ยา
เปิดตำนานยาสมุนไพร โบว์แดง ภูมิปัญญาไทย ที่ได้ขายในเซเว่นฯ จากร้านขายยาย่านบางกะปิ ที่ประสบความสำเร็จ สามารถขยายสาขาไปต่างจังหวัดได้ แม้จะสะดุดเพราะปัญหาสุขภาพรุมเร้า แต่ก็ไม่เคยท้อ เพราะความมุ่งมั่นตั้งใจ จึงหยิบเอาปัญหาของลูกค้าที่พบเจอในร้านขายยามาเป็นแนวทางต่อยอดธุรกิจ ชื่อว่า ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรโบว์แดง เจ้าของรางวัลเซเว่นอีเลฟเว่น เอสเอ็มอีไทยยั่งยืน 2562 ประเภท SMEs ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ คุณนรเทพ เชาวน์วิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างขายยาห้องยาเภสัช เล่าถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรโบว์แดง ให้ฟังว่า หลังเรียนจบการศึกษาด้านเทคนิคการแพทย์ ได้เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ และย้ายมาทำงานต่อที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ก่อนผันตัวมาประกอบอาชีพพนักงานขายยา เพราะเห็นว่ามีรายได้ดี ด้วยอยากมีรายได้เลี้ยงครอบครัวมากขึ้น จึงได้เปิดร้านขายยาชื่อ ห้องยาเภสัช ในปี 2545 ย่านบางกะปิ “กิจการร้านขายยาของเราดำเนินไปได้ด้วยดี จนสามารถขยายสาขาไปเปิดที่จังหวัดนครราชสีมา ในแต่ละวันจะมีคนมาถามหายาว่านชักมดลูกแบรนด์ดัง มาถามสัก 10 คน ซื้อแค่คนเดียว เพราะราคาสูง จึงมา
เปิดวิธีสังเกต “ยาเสื่อมคุณภาพ” ตรวจสอบเองได้ ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน ยาเสื่อมคุณภาพ – หลายครั้งหลายคราที่ยาสามัญประจำบ้านที่เก็บไว้ใช้ยามป่วยไข้ ถูกเก็บไว้นานจนลืม พอจะนำมาใช้ทีก็ดันหมดอายุไปเสียอย่างนั้น เว็บไซต์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ได้แนะนำวิธีการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่สามารถทำได้เอง เพื่อสังเกตยาเสื่อมสภาพ ไว้ดังนี้ ยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เช่น ที่แผงยา ซองยา เป็นต้น กรณีที่ระบุเฉพาะเดือนและปีที่หมดอายุ วันหมดอายุจะเป็นวันสุดท้ายของเดือน ยาแบ่งบรรจุล่วงหน้า (pre-pack) จะมีอายุการใช้งาน 1 ปี นับจากวันที่แบ่งบรรจุ ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้ มีอายุ 3 ปีนับจากวันผลิต ยาน้ำที่มีสารกันเสียทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอก หากเปิดใช้แล้วมีอายุไม่เกิน 6 เดือน การเก็บรักษายาจะต่างกันไปตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้ง โดยทั่วไปหลังผสมจะมีอายุได้ 7 วัน หากเก็บที่อุณหภูมิห้อง และ 14 วัน หากเก็บในตู้เย็น เนื่องจากไม่มีสารกันเสีย ยาน้ำเชื่อม หลังเปิดใช้ควรเก็บไว้ไม่เกิน 1 เดือน และเก็บที่อุณหภ
สถาปนิกหนุ่ม เบนเข็ม ทำครีมสารพัดสมุนไพร บรรเทาอาการปวดเมื่อย เจาะกลุ่มผู้สูงอายุ คุณเจ๋ง-ภูมิพัฒน์ ธนาลภัสไพศาล ผู้ก่อตั้ง บริษัท พนาวารีไพศาล จำกัด หนุ่มสถาปัตย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จับพลัดจับผลูมาเป็นเจ้าของธุรกิจครีมบรรเทาอาการปวดเมื่อยแบรนด์ Botamed (โบทาเมด) ชายหนุ่มเล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นว่า ช่วงทำงานเป็นสถาปนิก รับงานค่อนข้างหนัก ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ส่งผลให้เกิดอาการป่วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาอยู่นานหลายเดือนจนต้องหยุดพักงาน เมื่อหายกลับมาเป็นปกติ ก็ไม่ได้กลับไปทำอาชีพเดิมเพราะกลัวว่าร่างกายจะทนไม่ไหว โดยช่วงที่หยุดพักงาน คุณเจ๋งไม่ได้ปล่อยตัวเองให้ว่าง แต่ใช้เวลาว่างไปลงเรียนคอร์สธุรกิจ ศึกษาธรรมะ และฮวงจุ้ย จึงรู้ว่าเป็นคนธาตุไม้ ทำธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพรน่าจะรุ่ง เห็นว่ายาบรรเทาอาการปวดเมื่อยเป็นที่ต้องการของตลาด บวกกับเป็นคนชอบเดินทาง เจออาการปวดเมื่อยบ่อย จึงตัดสินใจทำธุรกิจนี้ “ช่วงแรกทำคนเดียว ได้ครอบครัวมาช่วยบ้าง นำเงินเก็บที่ได้จากอาชีพสถาปนิกมาลงทุน หานักวิจัยฝีมือดีมาช่วยทำ ซื้อสินค้าที่มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยทุกยี่ห้อในตลาดมาทดลองใช้ ทั้งดังและไม่ดัง ศึกษา
ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) แถลงข่าวเรื่อง “เตือนภัยยาที่มีพิษต่อตับ” ว่า ภาวะตับอักเสบ เป็นภัยสุขภาพที่หลายครมองข้าม ซึ่งมีทั้งชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน โดยสาเหตุเกิดจากยาหลายชนิด โดยเฉพาะคีโตโคนาโซล ยาฆ่าเชื้อรา ชนิดรับประทาน และพาราเซตามอล ซึ่งพาราฯ เป็นยาลดไข้ที่ดีที่สุดที่มีการใช้ในปัจจุบัน แต่ที่ต้องเตือนเพราะหากรับประทานไม่ถูกวิธี เกินขนาดเป็นเวลานานจะเกิดพิษต่อตับๆ ล่าสุดมีรายงานว่าเกิดปัญหาในเด็กมากขึ้น ทั้งเจตนาฆ่าตัวตายและอุบัติเหตุกินเกินขนาด กว่า 1 พันคนต่อปี อายุน้อยสุด 1 ขวบ เพราะพ่อแม่ ให้ยาลดไข้พาราฯ เกินขนาด ส่วนหนึ่งมาตากฉชากยาไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบว่าปริมาณที่รับมากเกินไป ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา( อย.) แจ้งว่าจะมีการทบทวนตั้งแต่ 2557 แต่ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนยาคีโตโคนาโซนล่าสุดบริษัทผู้ผลิตได้ทำเรื่องขอยกเลิกยาในหลายประเทศ และอยู่ระหว่างการเรียกคืนเนื่องจากมีพิษต่อตับมากเช่นกัน แต่ในส่วนของประเทศไทยยังมีการใช้อยู่ถึง 89 ทะเบียนยา รศ.พญ.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ คณะแพทยศาสตร์ ม