มธ.
มธ. เผยผลวิจัยคนขับ “เรียกรถผ่านแอป” ชี้อุปสรรคขึ้นทะเบียน ชง 3 แนวทางแก้กฎหมาย ปลดล็อกเศรษฐกิจดิจิทัล กรุงเทพฯ (29 พฤษภาคม 2567) — สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ สว.มธ. (TU-RAC) โดย ผศ.ดร.สุทธิกร กิ่งเเก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัย เผยผลงานวิจัยในหัวข้อ “ความท้าทายของคนขับผู้ให้บริการรับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย” (Ride-Hailing Drivers’ Challenges in Thailand) ซึ่งได้ศึกษาประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ “เรียกรถผ่านแอป” ของคนขับในยุคปัจจุบัน พบคนขับเกือบครึ่ง (49%) ใช้รถยนต์ติดไฟแนนซ์ ขณะที่ 47% ใช้รถยนต์ที่ไม่ได้มีชื่อตนเองเป็นเจ้าของให้บริการ จึงทำให้ไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนฯ กับกรมการขนส่งทางบกได้ โดยคนขับส่วนใหญ่กว่าสองในสาม (71%) อยากให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีตัวเลือกประกันภัยสำหรับรถยนต์ที่ให้บริการเรียกรถผ่านแอป ที่เทียบเท่ากับประกันส่วนบุคคล กว่าครึ่ง (52%) อยากให้มีการลดขั้นตอนและปรับปรุงกระบวนการจดทะเบียนให้สะดวกมากขึ้น และ 47% เสนอให้มีการปรับระเบียบเพื่ออนุญาตให้คนขับที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรถสามารถจดทะเบียนได้ ผศ.ดร.สุ
เครื่องฆ่าเชื้อโรคอัจฉริยะฯ มธ. คว้ารางวัล การประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 48 “เครื่องฆ่าเชื้อโรคอัจฉริยะ สำหรับฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์พืช และธัญพืช” คว้ารางวัลเหรียญทองแดง ผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 48 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เครื่องฆ่าเชื้อโรคอัจฉริยะ สำหรับฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์พืช และธัญพืช ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับลดการปนเปื้อนจากเชื้อ อันเป็นสาเหตุโรคในเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ คิดค้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งนวัตกรรมนี้ สามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในเมล็ดพันธุ์พืชแบบอัตโนมัติ ได้ตั้งแต่ 1-95 องศาเซลเซียส โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิในแต่ละจุดไม่เกิน ± 0.1 องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุมอุณหภูมิเป็นแบบ Microprocessor Controller เครื่องฆ่าเชื้อโรคอัฉริยะตัวนี้ ผลิต Container จากสเตนเลสสตีล สำหรับแช่เมล็ดพันธุ์พืชด้วยน้ำร้อน สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี และมี
โบกมือลา! ยิ้มสู้คาเฟ่ สาขานิติฯ มธ. เปิดขายวันสุดท้าย 30 พ.ย. นี้ วันที่ 11 พ.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ Thammasat TODAY ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ เตรียมปิดตัวลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 นี้ เนื่องจากหมดสัญญาในการเช่าพื้นที่กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ยังคงเปิดทำการอีกสาขาที่ซอยอรุณอมรินทร์ 39 ต่อมา เพจ Yimsoo Cafe ยิ้มสู้คาเฟ่ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “#LastCupforNewBeginning สาขาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขยับเวลา จากทุกวันอาทิตย์ เป็นทุกวันเสาร์ เริ่ม เสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน นี้ แล้วมาพบกัน 12.00-15.00 น. มาพูดคุยและจิบกาแฟกับ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กันนะคะ หากใครไม่สะดวกเสาร์ที่ 14 นี้ ยังมีเสาร์ที่ 21 และ 28 พฤศจิกายน มาอุดหนุนร้านยิ้มสู้คาเฟ่ สาขาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กันนะคะ” อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง ร้านกาแฟคนพิการ โพสต์เศร้า พ่ายแพ้ระบบนายทุน ต้องปิดตัวย้ายออกจาก ม.ดัง ยิ้มสู้ บทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวง ร.9 สู่คาเฟ่ สู้ชีวิตของคนพิการ “คนตาบอดทำงานได้ทุกอย่าง” วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นักสู้เพื่อคนพิการ เปิดชีวิตบาริสต
