล้ง และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไว้ดังนี้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารยูโอบี ธนาคารทิสโก้ ธนาคารธนชาต ธนาคารทหารไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารออมสิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) https://www.facebook.com/bankofthailandofficial/posts/1072541489
กปภ. วางมาตรการสู้ภัยแล้ง ลดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบ กปภ. – เว็บไซต์ การประปาส่วนภูมิภาค ได้เผยแพร่ มาตรการรับมือภัยแล้ง ลดความเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบ โดยมี 3 มาตรการดังนี้ 1. ด้านแหล่งน้ำดิบ มุ่งเน้นให้ กปภ.ทุกสาขามีปริมาณน้ำดิบที่มีคุณภาพเพียงพอ ตลอดฤดูแล้ง รวมทั้งมีการสำรวจและประเมินแหล่งน้ำดิบเพื่อทำแผนจัดการแหล่งน้ำ 2. ด้านการผลิตและจ่ายน้ำ รักษาปริมาณน้ำดิบที่คงอยู่ให้สามารถผลิตน้ำประปาได้ตลอดฤดูแล้งและจัดเตรียมกำลังคน รถยนต์บรรทุกน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งาน 3. ด้านการช่วยเหลือประชาชน เตรียมพร้อมบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ นำรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ ทั้งในและนอกเขตบริการ
ทีเอ็มบี เผย “วิกฤตไวรัส-งบล่าช้า-ภัยแล้ง” ถ่วงเศรษฐกิจไทยสูญกว่า 2.8 แสนล้าน วันที่ 5 ก.พ. ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics (ทีเอ็มบี อนาลิติกส์) เผยเศรษฐกิจไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของงบประมาณปี 2563 และภัยแล้งรุนแรง สร้างความเสียหายกว่า 2.8 แสนล้านบาท ฉุดเศรษฐกิจร่วงโตแค่ 1.7- 2.1% จากเดิมคาด 2.7% “วิกฤตไวรัสส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและส่งออกไทยเสียหาย 1.5 แสนล้านบาท” สถานการณ์ล่าสุดองค์การอนามัยโลกประกาศการระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นภัยฉุกเฉินสากล (PHEIC) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไม่ให้ลามไปทั่วโลก และรัฐบาลจีนยังเดินหน้าใช้มาตรการป้องกันการลุกลามอย่างเข้มงวด ทำให้เรายังคงประเมินในผลกระทบความรุนแรงจากไวรัสครั้งนี้อยู่ในวงจำกัด โดยผลกระทบรุนแรงจากการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน และการส่งออกไปจีนจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรก และมีแนวโน้มปรับดีขึ้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 2563 อยู่ที่ 38.7 ล้านคน รายได้ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวข้องลดลง 1 แสนล้านบาท รวมทั้งยอดส่งออกไปจีนจะลดลง 2.8 หมื่นล
ลดโลกร้อน “เทสโก้ โลตัส” ติดแผงโซลาร์เซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้เองเพิ่มอีก 19 สาขา เทสโก้ โลตัส เริ่มผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาร้านค้าของเทสโก้ โลตัส เพิ่มอีก 19 สาขา ส่งผลให้ปัจจุบันมีแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาสาขารวม 27 แห่ง และบนหลังคาศูนย์กระจายสินค้าอีก 5 แห่ง ทำให้ในขณะนี้ เทสโก้ โลตัส มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด 36.5 กิกะวัตต์ชั่วโมงตลอดทั้งปี ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 21,243 ตันต่อปี ทั้งนี้ กลุ่มเทสโก้ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 กระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด 100% จะต้องมาจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสู่การเป็นธุรกิจปลอดคาร์บอนภายในปี 2050
ปีนี้น้ำน้อย! กรมส่งเสริมการเกษตร แนะ ลดทำนา หันมาปลูกพืช 4 กลุ่มนี้แทน เมื่อวันที่ 15 ม.ค. เพจ ประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า ขณะนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้อย จึงขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรลดการปลูกข้าว รอบที่ 2 และหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกช่วงฤดูแล้งทดแทน สำหรับพืชใช้น้ำน้อยที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกช่วงฤดูแล้ง คือ พืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว (ข้าวใช้น้ำ 1,000-1,500 ลบ.ม./ไร่/ฤดูการผลิต) เช่น พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ใช้น้ำประมาณ 300-800 ลบ.ม./ไร่/ฤดูการผลิต ข้อควรคำนึงในการเลือกพืชน้ำน้อย เพื่อลดหรือทดแทนการปลูกข้าว ในช่วงวิกฤตภัยแล้ง คือ เป็นพืชที่สร้างรายได้ บรรเทาความเดือดร้อนช่วงภัยแล้ง มีตลาดรองรับแน่นอน เป็นพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกร สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูแล้ง ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อประโยชน์ในการจัดการ ด้านการผลิต การตลาด และสินเชื่อ กลุ่มพืชและชนิดพืชที่สามารถเพาะปลูกได้ช่วงภัยแล้ง ได้แก่ กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองฝักสด และถั่วลิ
กรมทางหลวง ลุยแจกน้ำ 717,200 ลิตร บรรเทาแล้งทั่วประเทศ ดับปัญหาไฟป่าข้างทาง 42 แห่ง แจกน้ำแก้ภัยแล้ง – ที่เพจ กรมทางหลวง ได้เผยแพร่ข่าวว่าด้วยเรื่อง รัฐมนตรีศักดิ์สยามเผย ประชาชน – หน่วยงานทั่วประเทศ ขอสนับสนุนน้ำดื่ม – น้ำใช้ 717,200 ลิตรและดับไฟป่าข้างทางแล้ว 42 แห่ง โดยกำชับหน่วยงานในสังกัดเข้าช่วยเหลือรวดเร็วเต็มที่ ด้านกรมทางหลวงรับลูก ปรับแผนรายวัน เตรียมเครื่องจักร ยานพาหนะ และบุคลากรพร้อมช่วยเหลือตลอด 24 ชม. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากได้มอบนโยบายให้กรมทางหลวงและหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ ทั้งสำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวง บรรเทาความเดือดร้อนการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่เกิดจากปัญหาภัยแล้งแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทศ ผ่านการประสานความร่วมมือกับการประปาส่วนภูมิภาคในโครงการ “กรมทางหลวง – การประปาส่วนภูมิภาค รวมใจต้านภัยแล้ง” พบว่า ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน (12 มกราคม 2563) ได้สนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับความเด