มะขาม
จาก “มะขามจี๊ดจ๊าด” สู่ “บ๊วยอบบ๊วย” ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ สร้างยอดขายพุ่งทะยาน 40% แบรนด์ “จี๊ดจ๊าด” ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์เอสเอ็มอีที่สร้างชื่อจนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตมะขามเคี้ยวหนึบที่มีรสชาติอร่อยระดับท็อป จัดจำหน่ายโดย บริษัท 3เอ็ม ฟูด โปรดัก จำกัด ภายใต้การบริหารของ Gen2 วัย 32 ปี อย่าง คุณบะหมี่-ภาสกร เลาหะมณฑลกุล กรรมการผู้จัดการ ได้แตกไลน์สินค้าใหม่ โดยใช้วัตถุดิบอื่นนอกจากมะขาม อย่าง “บ๊วย” มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต เริ่มจากแบบซองขนาด 10 กรัม เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค จึงพัฒนาสู่แบบกระปุกขนาด 40 กรัม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคที่อยากได้ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มวางจำหน่ายเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเช่นเดิม สามารถทำยอดขายได้เท่าสินค้ารุ่นพี่อย่าง มะขามอบบ๊วย แบบกระปุก คุณบะหมี่ เล่าย้อนความให้ฟังว่า คุณพ่อและคุณลุงเริ่มต้นทำธุรกิจมะขามแปรรูปในแบบเม็ดอมเคี้ยวหนึบมาตั้งแต่ปี 2546 โดยสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักคือ มะขามอบบ๊วย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นส
จากเมนูมะขามคลุกของแม่ สู่ บ้านมะขาม สร้างยอดขาย 100 ล้านในเซเว่นฯ จากเมนูแปรรูป มะขามคลุกเสวย ของคุณแม่เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ปัจจุบันกลายเป็นแบรนด์ บ้านมะขาม สุดแกร่ง มีสินค้าวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั่วประเทศ มากถึง 40 รายการ รวมทั้งส่งออกความอร่อยไปไกลกว่า 10 ประเทศทั่วโลก ไม่เพียงเท่านี้ บ้านมะขาม ยังกระจายรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรในชุมชน รอบพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ กว่า 100 ล้านบาทต่อปี ด้วยการรับซื้อมะขามปีละประมาณ 2,000 ตัน เรื่องราวของ บ้านมะขาม เป็นมาอย่างไร มาพูดคุยกับทายาทรุ่น 2 กันได้เลย จากเมนูของแม่ สู่ แบรนด์ บ้านมะขาม สุดแกร่ง คุณเต้น-ธนนท์ โฆวงศ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ทายาทรุ่น 2 เล่าให้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ฟังว่า ย้อนกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน คุณพ่อทำงานด้านสถาปนิก รับเหมา และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ในช่วงนั้นปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ คุณแม่ซึ่งเป็นคนจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้คิดแปรรูปมะขามคลุกแบบไร้เมล็ด หรือมะขามคลุกเสวย เมื่อนำไปวางขายตามตลาดนัดในกรุงเทพฯ ร้านขนมต่างๆ ก็ขายดีมาก จากรายได้เสริม ก็เริ่มกลายเป็นรายได้หลักของบ้
เพิ่มมูลค่า มะขาม ให้กลายเป็น ของอร่อย ลองนำมา แช่อิ่ม ดูสิ! มะขามแช่อิ่ม นับเป็นการแปรรูปและถนอมผลผลิตของมะขามอีกประเภทหนึ่ง ด้วยน้ำตาลหรือน้ำปูนใส อีกทั้งนับเป็นอาหารที่ทำไม่ยาก คนนิยมทานเป็นของว่างกัน หากใครสนใจสร้างรายได้จากการทำมะขามแช่อิ่มขาย ครูตุ๊ก–ขนิษฐา ชัยชาญกุล มีวิธีทำมาฝากกัน โดยวัตถุดิบส่วนผสมและขั้นตอนการทำ ดังนี้ วัตถุดิบและส่วนผสม 1. มะขามยักษ์ 5 กิโลกรัม 2. น้ำสะอาด 3,000 กรัม, 3,500 กรัม และ 3,000 กรัม อย่างละกะละมัง 3. เกลือทะเล 250 กรัม 4. ปูนกินหมาก 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม) 5. น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 