ราคาตก
ทุเรียนนครศรีฯ ราคาตกรูด จากปัญหาสารตกค้าง จี้นายกฯ เร่งแก้ปัญหา นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรครวมไทยสร้างชาติ และอดีตรมว.อุตสาหกรรม ได้ร่วมอภิปรายในญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาปัญหาสารตกค้างในทุเรียนเพื่อการส่งออกในช่วงฤดูกาลการผลิต โดยระบุถึงสาเหตุของการอภิปรายเป็นญัตติด่วน เนื่องจากเพิ่งเจอกับปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ใหญ่หลวง และมูลค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศ โดยเฉพาะของภาคใต้ที่ผลผลิตกำลังจะออกเร็วๆ นี้ โดยรอบการตัดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมา เจอผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากประเทศผู้รับซื้อหลักคือจีน ได้ปฏิเสธการรับซื้อทั้งหมด โดยอ้างว่าทุเรียน ที่ไปจากประเทศไทย มีสารปนเปื้อนบีวายทู ซึ่งจนถึงขณะนี้ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข “ปัญหาในครั้งนี้ไม่ใช่แค่ระหว่างรัฐบาล ไม่ใช่แค่กระทรวงเกษตรฯ เท่านั้นแล้ว แต่มันเป็นปัญหาระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ที่ต้องขอร้องท่านนายกรัฐมนตรีจริงๆ ว่าให้นำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ ต้องใช้ความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส และต้องบูรณาการทุกหน่วยงานร่วมกั
5 เดือนปลากะพงราคาดิ่ง 50% เหลือโลละ 55 บาท – เกษตรกรยื่นหนังสือถึง ‘เฉลิมชัย’ ช่วยสกัดนำเข้าปลาจากเพื่อนบ้านดัมพ์ราคาผู้เลี้ยงปลาช่อนเลิกกิจการกว่า 80% ปลากะพงราคาดิ่ง 50% – นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังได้รับหนังสือร้องเรียนจากสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย ให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาราคาปลากะพงที่ปรับตัวลดลงจากการนำเข้าจากเพื่อนบ้าน ว่า เรื่องนี้ได้ให้กรมประมงเข้าไปตรวจสอบ หากการนำเข้าดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงเกษตรฯ หรือรัฐบาลอาจดำเนินการอะไรไม่ได้มาก เพราะเป็นเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ แต่ขอดูรายละเอียดก่อนว่าจะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง แต่ในโลกการค้าเสรีสิ่งที่ต้องทำคือเกษตรกรไทยต้องปรับตัว พัฒนาศักยภาพให้สามารถรับมือการแข่งขันได้ในตลาดโลก นายสุทธิ มะหะเลา นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ อาทิ ปลากะพงขาว ปลาช่อน ปลากดคัง ปลากราย ปลาดุก ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา เป็นจำนวนมาก จนส่งผลกระทบต่อราคาที่เกษตรกรขายภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาปลากะพงตกลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ลดเหลือ 55-75 บ
หนึ่งแสนกิโลรอคนซื้อ! ม.รังสิต เป็นสื่อกลาง จัดตลาดนัด “แชร์มังคุด” ข่าวจาก เพจ Rangsit University แจ้งว่า เวลา 09.00-18.00 น. วันที่ 22-23 สิงหาคม นี้ ทางมหาวิทยาลัยรังสิต (ม.รังสิต) จัดให้มีงาน “ตลาดนัดลานแบร์ แชร์มังคุด” ณ บริเวณหน้าอาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) ม.รังสิต เพื่อร่วมด้วยช่วยกัน “ช็อป ชม ชิม” มังคุดสดๆ ส่งตรงจากสวนทั่วประเทศ ตั้งเป้าหมายไว้ 100,000 กิโลกรัม เพื่อช่วยแก้ปัญหาราคาตก ภายในงานนี้ จะมีกิจกรรมประมูลมังคุดนาทีทอง/บุฟเฟ่ต์มังคุด พร้อมรับฟังเวทีเสวนา Work Shop การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ามังคุด และ Short Course การทำธุรกิจออนไลน์ สำหรับชาวสวนที่สนใจจะนำมังคุดมาจำหน่าย สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ คุณบอย โทร. 08-3979-4579 ส่วนท่านใดที่สนใจสั่งซื้อมังคุดพรีออร์เดอร์ได้ที่ คุณอาย โทร. 06-4492-4992
