มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
มสด. จับมือ จตุรภาคีหนุนเมืองสุพรรณ ศูนย์กลางเมืองอาหาร-เกษตรปลอดภัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเดินหน้าขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร จับมือจตุรภาคีหนุนจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรปลอดภัยที่มีมาตรฐาน เพิ่มมูลค่า และเข้าสู่มาตรฐานสากล รวมถึงพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม รศ.ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้อำนวยการโครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร ภายใต้การกำดูแลของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมงานเสวนาการดำเนินโครงการ “สุพรรณบุรีโมเดล…เมืองต้นแบบอาหารปลอดภัยสู่ความยั่งยืน” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567” โดยมี ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ให้เกียรติกล่าวเปิดการเสวนา ว่ากิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นศูนย์กลางของเมืองอาหารและเกษตรปลอดภัย หลังจากดำเนินงานโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดสุพรรณบุรีมาเป็นระยะ
แมน การิน เผยไม่กั๊ก กลุ่มเลขนำโชคแห่งปี ใส่ท้ายแบรนด์ รับรองปัง คุณแมน การิน ศิลปินนักแสดง และนักออกแบบตัวเลขอันดับ 1 ของเมืองไทย ในฐานะวิทยากรอบรมในโครงการ “พลังตัวเลขแห่งความสำเร็จ” ซึ่งจัดโดยศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อไม่นานมานี้ กล่าวตอนหนึ่งถึง กลุ่มตัวเลข “นำโชค” แห่งปี 2567 ว่า 156 หมายถึง งานมั่นคง เงินมั่งคั่ง เหมาะกับ ผู้ที่อยากเลื่อนชั้น ผู้ที่อยากได้คนหนุน ผู้ที่ต้องการชื่อเสียง 246 หมายถึง เสน่ห์-ยอดขายจุกๆ เหมาะกับ อินฟลูเอนเซอร์ สื่อสารมวลชน นักการตลาดออนไลน์ แม่ค้าออนไลน์ 369 หมายถึง โอกาสวิ่งเข้าหา โสดได้เจอคู่/รักหวาน เหมาะกับนักธุรกิจที่หวังต่อยอดธุรกิจ ผู้ที่อยากมีโชค 459 หมายถึง วิชาการดี สุขภาพเด่น มีเงินเย็น เหมาะกับนักเรียน นักศึกษา ผู้ที่เน้นสายวิชาการ ผู้ที่เน้นเสริมสุขภาพ 789 หมายถึง โชคลาภก้อนโต เหมาะกับ สายเสี่ยงโชค ผู้ที่มีธุรกิจขนาดใหญ่ นักลงทุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก 456 หมายถึง การขยายกิจการ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เหมาะกับ ผู้ที่ค้าขายทั่วไป ผู้ที่ลงมือทำแล้วสำเร็จด้วยตนเอง “การใช้ตัวเลขนำโชคแห่งปี 2567 สามารถใส่ต่อท้ายชื
พลังแห่งตัวเลข ส่งผลให้โชคดีหรือสำเร็จได้ เมื่อไหร่ไม่รู้ แต่มีไว้เพื่ออุ่นใจ คุณแมน การิน นอกจากจะเป็นศิลปินนักแสดงแล้ว ยังเป็นนักออกแบบตัวเลขอันดับ 1 ของเมืองไทย ที่ผ่านมา เขาศึกษาศาสตร์แห่งการออกแบบประยุกต์ตัวเลขจนล่าสุดได้รับฉายา แมน แมทจิเชียน (Man Mathgician) ซึ่งหมายถึงนักออกแบบตัวเลขโดยหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขต่างๆ กับเหตุการณ์เฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 เหตุการณ์ขึ้นไป เกิดนัยสำคัญบางอย่างที่น่าสนใจ เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้รับเชิญในฐานะวิทยากรอบรมตามโครงการ “พลังตัวเลขแห่งความสำเร็จ” จัดโดยศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มี ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ทั้งนี้ ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ในรูปแบบ On-Site และ Online จำนวนนับร้อยคน ดร.ณัฏฐนิช สิริสัจจานุรักษ์ รองผู้อำนวยศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในฐานะผู้จัดการโครงการ “พลังตัวเลขแห่งความสำเร็จ” กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจในด้านการบริการวิชาการสังคม พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร เล็งเห็นว่าศาสตร์พลังตั