3 กิโลกรัม 6. น้ำอ้อย 200 กรัม วิธีทำ 1. นำมะขามยักษ์ใส่กะละมังรอ ตั้งเตาต้มน้ำให้เดือดจัดและนำมาราดลงไปที่มะขาม จากนั้นพักทิ้งไว้จนคลายร้อน 2. นำมะขามยักษ์มาปอกเปลือก โดยใช้ปลายมีดตัดที่ปลายมะขามทั้ง 2 ด้าน เลาะที่รากมะขาม แล้วใช้มีดค่อยๆ ดึงออกมา จะทำให้ปลิ้น ปอกเปลือกได้ง่าย 3. เมื่อปอกเปลือกมะขามออกหมดแล้ว ให้นำมาแช่ทิ้งไว้ในน้ำสะอาดก่อน ป้องกันเนื้อมะขามเปลี่ยนเป็นสีดำ 4. มาทำน้ำเกลือดอง โดยนำน้ำสะอาด 3,000 กรัม และเกลือทะเล 250 กรัม (ต่อมะขาม 5 กิโลกรัม) เทใส่รวมก
เคยกินยัง?! “สเปรดเมล็ดมะขาม” ไอเดียสร้างมูลค่าของเหลือให้กินได้ ผีมือเด็ก มธ มะขาม – มะขาม นับเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย โดยประเทศไทย ถือเป็นผู้ส่งออกมะขามรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตมะขาม มากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งบริเวณที่นิยมปลูกมะขาม มีทั้งภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ แพร่ น่าน ลำปาง พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พะเยา , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย มุกดาหาร นครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ หนองคาย สกลนคร นครพนม อุดรธานี ขอนแก่น หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และ สระแก้ว ส่วนจังหวัดที่ปลูกมะขามหวานและมีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศ คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่มะขามของไทย มักจะถูกส่งออกในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นทั้งมะขามสด มะขามเปียก และมะขามแห้ง รวมถึงมะขามแปรรูปต่าง ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมนำไปแปรรูป ไม่ว่าจะเป็น มะขามหวานอบแห้งไร้เมล็ด, มะขามคลุกน้ำตาล, มะขามแช่อิ่ม หรือแปรรูปเป็นสินค้าจำพวกซอสมะขาม น้ำมะขามเปียก และน้ำมะขามชงดื่ม เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์มะขามแปรรูปเหล่านี้ ถือเป็นสินค้าที่ทานได้ทุกเพศทุกวัย เหมาะกับเทรนด์รัก
อดีตข้าราชการ หารายได้หลังเกษียณด้วยอาชีพเกษตร “ปลูกไม้ผล – เลี้ยงปลา” สร้างรายได้ทุกวัน คุณถาวร งานยางหวาย อยู่บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 4 ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานรับราชการเมื่อครบกำหนดวัยเกษียณ ปี 2550 จึงได้เริ่มใช้เวลาว่างมาทำสวนปลูกไม้ผลแบบผสมสานอย่างจริงจังเมื่อปี 2551 “ก่อนที่จะตัดสินใจทำเกษตร จะปลูกต้นไม้ หรือเลี้ยงปลา จะดูก่อนว่าเราจะทำอะไรได้มากที่สุด ก็เลยตกลงใจเลี้ยงปลา ส่วนพื้นที่ที่เหลือบนขอบบ่อ ก็จะปลูกพืชผัก ไม้ผลไว้ ก็จะมีมะขาม มะนาว ที่สามารถเก็บผลผลิตขายได้ ซึ่งจะมีการไปหาความรู้ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ก็จะเข้าอบรมกับหน่วยงานที่เขาเปิดสอน และก็นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับพื้นที่ที่เรามีอยู่” คุณถาวร กล่าว ต้นมะนาวที่ปลูกไว้เก็บผลขาย ปลาที่เลี้ยงภายในบ่อส่วนใหญ่จะเป็นปลานิล ปลาสลิด และปลาตะเพียน โดยนำปลาเหล่านี้มาปล่อยแบบเลี้ยงเชิงธรรมชาติ ปลาก็ขยายพันธุ์ออกลูกมากมาย สามารถจับขายทำเงินได้เป็นที่น่าพอใจ ต่อมาอยากเลี้ยงแบบจริงจังมากขึ้นจึงได้ไปติดต่อขอซื้อลูกพันธุ์จากแหล่งเพาะเพื่อนำมาปล่อยเลี้ยงเป็นเชิงการค้า ก่อนที่จ