ยางทรุดหนัก 2 สัปดาห์ร่วงเฉียด 10 บาท/กก. – กยท. รีบซื้อพยุงราคา ส่วนข้าวขาวทรุดหนักเหลือแค่ 6 พันบาท/ตัน – ด้านกรมข้าวโรงสีเห็นแก่ได้ กดราคาข้าวหลังต้นทุนชาวนาลด – กยท. รีบซื้อพยุงราคา ยาง-ข้าวขาว ราคาทรุดหนัก – คุณเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาปรับตัวลดลงเกือบ 10 บาท/กิโลกรัม (กก.) จากช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 60.05 บาท/กก. เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากราคาในตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่ปรับตัวลดลงมากโดยเฉพาะในตลาดเซี่ยงไฮ้ ที่ราคาอยู่ที่ 53-54 บาท/กก. ส่วนตลาดโตคอมยังอยู่ที่ราคา 64 บาท/กก. ดังนั้น กยท. เห็นว่าราคายางพาราที่ตกลงมาลงเร็ว และแรงเกินไป จึงเข้ารับซื้อผ่าน 3 ตลาดกลางของกยท. ทั้งที่ สงขลา หาดใหญ่ และสุราษฎร์ ที่ราคา 53.50 บาท/กก. “กยท. เข้าซื้อยางพาราในตลาดกลาง เพื่อรักษาเสถียรภาพ หลังจากเห็นว่าราคาปรับตัวลดลงแรงเกินไป จึงเข้าซื้อนำราคา 2 บาท จากมือรองที่เสนอซื้อมาที่ราคา 51.50 บาท/กก. ราคาที่ กยท. เสนอซื้อถือว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับราคาเอฟโอบีที่ 58 บาท/กก. ซึ่งหักค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการออกไป 4 บาทกว่า/ก
สอน. พยากรณ์แนวโน้มผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายฤดูผลิตปี 2562/63 ส่อลดลง เหตุเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนหลังราคาตกต่ำต่อเนื่อง เชื่อดันราคาน้ำตาลโลกลุ้นแตะ 15 เซนต์ต่อปอนด์ สอน. คาดอ้อยปี 62/63 ลดลง – นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สอน. คาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลทรายตลาดโลกฤดูการผลิตปี 2562/63 จะต่ำกว่าฤดูการผลิตที่ผ่านมา เนื่องจากนักวิเคราะห์มองสถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยที่ตกต่ำต่อเนื่องมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่มีราคาดีกว่า หลังจากนั้นประเมินแนวโน้มราคาน้ำตาลโลกจะเข้าสู่จุดสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคน้ำตาล ทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกกลับมาสู่ระดับราคา 15 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ประเทศผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ได้ “ขณะนี้ สอน. ยังคงติดตามปัจจัยพื้นฐานของสถานการณ์ภัยแล้งและราคาน้ำตลาดโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อผลผลิตไทยและอินเดียเป็นสำคัญ ขณะที่จีน อินโดนีเซียยังคงมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้บราซิลนำอ้อยไปผลิตเอทานอลแ
ชาวไร่ โอด ราคาอ้อยตกต่ำ ขายได้ไม่คุ้มทุน วอนรัฐหามาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน ราคาอ้อยตกต่ำ – วันที่ 29 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีการเปิดรับซื้ออ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2561/2562 โดยมีการประกาศราคาขั้นต้นที่ 700 บาทต่อตัน สืบเนื่องมาจากน้ำตาลในระบบของตลาดทั่วโลกมีมากเกินความต้องการ หลังจากผลผลิตน้ำตาลในหลายประเทศ ซึ่งเป็นคู่แข่งในการส่งออกน้ำตาลมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้เกษตรกรหลายรายเริ่มบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาที่ได้ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น จากการลงพื้นที่สอบถาม นางสมควร แก้วประกาย เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ใน ต.โคกกระเบื้อง อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ทันทีที่โรงงานเปิดรับซื้ออ้อยก็ได้ว่าจ้างให้คนมาตัดอ้อยเพื่อส่งโรงงานทันที เพราะกลัวจะตัดส่งโรงงานก่อนปิดหีบอ้อยไม่ทัน จนต้องมีผลผลิตตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่วนราคาอ้อยที่มีการประกาศล่าสุดนั้น ถือว่าลดลงกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก เมื่อรวมค่าความหวานและค่าเงินช่วยเหลือต่างๆ แล้ว จะได้ราคาตันละไม่ถึง 1,000 บาท ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากในการลงทุนปลูกอ้อยจะมีทั้งค่าพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าแรงงานในการตัด ค่าข
