ราคาข้าว
ราคาข้าวตกต่ำ! ธ.ก.ส. แจง พร้อมช่วยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เผยว่า จากกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์นำเสนอข่าวราคาข้าวตกต่ำ ทำให้กระทบกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นอย่างมาก จึงมีการเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนนั้น ในส่วนของ ธ.ก.ส. ขอเรียนชี้แจงว่า ธ.ก.ส. มีหน้าที่ในการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการประกันรายได้ข้าว รวมถึงการออกมาตรการคู่ขนาน ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี และโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ซึ่งรวบรวมข้าวจากสมาชิกนำมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นการดูดซับปริมาณข้าวในตลาดไม่ให้ราคาตกต่ำ ส่วนการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ธ.ก.ส. รอมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้นำเสนอ ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินทันทีเมื่อได้รับรายชื่อตามระบบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ แถลงหลังการประชุม 3 ฝ่าย โดยกระทรวงพาณิชย์ ตัวแทนผู้ประกอบการและตัวแทนเกษตรกรโดยสมาคมชาวนา และผู้เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ว่า ที่ประชุมห็นชอบโครงการประกันรายได้ข้าว ในข้าว 5 ประเภทได้แก่ 1. ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท ความชื้น 15% โดยประกันรายได้ให้ไม่เกินละ 30 ตัน/ครัวเรือน หรือไม่เกิน 40 ไร่ 2. ข้าวเหนียว ประกันที่ตันละ12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน หรือไม่เกิน 40 ไร่ 3. ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ที่ไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 14 ตัน 4. ข้าวหอมนอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 16 ตัน 5. ข้าวหอมปทุม ไม่เกิน 11,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 25 ตัน โดยหลังจากนี้จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุม หารือ นบข. (คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ) นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนงบประมาณการเบื้องต้นจะหารือในที่ประชุม นบข. โดยให้เกษตรกรชาวนา ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรหลังรายงานแจ้งว่า หลักเกณฑ์กลางในการอ้างอิงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์อ้างอิงโดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน ส่วนการใช้สิทธิ์และการจ่ายเงินนั้นเกษตรกรทำสัญญา
ยางทรุดหนัก 2 สัปดาห์ร่วงเฉียด 10 บาท/กก. – กยท. รีบซื้อพยุงราคา ส่วนข้าวขาวทรุดหนักเหลือแค่ 6 พันบาท/ตัน – ด้านกรมข้าวโรงสีเห็นแก่ได้ กดราคาข้าวหลังต้นทุนชาวนาลด – กยท. รีบซื้อพยุงราคา ยาง-ข้าวขาว ราคาทรุดหนัก – คุณเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาปรับตัวลดลงเกือบ 10 บาท/กิโลกรัม (กก.) จากช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 60.05 บาท/กก. เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากราคาในตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่ปรับตัวลดลงมากโดยเฉพาะในตลาดเซี่ยงไฮ้ ที่ราคาอยู่ที่ 53-54 บาท/กก. ส่วนตลาดโตคอมยังอยู่ที่ราคา 64 บาท/กก. ดังนั้น กยท. เห็นว่าราคายางพาราที่ตกลงมาลงเร็ว และแรงเกินไป จึงเข้ารับซื้อผ่าน 3 ตลาดกลางของกยท. ทั้งที่ สงขลา หาดใหญ่ และสุราษฎร์ ที่ราคา 53.50 บาท/กก. “กยท. เข้าซื้อยางพาราในตลาดกลาง เพื่อรักษาเสถียรภาพ หลังจากเห็นว่าราคาปรับตัวลดลงแรงเกินไป จึงเข้าซื้อนำราคา 2 บาท จากมือรองที่เสนอซื้อมาที่ราคา 51.50 บาท/กก. ราคาที่ กยท. เสนอซื้อถือว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับราคาเอฟโอบีที่ 58 บาท/กก. ซึ่งหักค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการออกไป 4 บาทกว่า/ก