มะขามอ่อนฝักเล็กๆ เริ่มปรากฏตัวตามตลาดสดมาพักใหญ่แล้วนะครับ คนไทยและผู้คนในอุษาคเนย์กินมะขาม (tamarind) หรือ “หมากขาม” กันมานาน มันเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เราคงไม่ต้องสาธยายความอร่อยของยอดอ่อน ฝักอ่อน ฝักกลางอ่อนกลางแก่ (คาบหมู) มะขามเปียก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ไม่ต้องพูดถึงเม็ดอ่อนที่เด็กชอบกินเล่น เม็ดแก่ที่เอาไปคั่วกิน หรือผสมชงกาแฟแบบท้องถิ่น และเนื้อไม้ที่ใช้ทำเขียงคุณภาพดีได้อีก แน่นอนว่าสำรับมะขามๆ ที่เราคุ้นชิน ก็คือแกงส้มพื้นบ้านแบบภาคกลาง ที่เปรี้ยวด้วยน้ำคั้นมะขามเปียก ยังมีสูตรต้มโคล้งที่ใช้น้ำต้มฝักกลางอ่อนกลางแก่ ได้น้ำสีเขียวอ่อนข้นๆ ที่ให้รสเปรี้ยวโปร่งชื่นใจ ไหนจะยำใบมะขามอ่อน และน้ำพริกมะขามสด-มะขามเปียก ทั้งแบบผัดและไม่ผัดน้ำมัน เรียกว่ามากมายนับไม่ถ้วนทีเดียว น้ำพริกมะขามสดทำง่ายๆ ด้วยการเอาฝักมะขามอ่อนที่หาได้มากในช่วงนี้มาล้าง ขัดคราบผิวแดงๆ ออกบ้าง เอาลงตำในครก ใส่เกลือเล็กน้อย ด้วยวิธีนี้ สีมันจะไม่ดำครับ ตักออกใส่ถ้วยพักไว้ก่อน ทีนี้ก็ตำหอมแดง พริกขี้หนู กระเทียม กะปิ น้ำตาลปี๊บให้ค่อนข้างละเอียด ตามด้วยมะขามที่ตำไว้แล้วลงไปคลุก ชิมรสเปรี้ยวนำ เผ็ดเค็
คงไม่ต้องอ้างอิงเอาหลักฐานเค้าความมาบอกกล่าวกันอีก เรื่องมะขามที่มีมาเป็นตำนานพืชผล ที่เป็นทั้งพืชสมุนไพร เป็นทั้งไม้ผลพืชสวน เป็นพืชผักประจำครัวและมื้ออาหาร เป็นแม้แต่ลูกอม ขนมหวานของขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม อีกสารพัดที่ผู้คนทั่วไปได้รู้จัก แม้แต่ได้เคยชิม ซื้อ พบเห็น หรือเคยปลูกกันมาแล้ว ถึงต้องบอกว่า คงไม่ต้องหาหลักฐานอ้างอิงมาบอกกล่าวเล่าความกันอีก เชื่อเหลือเกินว่า แค่กล่าวถึง “มะขาม” ทุกคนรู้กันแล้ว และเวลานี้คงนึกเปรี้ยวปาก อยากออกไปซื้อหา หรือว่าออกไปเด็ดสอยมะขามอ่อนจากต้นข้างรั้วมาจิ้มกะปิ น้ำปู พริกเกลือ เอามะขามสดมาตำน้ำพริก มะขามดองแช่อิ่มมาแกล้มเหล้า หรือหามะขามเปียกมาใส่ปรุงแกงส้ม แม้แต่ลูกอมมะขาม แก้ง่วงเวลาขับรถ มะขามที่เรารู้จักกันมีอยู่ 2 อย่าง คือ มะขามเปรี้ยว กับมะขามหวาน เรื่องมะขามหวานที่ระยะหลังๆ ไม่หวาน เพราะราคาผลผลิตไม่ได้ใจเลย จากกิโลละเป็นร้อยสองร้อย เหลือไม่ถึง 50 บาท ชาวสวนมะขามหวานที่สู้ทนเห่อปลูกตามความนิยมเมื่อห้าปีสิบปีก่อน มาตอนนี้ชักยิ้มไม่หวานแล้ว ด้วยเหตุผลหลายอย่างที่ต้องทำใจให้ได้ โดยเฉพาะมะขามอินทรีย์ ที่ไม่มีใครกล้าการันตีในความปลอดภัยได้มาตรฐานอ
เรื่องโดย เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ ภาษาอังกฤษเรียกมะขามว่า tamarind ภาคกลางเรียกมะขาม ภาคใต้เรียกขาม โคราชเรียกตะลูบ กะเหรี่ยงจังหวัดกาญจนบุรีเรียกม่วงโคล้ง อิสานเรียกหมากขาม ไกลจากไทยออกไป มาลายูเรียกอาซาม เยอรมันเรียกทามาราย เสปนและอิตาลีเรียกทามารินโด อินเดียเรียกอะมะลา จีนเรียกซวนโต้ว เพราะนำเข้ามาปลูกนาน คนท้องถิ่นในไทยรู้จักกันดี จึงนำชื่อมะขาม มาตั้งเป็นชื่อท้องถิ่น เช่นอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ที่อื่นๆก็เช่นบ้านหนองขาม บ้านนาขาม กุดนาขาม มะขามล้ม คลองมะขามเฒ่า การแพร่พันธุ์ของมะขามยุคแรกๆ ใช้เมล็ดเป็นหลัก ถือว่าสะดวกที่สุด อย่างค้นพบว่า มะขามที่จังหวัดนนทบุรี มีคุณสมบัติดีเด่น เมื่อคนจังหวัดนครพนมมาพบเข้า ก็นำเมล็ดใส่กระเป๋ากางเกง ไปปลูกยังท้องถิ่นของตนเอง ส่วนใหญ่แล้ว ต้นที่ปลูกด้วยเมล็ดจะมีลักษณะแตกต่างออกไป มะขามแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือมะขามหวานกับมะขามเปรี้ยว ซึ่งจริงๆแล้วมะขามทั้งสองประเภทตีคู่กันมา แต่ระยะกลางๆ มะขามหวานดูจะมีชื่อเสียงมากกว่า พุ่มใบแน่นหนาของมะขาม มะขามเปรี้ยว เปรียบดังลูกเมียน้อย มักถูกเจ้าของพิจารณา ตัดโค่นไปทำเขียงเสมอ เมื่อถึงอายุขัย พบปร