ยืมเงิน
คนมาขอยืมเงิน ปัญหากวนใจคนมีตังค์ รู้ไหม ขอยืมตั้งแต่ 2 พันบาท ต้องทำสัญญานะ! เรื่องของ เงินๆ ทองๆ นั้นไม่เข้าใครออกใคร นอกจากเป็นสิ่งจำเป็นที่อาจสร้างความสุขก็ยังสร้างปัญหาได้เหมือนกัน ดังเช่นว่าการ ขอยืมเงิน บางคนมายืมแล้วคืนก็ดีไป แต่ก็มีกรณียืมไม่คืนจนตัดเพื่อนตัดญาติกัน หรือหนักสุดคือ ยืมแล้วชิ่งหนีหายจนกลายเป็นภาระของคนให้ยืมก็มี เพื่อเป็นการตัดปัญหา เพจ ไทยคู่ฟ้า ได้เผยข้อมูลดีๆ ในการให้ยืมเงิน โดยระบุ หากมีคนมาขอยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป “ต้องทำเป็นหนังสือสัญญา” ให้ชัดเจน เพื่อที่ว่าหากมีปัญหา การยืมไม่คืน ฝ่ายให้ยืมก็สามารถนำมาฟ้องร้องได้นั่นเอง โดยข้อมูลสำคัญที่จะต้องมีในเอกสารสัญญา มีดังนี้ 1. ชื่อผู้ขอยืม / ชื่อผู้ให้ยืม / ชื่อพยาน + ลายเซ็น 2. จำนวนเงินที่ขอยืมหรือกู้ 3. วันที่ทำสัญญา และ การกำหนดวันชำระคืน 4. ดอกเบี้ย (โดยห้ามเรียกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด) * เมื่อทำสัญญากันเสร็จแล้ว ต้องเก็บหลักฐานไว้ให้ดี ทั้งสัญญา คู่สัญญา หลักฐานการโอนเงินและการชำระหนี้
การกู้ยืมเงินกันเมื่อมีปัญหาขึ้นมา ถ้าจะต้องฟ้องร้องเป็นคดีจะใช้หลักฐานที่สำคัญคือหลักฐานเป็นหนังสือ ดังในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้น เงื่อนไขที่จะฟ้องคดีกู้ยืมเงินจะต้องมีลักษณะ ดังนี้ ๑. กู้ยืมกัน ๒,๐๐๐ บาทหรือ น้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาท ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องคดีได้ ๒. กู้ยืมเงินกันกว่า ๒,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้ ๓. หลักฐานเป็นหนังสือ ที่สำคัญคือ จะต้องปรากฏลายมือชื่อผู้กู้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๔๘/๒๕๓๐ จำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์ มีใจความว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปเพื่อสร้างบ้าน ท้ายจดหมาย จำเลยเขียนชื่อเล่นด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจง ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๒๖๒/๒๕๓๕ จำเลยทั้งสอง กู้ยืมเงินโจทก์ไป สัญญาตอนต้นมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ ๒ เป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อในช่องพยาน ส่วนจำเลยที่ ๑ ตอนต้นของสัญญาไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ ๑ ลงชื่อในช่