วันที่ 7 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพื้นที่ อ.พบพระ จ.ตาก เป็นแหล่งใหญ่ที่ผลิตฟักทอง และพืชผลการเกษตร ส่งขายทั่วประเทศ แต่เนื่องด้วยราคาตกต่ำจนรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ส่งผลให้ชาวเกษตรกรเดือดร้อนต้องเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น นายสงัด วินนัน อายุ 52 ปี กล่าวว่า ตนปลูกฟักทองจำนวน 15 ไร่ ปลูกในช่วงฤดูแล้งเพื่อที่จะให้ออกช่วงต้นฝน หวังจะได้ราคาดีได้กำไรเป็นเงินค่าเล่าเรียนของลูก แต่ราคาตกต่ำ ทำให้ย่ำแย่มากเพราะขาดทุน อีกทั้งยังพบปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ฟักทองขาดน้ำ ลูกเล็กไม่โต ลูกไม่ได้ขนาด ไม่เป็นที่ต้องการของพ่อค้า ราคาขายฟักทองเหลือเพียงกิโลละ 4-5 บาท นายสงัด กล่าวต่อว่า ตนเสียดายที่ผลผลิตไร่ที่ปลูกออกมาสู่ตลาดช้า เพราะเมื่อ 10 วันที่ผ่านมา ราคาดี เกษตรกรรายอื่นขายได้ราคากิโลละ 10 กว่าบาท ของตนเป็นฟักทองพันธุ์ทองอำไพ ซึ่งเป็นพันธ์ที่ดูแลรักษาง่ายใช้ปุ๋ยใช้ยาน้อย ต้นทุนไม่สูง และมีพอค้ามาซื้อถึงในไร่ ใช้เวลาปลูกเพียง 90 วัน แต่วันนี้ก็ยังมาประสบปัญหาขาดทุนอีก ไม่มีเงินส่งลูกเรียน จะต้องไปกู้หนี้เพื่อนำมาใช้ต่อทุนและใช้จ่ายในครอบครัวต่อไป ที่มา ข่าวสดออนไลน์
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา ได้มีชาวสวนยางและพ่อค้ารับซื้อยางจำนวนมาก นำยางพารามาขาย ทำให้ตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา ไม่มีที่จะเก็บยาง จนต้องนำผ้ายางคลุมไว้ด้านนอกอาคาร และบางส่วนต้องตากแดด ตากฝน สร้างความเสียหายให้กับยางและสร้างความเดือดร้อนกับชาวสวนยาง ซึ่งสาเหตุมาจากบริษัทที่ร่วมทุนกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มาประมูลต่ำกว่าราคากลางที่กำหนดทำให้ยางล้นตลาด นายอาคม ฉิลยะพงศ์ พ่อค้ารับซื้อยางจาก อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า ตอนนี้ที่ตลาดกลางยางจังหวัดยะลามีปัญหา คือต้องนำยางมาตากแดด ตากฝน เนื่องจากยางขายไม่ได้ จึงอยากจะให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากราคายางมีปัญหาคือเรื่องราคาอยากจะให้รัฐบาลช่วยเป็นงวดๆ คือ ในงวดหนึ่งรัฐบาลสามารถช่วยเหลือได้ตลอดในราคาที่เท่าไร นิ่งที่เท่าไร ให้นิ่งที่ราคานั้นตลอดชาวบ้านก็พอใจแล้ว ยางที่ตั้งอยู่ด้านนอกก็ประมาณ 2 แสนกว่ากิโลกรัม มาตั้งไว้ 5-6 วันแล้ว ต้องตากแดด ตากฝน ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่ให้เจ้าของยางมาตรวจว่ายางที่ตากอยู่ด้านนอกว่ายางขึ้นราหรือไม่ ถ้ายางขึ้นราก็จะไม่ผ่าน ยางที่ไม่ขึ้นราก็ข
วันที่ 29 สิงหาคม 2560 จากสถานการณ์ฝนตกชุกต่อเนื่องมาตลอด 1 สัปดาห์ในพื้นที่ จ.ชัยนาท ทำให้ข้าวในนาของเกษตรกรได้รับความเสียหายจากแรงลมและปริมาณฝน ทำให้ต้นข้าวหักล้มเป็นบริเวณกว้าง ในหลายพื้นที่ของ อ.เมืองชัยนาท อ.สรรพยา อ.สรรคบุรี และ อ.วัดสิงห์ ซึ่งนายนครินทร์ ดีอ่อน ชาวนาในพื้นที่ ต.ธรรมามูล อ.เมืองชัยนาท เปิดเผยว่า ต้นข้าวที่ล้มจากพายุลมฝนแบบนี้ถือว่าชาวนาได้รับผลกระทบเสียหาย เพราะรวงข้าวจะโดนน้ำและน้ำค้างทำให้เกิดเชื้อรา เปลือกของเมล็ดข้าวจะมีสีดำ ทำให้เมื่อเกี่ยวไปขายจะถูกกดราคาจากโรงสีที่รับซื้อ โดยในสัปดาห์นี้ราคารับซื้อข้าวปกติความชื้นไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ จะอยู่ที่ตันละ 6,500 บาท แต่ถ้าเป็นข้าวล้มจะมีความชื้นสูงกว่าก็จะถูกกดราคาลงมาอยู่ที่ 6,100-6,200 บาทต่อตันเท่านั้น แต่ชาวนาเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของธรรมชาติฟ้าฝน แต่ก็อยากวอนขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ามาช่วยเหลือพยุงราคาข้าวให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน เพราะชาวนาแทบไม่เหลือกำไรในการทำนาแต่ละรอบ เพราะราคาข้าวที่ตกต่ำต่อเนื่อง ที่มา : มติชนออนไลน์