ส่งออกข้าวเดือนก.พ. ลด สาเหตุราคาข้าวของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งที่สำคัญโดยเฉพาะเวียดนามถึง 40-50 เหรียญสหรัฐ จึงทำให้ผู้ซื้อบางส่วนโดยเฉพาะในแถบเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย หันไปซื้อข้าวจากเวียดนามมากขึ้น ส่งออกข้าวก.พ. วูบ 27.7% – นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าว กล่าวว่า การส่งออกข้าวในเดือนก.พ. 2562 มีปริมาณ 687,560 ตัน มูลค่า 11,694 ล้านบาท โดยปริมาณส่งออกลดลง 27.7% และมูลค่าลดลง 23.5% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 2562 ที่ส่งออกปริมาณ 951,700 ตัน มูลค่า 15,286 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกข้าวทุกชนิดมีปริมาณลดลงจากเดือนม.ค. โดยในเดือนก.พ. มีการส่งออกข้าวขาว 326,029 ตัน ลดลง 40.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศฟิลิปปินส์ โมซัมบิก แองโกล่า แคเมอรูน เคนยา มาเลเซีย เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวนึ่งมีปริมาณ 194,902 ตัน ลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดในแอฟริกา เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ เยเมน แคเมอรูน เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว) มีปริมาณ 99,147 ตัน ลดลง 6.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง แค
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน เวลา 08.30 น. ที่บริเวณวงเวียนห้าแยกวิทยุ อ.เมือง จ.อุทัยธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี นายวีรศักดิ์ วงษ์บุตร เกษตรจังหวัดอุทัยธานี ร่วมกับ เทศบาลเมืองอุทัยธานี น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ นายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี เปิดจุดจำหน่ายข้าวสารช่วยชาวนา เพื่อให้มีที่จำหน่ายข้าวสารของตนเองเพิ่มมากขึ้น เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ให้สามารถเพิ่มมูลค่าของข้าวสารได้มากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อข้าวสารคุณภาพดีและราคายุติธรรม ซึ่งจะทำการเปิดจุดจำหน่ายข้าวสารที่บริเวณดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 21-27 พฤศจิกายน 2559 โดยในครั้งนี้มีเกษตรกรนำข้าวสารของตนเองมาร่วมตั้งร้านจำหน่ายจำนวนมาก ซึ่งข้าวสารที่นำมาจำหน่ายนั้นจะเป็นข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดภัยจากสารเคมีหรือ GAP ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 35 บาท หรือ 3 กิโล 100 บาท, ข้าวไรซ์เบอรี่ กิโลกรัมละ 70 บาท, ข้าวเหนียว กิโลกรัมละ 25 บาท, ข้าวหอมแดง, ข้าวกล้องหอมมะลิ 105, ข้าวสินเหล็ก และข้าวสังข์หยด โดยจะทำการใส่กระจาดหรือตะกร้า และชั่งกิโลขายกันสดๆ เพื่อให้ผู้บ
วันที่ 18 พ.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงาน ภายหลังชาวนาในทุ่งนาหมู่ 5 ตำบลยางช้าย อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ได้ลงมือการทำนาหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายโรงสีในช่วงราคาตกต่ำ โดยที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชหมุนเวียน ภายใต้นโยบายส่งเสริมการเกษตรแบบครบวงจรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 มาตรการ มาตรการแรก คือ การปลูกพืชปุ๋ยสด ดำเนินการโดยกรมพัฒนาที่ดิน ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชปุ๋ยสด คือ ปอเทือง เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ขายคืนให้กรมพัฒนาที่ดิน ส่วนมาตรการที่ 2 คือ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการเกษตรโดยทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะสนับสนุนสินเชื่อ ด้านนายมานะ เขียวแก้ว อายุ 56 ปี ชาวนา หมู่ 9 ตำบลยางช้าย อำเภอโพธิ์ทอง กล่าวว่า ตนเองทำนาเช่าจำนวน 23 ไร่ ที่ต้องลงมือทำนาต่อหลังจากราคาตกต่ำและรัฐบาลให้การช่วยเหลือสนับสนุนปลูกพืชชนิดอื่นนั้น ตนเองมีความชำนาญในด้านการทำนามาตลอดชีวิตและมีเครื่องมือในการการทำนาอยู่แล้วเรื่องราคาข้าวจะถูกจะแพงนั้นเอาไว้วัดดวงกันในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในช่วงนี้ก็ต้องลงมือทำนากันต่อหวั
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ศ.พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา(มพ.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำที่สุดในรอบหลายปี ทำให้ชาวนาทั่วประเทศได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก ปัญหาราคาข้าวที่เกิดขึ้นมีจุดเริ่มต้นของปัญหาตั้งแต่ต้นทางการเพาะปลูกถึงหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งข้าวล้นตลาดในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ทำความร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวอินทรีย์แม่จุน ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มกันของชาวนาในพื้นที่ อ.