พ่อค้ากางเกงนักสู้ เบนเข็มขาย ‘ข้าวแกงออนไลน์’ สูตรแม่ยาย ส่งเองไม่ง้อแกร็บ! นักศึกษา มธ. ที่ขณะนั้นศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 แต่สามารถสร้างรายได้หลักล้านให้ตัวเองใน 2 ปี มียอดไลก์เพจกว่าสองแสนคนภายใต้ธุรกิจ “สมหมายขายกางเกง” ธุรกิจสตาร์ตอัพออนไลน์ ที่เริ่มต้นด้วยเงิน 1,600 บาท กับกางเกง 6 ตัว เรื่องราวของ คุณน็อต-ชนะชัย พฤกษชัต เคยสร้างความประทับใจบนเว็บไซต์เส้นทางเศรษฐีออนไลน์มาก่อนแล้ว เมื่อปี 2016 ตอนนั้นเขาเล่าถึงไอเดียการทำธุรกิจให้ฟังว่า ผุดขึ้นมาในระหว่างไปเดินตลาด แล้วหากางเกงที่ถูกใจไม่ได้ เลยกลับมาบ้านค้นหาบนอินเตอร์เน็ต กลายเป็นโอกาสให้เริ่มทำธุรกิจขึ้นมา และตอนนี้ ปี 2020 กลับมาอัพเดตเรื่องธุรกิจกับคุณน็อตอีกครั้งในวัย 24 ปี เป็นช่วงเวลาที่ต้องปรับตัวสู้กับโควิด-19 “ตอนนี้ธุรกิจเติบโตขึ้น หลังจากที่ขายออนไลน์มาหลายปี เมื่อปี 2018 เรามีหน้าร้านเป็นของตัวเองที่ยูเนี่ยนมอลล์” “ส่วนรายได้ ตั้งแต่ปี 2016 ตัวเลขยังแตะหลักล้านต่อเดือนมาทุกๆ ปี ลากยาวมาเดือนมกราคม ปี 2020 ได้หลักล้านเหมือนกันแต่ไม่คุ้มทุน เพราะเรามีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งค่าเช่าออฟฟิศ และจ้างพนักงานเ
ศิษย์เก่า มธ. วัย 83 แวะฝาก “เครื่องม้าฮ่อ” เมนูโบราณ คนแห่สั่งเพียบ! เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก จุลประชา สุนทรศารทูล โพสต์ฝากร้านใน กลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เเละการฝากร้าน ซึ่งจัดตั้งโดยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัย ให้เป็นพื้นที่สำหรับขายของ ฝากร้าน หารายได้ช่วงโควิด-19 โดย ผู้ใช้เฟซบุ๊ก จุลประชา สุนทรศารทูล เป็นศิษย์เก่าอีกหนึ่งท่าน ที่ปัจจุบันมีอายุ 83 ปี โพสต์ฝากผลิตภัณฑ์ เครื่องม้าฮ่อ ของกินโบราณหาทานยาก ซึ่งโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก “สวัสดีครับ ผม จุลประชา สุนทรศารทูล รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration จำรุ่นไม่ได้ ตอนนี้อายุ 83 แล้ว เพื่อนร่วมรุ่นคนไหนยังอยู่และจำได้ ทักทายกันมาหน่อยนะครับ ผมทำงานในสายการเงินการธนาคาร หลังเกษียณก็ยังมีงานที่ปรึกษาอยู่เรื่อยๆ 5 ปีหลังมานี้ ผมเปิดโรงแรมและร้านอาหารกับลูกสาว ในที่ดินเก่าของครอบครัว ชื่อบ้านใน Baannai the Reminiscence จากความชอบบ้านสไตล์โคโลเนียลของลูกสาว ซึ่งเป็นอินทีเรียดีไซเนอร์ และเขาอยากจะเก็บความทรงจำเกี่ยวกับบ้านและคุณยายเอาไว้ เลยออกมาเป็นโรงแรมและร้านอาหาร ชื่อบ้านใน
ทางรอด! เจ้าของที่พักเมืองกาญจน์ ชวน พนง. ขับรถพุ่มพวง วิ่งขายกับข้าวราคาถูก ไกลแค่ไหนก็บ่ยั่น 3199 คือชื่อหมายเลขทางหลวง ที่ต่อมา กลายเป็นชื่อธุรกิจ “3199 Kanchanaburi” ที่พัก แคมปิ้ง คาเฟ่ ร้านอาหาร ร้านตัดผม สระว่ายน้ำ ทำสวน และเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตช่วงฤดูหนาว บนที่ดิน 60 ไร่ ของครอบครัว โดยมี คุณป๊อก-ธนพล วงษ์พร้อมมูล อายุ 30 ปี เป็นเจ้าของกิจการ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ติดต่อไปยังคุณป๊อก เพราะชอบในไอเดีย “รถพุ่มพวง” ที่เขานำมาเป็นแนวทางปรับตัวสู้กับวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม “ตอนนี้ธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว เติบโตขยับขยายขึ้นมาตลอด จะคึกคักมากช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ส่วนใหญ่จะเป็นแนววัยรุ่น และกลุ่มครอบครัว เพราะเรามีสระว่ายน้ำใหญ่ให้คนมาโดดมาตั้งแคมป์ กินหมูกระทะ ผมรับรู้สถานการณ์โควิด-19 มาเรื่อยๆ หาวิธีปรับตัวมาก่อนแล้ว เช่น เอาขนม น้ำชงจากคาเฟ่ ขนมกล้วยเบรกแตกไปขายที่ตลาดนัด เพราะรายได้เริ่มน้อยลง ลูกค้ายกเลิกบุ๊กกิ้งเราต้องคืนเงิน แต่ทุกอย่างหยุดนิ่งเมื่อทางผู้ว่าฯ ประกาศให้ธุรกิจประเภทที่พัก ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติ ร้านทำผม สระว่ายน้ำ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องปิ
มธ.ปรับอาคารดีลักซ์เป็น รพ.สนาม รับผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยัน ปลอดภัย ไม่กระทบนักศึกษา เมื่อวันที่ 23 มี.ค. นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต ผู้จัดการโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก Prinya Thaewanarumitkul ชี้แจงเรื่อง การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต “ตามที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้ร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ 5 สถาบันคือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังรุนแรงมากขึ้น และระบบสาธารณสุขโดยปกติอาจจะไม่เพียงพอในการรักษา โดยได้ขอใช้อาคารดีลักซ์ ซึ่งเป็นอาคารหอพักบุคลากรและบุคคลภายนอก เป็นสถานที่ในการดำเนินการ ตามที่เป็นข่าวแล้วนั้น ในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิตที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ ผมใคร่ขอชี้แจงให้ปร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กของศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แจ้งเลื่อนวันพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า วันพระราชทานปริญญาบัตรของมธ. ปีนี้ เลื่อนขึ้นเร็วขึ้น 1 อาทิตย์ จากเดิม 20-21 พ.ย.2559 เป็นวันที่ 12-13 พย.2559 ซ้อมรวมวันที่ 5 พ.ย. และซ้อมใหญ่วันที่ 6 พย.2559 ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์