“หอมขจรฟาร์ม” พื้นที่เกษตรแนวใหม่ เมื่อ “สวนดุสิต” เป็นมากกว่า “มหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) กล่าวถึง HOMKHAJORN FARM หรือ หอมขจรฟาร์ม ว่า มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้พัฒนาและต่อยอดมาจาก “โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ” ซึ่งใช้พื้นที่ของวิทยาเขตสุพรรณบุรี บนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี โดยนำองค์ความรู้จากงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ถ่ายทอดยังเกษตรกรในชุมชน ส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัย ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้ทำความร่วมมือกับจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างเป็นรูปธรรม รศ.ดร.ชนะศึก กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน วิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ใช้พื้นที่โครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ริเริ่มโครงการ HOMKHAJORN FARM หรือ หอมขจรฟาร์ม โดยผสมผสานแนวคิดการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal
ใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด! ม.สวนดุสิต ผลิต “เมล่อน” ปลอดสารพิษ ม.สวนดุสิต ผลิต “เมล่อน” – ดร.กชกร ชำนาญกิตติชัย ผู้อำนวยการสำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) กล่าวถึง ผลผลิตทางการเกษตรเมล่อนในโรงเรือน ว่า โครงการปลูกเมล่อนในโรงเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถือเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติจาก รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้มีประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่ เวลา หรือ คน ซึ่งการปลูกเมล่อนในโรงเรือนใช้พื้นที่ของ บริษัท โรงสีข้าวสวนดุสิต จำกัด จ.ปราจีนบุรี เป็นสถานที่ทำการเพาะปลูก จึงได้ส่งพนักงานของบริษัทโรงสีข้าวสวนดุสิต จำนวน 2 คน ไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง ณ Texas Farm จ.พิษณุโลก โดยมีอาจารย์ณรงค์ บุญมี และ อาจารย์สุมาลา บุญมี เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนกระบวนการปลูกจนถึงกระบวนการเก็บผลผลิตเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือนเศษ ซึ่งผลที่ได้รับเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างมาก ดร.กชกร กล่าวต่อว่า เมล่อนสวนดุสิต เป็นสายพันธุ์กรีนเน็ต เพาะปลูกง่าย ทนต่อโรค ผลเมล่อนรูปทรงกลม ผิวตาข่ายแต่ไม่นูน เนื้อสีเขียว รสหวานจัด กรอบ อร่อย แ
“พิมพ์เค้ก” ร้านเบเกอรี่ของสาวใต้ที่มีใจรักการทำขนม ธุรกิจที่เกิดขึ้นจากความไม่เห็นด้วยของครอบครัว แต่ปัจจุบันสร้างรายได้หลักแสนต่อเดือน ชูจุดขายไม่หวานเลี่ยน จับกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ เบเกอรี่ ขนมที่อบด้วยเตาที่ชาวตะวันตกนิยมรับประทานมานานแล้ว และได้เผยแพร่จนได้รับความนิยมกลายเป็นอาหารหลักประจำวัน มีการพัฒนารูปแบบของขนมออกเป็นอาหาร เค้ก และของหวานต่างๆ และสามารถรับประทานร่วมกับชากาแฟได้ด้วย ปัจจุบันเบเกอรี่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีการพัฒนารูปแบบของขนมอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถรับประทานได้ในทุกโอกาส ทุกเวลา และทุกสถานที่ ด้วยรสชาติความอร่อยและการชอบรับประทานเบเกอรี่ ทำให้หลายคนอาจอยากจะมีร้านเบเกอรี่เล็กๆ เป็นของตัวเอง และอาจเป็นความฝันของใครหลายคนด้วย หนึ่งในนั้นคือ น้องต๊ะ-วัฒนี คงช่วย สาวเจ้าของร้านเบ เกอรี่ที่มีรสชาติกลมกล่อม ไม่หวานเลี่ยน จนเป็นที่มัดใจของคนรุ่นใหม่ตลอดระยะเวลาที่เปิดร้านมาย่างเข้าปีที่ 8 แล้วทำให้มีลูกค้าเจ้าประจำและปากต่อปากเข้ามาชิมกันไม่เคยขาดสาย น้องต๊ะ เล่าว่า ตนเองเรียนจบด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ปัจจุบันค