ราคาสับปะรด
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงการแก้ไขราคาสับปะรดตกต่ำว่า กรมการค้าภายใน ได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยได้สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงและกระจายผลผลิตสับปะรดผลสดออกจากแหล่งผลิต และได้สนับสนุนงบประมาณรวม 1,285,000 บาท ให้จังหวัด ระยอง ชลบุรี เชียงราย อุทัยธานี พิษณุโลก ลำปาง ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพ และกระจายไปจังหวัดปลายทางนอกแหล่งผลิต รวมปริมาณกว่า 2,000 ตัน พร้อมประสานงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ช่วยรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับซื้อสับปะรดผลสดแจกให้กับผู้ที่มารับบริการที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 70 สาขาทั่วประเทศ รวมปริมาณกว่า 890 ตัน และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับซื้อสับปะรดสด 460 ตัน เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เตรียมไว้สำหรับสมนาคุณลูกค้าที่มาใช้บริการสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้ง ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เช่น ห้าง Lotus, BigC, makro, The Mall, Tops ได้ร่วมลงนาม MOU กับกรมการค้าภายในในการช่วยรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรโดยตรง ปริมาณรวม 2,820 ตัน อีกทั้ง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบ
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวถึงปัญหาสับปะรดราคาตกต่ำในขณะนี้ว่า ช่วงที่ผ่านมา ได้เข้าหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ โดยส่งสัญญาณมาตลอดถึงภาวะการส่งออก อาจเจอปัญหาแข่งขันไม่ได้กับประเทศผู้ผลิตและส่งออกสับปะรดแปรรูปรายใหญ่ อย่างอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในการส่งออกตลาดโลก รวมถึงไปสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งปีนี้อินโดนีเซีย มีผลผลิตสูงทุกปี 300% และอียูยังไม่ตัดการให้สิทธิทางภาษี (จีเอสพี) จึงเสียภาษีนำเข้าอียูต่ำกว่าไทย 3.5% ขณะที่ฟิลิปปินส์ ยังได้จีเอสพีพลัส ภาษีนำเข้าถึงต่ำกว่าไทย 18.5% ขณะที่ผู้ส่งออกไทยยังเจอปัญหาต้นทุนกระป๋องและค่าแรงงานสูง เงินบาทแข็งค่ากว่าปีก่อน 2-3 บาท ทำให้การกำหนดราคาส่งออกสูงกว่า 2 ประเทศนี้มาก และสมาคมยังไม่ได้รับการประสานให้เข้าหารือแก้ปัญหาสับปะรดกับหน่วยงานใด สำหรับตลาดส่งออกนั้น ยังส่งออกได้ แต่ปริมาณจะไม่สูงกว่าปีก่อน ในส่วนการรับซื้่อผลสับปะรดสดนั้น ทุกโรงงานผู้ผลิตได้มีการทำสัญญารับซื้ออยู่แล้วแม้ว่ากำลังผลิตจะเต็มก็ต้องรับซื้อตามสัญญาที่ทำไว้ ส่วนสับปะรดที่ล้นเป็นปัญหาคือเกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เมื่อผลผลิต