มหิดล
มหิดล เปิดอินไซต์ คนไทยชอบ ‘เออ-ออ’ พฤติกรรมที่ชอบซื้อสินค้าและกินตามกระแส โดยเฉพาะผู้หญิง และกลุ่มเจน Z วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เปิดอินไซต์ผู้บริโภคในงานสัมมนา การตลาด Marketing on the Move : การตลาดแบบ ‘เออ-ออ’ พฤติกรรมตามกระแสของคนไทยในปัจจุบัน โดยสำรวจด้วยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน และเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ทั้งเพศชาย เพศหญิง และ LGBTQ+ ตั้งแต่ เจน X เจน Y ไปจนถึงเจน Z พบว่า พฤติกรรม ‘เออ-ออ’ คือ พฤติกรรมที่บุคคลตัดสินใจหรือทำบางสิ่งบางอย่างตามคนหมู่มาก โดยที่ตนเองไม่ได้พิจารณาถึงข้อมูลหรือเหตุผลมากนัก คล้ายกับการทำอะไรตามกัน โดยคิดว่าถ้าคนส่วนใหญ่ทำแล้วดี ถ้าตนเองเข้าไปทำด้วย ก็น่าจะดีตามไปด้วย ซึ่งในทางการตลาด เรียกพฤติกรรมนี้ว่า ‘Herd Behavior’ หรือการที่คนกลุ่มใหญ่ทำตามหรือเลียนแบบคนกลุ่มอื่น โดยไม่ได้คิดถึงความเหมาะสมก่อน หรือเรียกง่ายๆ ว่า เห็นคนอื่นซื้ออะไร กินอะไร ก็จะทำตาม ยกตัวอย่าง สายกิน การที่คนพากันไปต่อคิวซื้อโดนัทเจ้าดังอย่างคริสปี้ครีมหรือขนมปังเยาวราช ตั้งแต่ร้านยังไม่เปิด
วิจัยพบ โฆษณาสื่อด้วยโลโก้สินค้า ประสิทธิภาพต่ำสุด ในการรับรู้แบรนด์ จากจุดเริ่มต้นของนักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ซึ่งทำงานเป็นเอเยนซีโฆษณา เผชิญความท้าทายจากพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสื่อโฆษณา และเลือกเปิดรับสื่อที่ตนเองสนใจเท่านั้นของผู้บริโภคในปัจจุบัน หรือภาษาทางการตลาดที่ว่า Skip Syndrome ทำให้ต้องมองหารูปแบบในการโฆษณาใหม่ๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง และได้เลือกนำ “โฆษณาแฝง” (Product Placement) มาใช้ พร้อมกับคำถามที่ว่า กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจดูโฆษณาแฝงนั้นๆ มากน้อยแค่ไหน กลุ่มเป้าหมายมองเห็นโฆษณาแฝงที่สอดแทรกเข้าไปในรายการนั้นๆ หรือไม่ ตลอดจนโฆษณาแฝงรูปแบบใดที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจ และอยากบริโภค หรือใช้บริการตาม เป็นต้น รศ.ดร.พัลลภา ปีติสันต์ อาจารย์ประจำสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากโจทย์ทางธุรกิจดังกล่าวเป็นที่มาของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Cogent Business and Management” ว่า เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานที่ต้องอาศัย องค์ความรู้ทางด้านการตลาด และวิทยาศาสตร์มาใ
น่าเป็นห่วง ผู้ป่วยเด็กภาวะอ้วน เสี่ยงวิกฤตไข้เลือดออก ช่วงเข้าหน้าฝน ในบรรดาประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เช่นประเทศไทย มักหนีไม่พ้นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศเริ่มมีฝนโปรยปราย การถูกกัดโดยยุงที่เป็นพาหะของโรคติดเชื้อไข้เลือดออกอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยถึงขั้นวิกฤต แพทย์หญิงโรจนี เลิศบุญเหรียญ อาจารย์กุมารแพทย์ประจำสาขาเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ขณะนี้หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มมีผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะอ้วนมีอาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออกรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโดยตามธรรมชาติของการระบาดของโรคดังกล่าว มักพบมากขึ้นในช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน และอาการจะเริ่มทรุดลงหลังไข้ลดประมาณ 3-5 วัน นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กที่อยู่ในภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออกที่รุนแรงได้มากกว่าเด็กปกติ เนื่องจากมีการอักเสบของร่างกายที่อาจจะรุนแรงกว่าเด็กปกติ และสังเกตอาการได้ยากกว่า อีกทั้งยังพบ
