ยุงลาย
กรมควบคุมโรค เตือน ฝนตกระวังป่วยโรคชิคุนกุนยา พบป่วยแล้ว 5,728 ราย วันที่ 9 ส.ค. 63 กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 274 เตือนประชาชนช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ ระวังป่วยด้วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 5,728 ราย จาก 65 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 25-34 ปี, 35-44 ปี และ 45-54 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 23.7 นักเรียนร้อยละ 21.3 เกษตรกรร้อยละ 15.7 ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ โดยจากระบบเฝ้าระวังโรค (รง. 506) พบจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จันทบุรี รองลงมาคือ อุทัยธานี ลำพูน เลย และตราด ตามลำดับ” การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าช่วงนี้จะมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น เนื่องจากพบผู้ป่วยกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับช่วงนี้เป็นฤดูฝน จึงทำให้มีฝ
กรมควบคุมโรค เตือน “ชิคุนกุนยา” ระบาดทั่วประเทศ แนะกำจัดยุงลายตัวนำพาหะ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. กรมควบคุมโรค เผยแพร่พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 19-25 ก.ค. 2563 เตือนโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ”ชิคุนกุนยา” อาจระบาดเพิ่มมากขึ้น โดยระบุว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 4,307 ราย จาก 62 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คืออายุ 25-34 ปี รองลงมาคือ 35-44 ปี และ 45-54 ปี ตามลำดับ ภาคที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จันทบุรี รองลงมาคือ อุทัยธานี ลำพูน ตราด และระยอง ตามลำดับ จากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ จ.อุทัยธานี การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่า ช่วงนี้มีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายเพิ่มขึ้น จากการพบผู้ป่วยกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในหล
เตือนคนกรุงเทพฯ! ไวรัสซิกา ระบาดหนัก เสี่ยงติดเชื้อ ระวังยุงลาย วันที่ 9 ม.ค. ที่ศาลาว่าการกทม. นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและบางพื้นที่อาจมีฝนตก ส่งผลให้เกิดแหล่งน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ที่อาจทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อ ไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 80,650 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 8,345 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตดินแดง บึงกุ่ม บางนา และเขตลาดพร้าว ผู้ป่วยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา จำนวน 573 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 129 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตบางกะปิและเขตตลิ่งชัน และผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 2,383 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 104 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตจอมทอง ประเวศ และเขตธนบุรี ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน ดูแลตนเองและบุตรหลาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เพื่อให้ปลอดภัยจากทั้ง 3 โรค ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยป้องกันอย่าใ
เมื่อวันที่ 14 กันยายน นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ต่อกรณีน้ำท่วมในหลายจังหวัด ว่า ขณะนี้ได้สั่งการไปยังคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ให้เฝ้าระวังโรคระบาดที่จะตามมาจากปัญหาน้ำท่วม อาทิ โรคฉี่หนู และโรคอุจจาระร่วง รวมถึงภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน หรือการจมน้ำ พร้อมกันนี้ยังได้กำชับผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต ย้ำเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกจังหวัดทั่วประเทศ ลงพื้นที่ดำเนินมาตรการ 3 เก็บ คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกพื้นที่ เพื่อป้องกัน 3 โรคที่มียุงลายเป็นพาหะ คือไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ขณะเดียวกันก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงฯ ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการเอาผิดผู้ที่ปล่อยปะละเลยไม่ดูแลบ้าน หรือพื้นที่ของตนเองเป็นแหล่งกำเนิดยุง หรือแหล่งก่อโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น “กำลังให้กระทรวงฯ โดยฝ่ายกฎหมาย.ไปดู ใครไม่ทำหากเจอในบ้านตัวเองจะผิดหรือไม่ มิฉะนั้นก็ปล่อยให้มียุง ถ้ายุงบ้านคุณมากัดผม แล้วผมเป็นซิกา หรือไข้เลือดออก คุณผิดไห