มลพิษทางอากาศ
PM2.5 ฝุ่นพิษฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย! ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท สภาพแวดล้อมในประเทศไทยตอนนี้ ฝุ่น PM2.5 ปกคลุมเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งส่งผลให้คนไทยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น แต่พิษร้ายของตัวปัญหาอย่าง PM2.5 ไม่ใช่แค่ทำร้ายร่างกายเท่านั้น แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย โดยทางศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดคะเนถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไปว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน สะท้อนจาก ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เฉลี่ยสูงกว่าระดับ 100 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ต่อเนื่องติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ (18-26 มกราคม 2568) ทำให้คนบางกลุ่มต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ คนไทยป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น หนึ่งในปัจจัยกระตุ้นคือ มลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 จากสถิติ พบว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศทั้งหมด 13 โรค ทั่วประเทศมีอย
เชียงใหม่วิกฤต ฝุ่นพิษกลับมาพุ่ง ตัวเลขแดงเถือก ขึ้นที่ 1 โลก อันตรายหลายพื้นที่ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 30 มี.ค. กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ พบว่า ค่าฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน(29 มี.ค.)ทุกพื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดี – มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีแดง 9 พื้นที่ (คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ) สีส้ม 5 พื้นที่ (คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) และสีเขียว 1 พื้นที่ (คุณภาพอากาศดี) ค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 36-239 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) ส่วน ค่า PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 69-279 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานไม่เกิน 120 มคก./ลบ.ม.) โดย กรมควบคุมมลพิษ ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ งดการเผาในที่โล่งเพื่อป้องกันการเพิ่มสูงขึ้นของฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประชาชนอยู่ในพื้นที่ที่ปริมาณฝุ่นละอองมีผลกระทบต่อสุขภาพ ขอให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติ
ฝุ่น เมืองกรุง ยังเกินมาตรฐาน! กรมควบคุมมลพิษ เผย เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ แนะประชาชนติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด กลุ่มเสี่ยงหมั่นสังเกตอาการ หากผิดปกติ รีบพบแพทย์ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 8 ม.ค. กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐาน ได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 51-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบ.ม.) โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ 50 มก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่เกินมาตรฐานที่บริเวณ ได้แก่ บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ, แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ, แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม, ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นน