จุน จ.พะเยา ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่กว่า 100 ไร่ ทาง มพ.ได้รับซื้อข้าวปีละกว่า 20 ตัน กก.ละ 40 บาท เพื่อนำไปประกอบอาหารให้บุคลากร นิสิตและผู้ใช้บริการของ มพ. ศ.พิเศษ ดร.มณฑล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้สามารถมั่นใจได้อย่างเต็มที่ในคุณภาพและความปลอดภัยของข้าวดังกล่าว ว่าไม่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่ง มพ.มีบุคลากรและนิสิตรวมถึงผู้ที่มารับบริการในสถาบันจำนวนมากหลายหมื่นคน ดังนั้นการที่มหาวิทยาลัยได้เข้าไปรับซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรง ทั้งการติดต่อตรงกับครอบครัวชาวนาหรือผ่านตัวแทนกลุ่มชาวนาที่รวมกลุ่มกันในท้องถิ่น เป็นการสร้างระบบและกลไกในการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวใ
ปัญหาราคาข้าวถือเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน และทุกฝ่ายระดมกันแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง อดีตนักการเมือง เซเล่ป หรือ ดารา หนุ่งในนั้น คือ หนุ่ม บอย พิษณุ ที่ได้ไปเกี่ยวข้าว นวดข้าว กับเด็กนักเรียน ณ โคกหนองนา ดาราโมเดล โดยเจ้าตัวได้โพสต์ภาพลงในอินสตาแกรม ว่า “วันนี้มาเกี่ยวข้าวที่โคกหนองนาดาราโมเดล เห็นราคาข้าวตกต่ำก็อดเห็นใจชาวนาไม่ได้ แต่ถ้าทำเกษตรแบบผสมผสานน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีนะครับ น่าจะแก้ปัญหาได้ ถ้าข้าวราคาตกก็ขายอย่างอื่นทดแทน แค่ลองเปิดรับทฤษฎีใหม่ๆ ตามศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ที่อยู่ทั่วประเทศ อย่าเพียงรอการช่วยเหลือจากคนอื่นเวลานี้ต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ ใครทำได้ก่อนก็สุขใจก่อน” ที่มา ข่าวสดออนไลน์
ชาวนาในจังหวัดบุรีรัมย์ ไม่เลือกนำข้าวเปลือกไปขายให้กับโรงสี หลังราคาข้าวเปลือกนาปีตกต่ำในรอบหลายสิบปี ทำให้ได้รับความเดือดร้อน โดยชาวนาบางส่วนต้องนำสิ่งของมีค่า เช่น ทองรูปพรรณ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผ้าไหม และสิ่งของมีค่าอื่นๆ เข้าไปใช้บริการโรงรับจำนำ หรือสถานธนานุบาลเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อนำเงินไปเป็นค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว หรือเป็นค่าจ้างแรงงานในการเก็บเกี่ยวข้าว และใช้จ่ายในครอบครัว โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะมีเกษตรกรเข้าไปใช้บริการโรงรับจำนำเทศบาลเมือง เฉลี่ยวันละ 500-600 ราย นอกจากนั้น ยังมีเกษตรกรที่ไม่มีเงินไปไถ่ถอนสิ่งของมีค่าที่นำไปฝากไว้มาติดต่อตัดดอกไว้ก่อนอีกด้วย นายเพียร สวัสดี ชาวนาบ้านหนองเครือ ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้นำทองรูปพรรณมาจำนำในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปเป็นค่าจ้างรถเกี่ยวข้าว เพราะไม่สามารถนำข้าวไปขายได้เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำเพียง กิโลกรัมละ 5-6 บาทเท่านั้น ส่วนข้าวเปลือกที่เก็บไว้จะรอนำไปเข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวของรัฐบาล จึงจะนำเงินมาไถ่ถอนทองที่นำมาฝากไว้ที่โรงจำนำ จึงขอให้รัฐบาลได้เร่งดำเนินการในโครงการอย่างเร่งด่วนด้ว
ประเด็นปัญหาราคาข้าวตกต่ำเป็นที่จับตาของทุกภาคส่วนอีกครั้ง หลังจากที่สมาคมโรงสีข้าวออกมาระบุว่าข้าวเปลือกหอมมะลิราคาตกต่ำสุดในรอบ 10 ปี ตันละไม่ถึง 10,000 บาท แม้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะออกมาอธิบายถึงสาเหตุของการตกต่ำของราคาข้าวไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงจะระบุว่า เพราะฝนดี (ขณะที่ไทยประสบปัญหาภัยแล้ง) ทำให้ผลผลิตข้าวโลกเพิ่มขึ้น 2.4% สวนทางการบริโภคข้าวของประชากรโลกที่ลดลงตามการบริโภคอาหารพวกแป้งลดลง 1.5% และสต๊อกข้าวโลกเพิ่มขึ้น 4.3% ส่งผลต่อราคาข้าวโลก รวมถึงไทยที่ราคาปรับลดลง ด้านปริมาณข้าวหอมมะลิในประเทศ คาดเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน จาก 8 ล้านตันในปีที่แล้ว และคาดว่าข้าวนาปีจะเพิ่มเป็น 27 ล้านตัน จากปีที่แล้ว 23 ล้านตัน และช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นพฤศจิกายน มีฝนตกมาก ชาวนาเร่งเกี่ยวข้าว ทำให้ข้าวมีความชื้นสูงทำให้ราคายิ่งตกต่ำลง ขณะที่ ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ให้ความเห็นว่า ราคาข้าวที่ลดลงมาจากผลผลิตมากกว่าความต้องการของตลาดโลก และคู่แข่งในการส่งออกข้าวของไทยก็ส่งออกข้าวได้ปริมาณมาก