นวัตกรรมอาหารเสริมโปรตีนสูง เพิ่มมูลค่า ถั่วดาวอินคา ตอบนโยบาย BCG กระแสนิยม “ถั่วดาวอินคา” (Sacha Inchi) ในประเทศไทยมีมานานกว่าทศวรรษแล้ว โดยเป็นที่ยอมรับในฐานะพืชอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งเรียกชื่อตามลักษณะของผลคล้ายรูปดาว นิยมนำเมล็ดในที่มีรูปร่างคล้ายถั่วมาสกัดน้ำมันอันอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสมอง โดยมักทิ้งกาก หรือนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ แม้กากถั่วดาวอินคาจะถูกสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว พบว่ายังอุดมด้วยคุณค่าโปรตีน โดยได้มีผู้ประกอบการหลายรายภายในประเทศไทยนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดผงชงดื่ม แต่ยังพบข้อจำกัดเรื่องกลิ่นของกากถั่วดาวอินคา และการละลายช้าในน้ำ ผศ.ดร.พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เนรมิตกากถั่วดาวอินคาที่ไร้ค่า ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ต่อยอดจากงานวิจัยที่ได้นำเอากากถั่วดาวอินคาไปผ่านกระบวนการสกัดไขมัน พร้อมเสริมด้วยคุณค่าโอเมก้า 3 และพรีไบโอติกส์ครั้งแรก ด้วยกระบว
สู้โควิด คลินิกพิเศษโรคติดเชื้อ ขยายโอกาส ลดขั้นตอน ผู้ป่วยไม่รอคิวนาน วิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้เราได้ทราบถึงสถิติที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม จำนวนผู้ป่วย จำนวนผู้หายป่วย และการสูญเสีย ล้วนมีค่าต่อการเรียนรู้เพื่อนำไปเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตต่อไปในวันข้างหน้า ด้วยบทเรียนจากวิกฤตดังกล่าว ได้ทำให้กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเป็นนโยบายให้ทุกสถานพยาบาลในประเทศไทย ต้องมีหน่วยบริการรักษาโรคติดเชื้อ เช่นเดียวกับที่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยได้จัดตั้ง “คลินิกพิเศษอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ” ขึ้น ไว้ตั้งรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งลดอัตราการติดเชื้อ และการสูญเสีย ตลอดจนโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้ในอนาคต รศ.นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการเปิด “คลินิกพิเศษอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ” นั้น เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์เฉ
ถุงน่อง ช่วยผู้ป่วยหลอดเลือดดำขอด ฝีมือแพทย์ไทย ราคาถูกกว่าของนอก 8 เท่า รศ.ดร.นพ.ณัฐวุฒิ เสริมสาธนสวัสดิ์ อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำสาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “หลอดเลือดดำขอด” เกิดจากการทำงานผิดปกติของหลอดเลือดดำ นอกจากมักพบในผู้ที่ต้องยืนหรือเดินนานๆ แล้ว โดยพบมากในผู้สูงวัย ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย โดยปกติแล้ว เลือดจะไหลจากปลายขาขึ้นสู่หัวใจ แต่ในรายที่หลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ ทำให้เลือดดำไหลย้อนทางลงสู่ขา ทำให้ขาปวดเมื่อย ขาบวม เป็นตะคริวได้ ไปจนถึงในรายที่มีอาการรุนแรง ซึ่งพบได้จากผิวหนังที่มีสีคล้ำ และผิวหนังแข็ง รวมถึงเป็นแผลหลอดเลือดดำที่รักษาได้ยาก การรักษาประกอบไปด้วย การพันขา หรือ สวมถุงน่องรักษาหลอดเลือดดำ แต่ปัญหาที่พบ คือ ถุงน่องโดยทั่วไปใส่ยาก ไม่เหมาะกับผู้มีอาการหลอดเลือดดำขอดที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน โดยผู้มีอาการหลอดเลือดดำขอดที่มีอาการไม่รุนแรง ควรใส่ถุงน่องที่มีแรงดัน 20-30 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่ในรายที่มีอาการรุนแรง ควรใส่ถุงน่องที่มีแรงดั
ถังขยะพูดได้ คัดแยกด้วยเสียง นวัตกรรม ม.มหิดลไม่ทิ้งผู้พิการ ไว้ข้างหลัง ในสังคมแห่งความแตกต่างหลากหลายเช่นปัจจุบัน ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถึงแม้จะมีร่างกายบางส่วนบกพร่องและมักถูกทอดทิ้ง แต่ก็ยังพยายามที่จะใช้ชีวิตอยู่ด้วย “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ในสภาวการณ์ที่ทุกคนต้องอยู่กับตัวเอง และช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดเช่นวิกฤต COVID-19 ที่มาพร้อมกับปัญหาขยะล้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรืออาหารบริการส่งถึงที่ (Delivery) ทำให้มีปริมาณขยะจากหีบห่อภาชนะเพิ่มมากขึ้นเท่าทวีคูณ แม้จะมีการรณรงค์จัดการขยะกันโดยจัดให้มีถังรองรับต่างสี แต่ไม่มีใครเลยที่จะนึกถึงผู้พิการทางการมองเห็น ที่ถึงแม้จะเป็นส่วนน้อย แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่แตกต่างหลากหลาย และมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติเช่นคนทั่วไป รศ.ดร.ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะผู้นำทีมวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรม “ถังขยะพูดได้สำหรับผู้พิการทางการมองเห
