มนุษย์ดมกลิ่น
กรมควบคุมมลพิษ เปิดสอบ ‘มนุษย์ดมกลิ่น’ รายได้ดี ค่าตอบแทนตัวอย่างละ 600 บาท เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 63 นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ทส. มีการกำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสีย ที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยบังคับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม 24 ประเภท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต โรงงานผลิตยาง และสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยได้กำหนดวิธีการ ตรวจวัดกลิ่น ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (Sensory test) และการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของ คพ. ซึ่งสาระสำคัญกำหนดให้ คพ. ดำเนินการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่น โดยให้ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ทดสอบกลิ่น พร้อมทั้งให้ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นผู้ทดสอบกลิ่น โดยการขึ้นบัญชีรายชื่อมีอายุ 1 ปี นายประลอง กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ได้ติดตามและให้ความสำคัญกับผู้ที่จะทำหน้าที่มนุษย์ดมกลิ่นเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการร้องเรียนเรื่องกลิ่
วันที่ 16 มิถุนายน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาร้องเรียนเรื่องมลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 60 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ซึ่งปัญหากลิ่นเหม็นจัดเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนเป็นลำดับแรกมาตลอดทุกปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของปัญหาที่มีการร้องเรียนทุกด้าน จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของประกาศ ทส.เรื่อง “กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2553 บังคับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 23 ประเภท โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีการใช้สารเคมีอันตราย ในการผลิต เนื่องจากวิธีตรวจวัดตามประกาศฯ กำหนดให้ใช้วิธีการดมกลิ่น (Sensory test) จมูกของคนดมเพื่อตรวจวิเคราะห์กลิ่น (Panelist) ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ดมกลิ่นจะต้องผ่านการทดสอบและขึ้นทะเบียนผู้ดมกลิ่นจากคพ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (Sensory test) และการขึ้นบ