คิดค้น ปัญญาประดิษฐ์ ฟังเสียงยุงลาย ช่วยวางแผนป้องกันไข้เลือดออก ปัจจุบัน โรคไข้เลือดออก ได้กลายเป็นโรคประจำถิ่น ที่ขยายขอบเขตพื้นที่การแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ไม่เพียงแต่ในพื้นที่เขตร้อน แต่ยังพบได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นแอ่งหรือมีน้ำขัง ซึ่งกลายเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก แม้แต่พื้นที่เขตหนาว เช่น ในแถบยุโรป ยังพบความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อโลกทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เมื่อเร็วๆ นี้ Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก German Academic Exchange Service (DAAD) และ The Hanse-Wissenschaftskolleg Institute for Advanced Study in Germany สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนจัดการทางสาธารณสุขรณรงค์กำจัดยุงลายเพื่อมวลมนุษยชาติ Professor Dr.Peter Fereed Haddaw
ม.มหิดล ต่อลมหายใจเศรษฐกิจชาติกู้วิกฤต ส่งเสริมผู้สูงวัย เป็นผู้ประกอบการ วันที่ 29 ส.ค. 2564 อาจารย์ ดร.สุเทพ นิ่มสาย หัวหน้าสาขาการจัดการและกลยุทธ์ (Management and Strategy) และสาขาการจัดการธุรกิจอาหาร (Food Business Management) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวในฐานะหัวหน้าทีมผู้สอนรายวิชาอบรมออนไลน์ “ผู้ประกอบการและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจผู้สูงวัย” ทางระบบ MUx ของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่า วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ไม่ได้มุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักบริหารและผู้ประกอบการที่มุ่งหวังผลกำไรแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะพยายามส่งเสริมให้มีทักษะการเป็นนักบริหารและผู้ประกอบการที่มีมุมมองที่มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืน และส่งผลดีต่อสังคมและชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการพึ่งพาตนเองเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค Next Normal ที่เปลี่ยนแปลง และการที่นับวันยิ่งมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงวัยมากขึ้น จึงไม่อาจมองข้ามการขยายตลาดแรงงานสู่กลุ่มประชากรผู้สูงวัย ซึ่งการส่งเสริมให้ผู้สูงวัยได้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการจะเป็นการตอบโจทย์ท
ชุดตรวจ COVID-19 แบบรู้ผลเร็ว ม.มหิดล พัฒนาสำเร็จแล้ว คาดวางจำหน่ายส.ค.นี้ ศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ทางสถาบันฯ ได้สนับสนุนและดำเนินการให้ผลงานชุดตรวจ COVID-19 แบบรู้ผลเร็ว ของภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับการยื่นจดอนุสิทธิบัตร จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนจับคู่ทางธุรกิจกับภาคเอกชน นำไปสู่การพัฒนาจนได้รับการรับรอง นำไปสู่การพัฒนาจนได้การรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และได้มาตรฐานสากล ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะสามารถขยายตลาดไปสู่ในระดับภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป ศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กล่าวต่อว่า ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานโดดเด่นมาตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ที่สามารถต่อยอดเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย ชุดตรวจโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิหอยโข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดตรวจแบบรู้ผลเร็วสำหรับการวินิจฉัยโรคพยาธิเท้าช้าง ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในโครงการควบคุมกำจัดโรคเท้าช้างของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยได้รับการรับรองจาก