ราเมน
ถอดความสำเร็จ “นนบุราเมน” รักษาคุณภาพ-สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า สร้างธุรกิจอาหารยั่งยืน ไม่ยึดติดความดังชั่วข้ามคืน ในยุคโซเชียลมีเดีย ร้านอาหารสามารถกลายเป็นกระแสไวรัลได้ในชั่วข้ามคืน แต่คำถามที่ท้าทายคือ “ทำอย่างไรให้ความนิยมไม่จางหายไปพร้อมกระแส?” บทความนี้ถอดบทเรียนจาก “นนบุราเมน” ร้านราเมนที่รอดพ้นกับดักความนิยมชั่วครั้งชั่วคราว ผู้เขียนได้ไปสัมภาษณ์ คุณบอย-ศิวดล ระถี เจ้าของร้านนนบุราเมน ร้านราเมนที่เคยมีประสบการณ์ของการเป็นร้านไวรัลในช่วงหนึ่ง แต่เขาเองมีกลยุทธ์อะไรที่ถึงแม้กระแสไวรัลนั้น ไม่ได้อยู่คงทน แต่ร้านราเมนของเขา ยังเป็นหนึ่งในจุดหมายของเหล่าลูกค้าในระยะยาวได้ โดยคุณบอยได้พูดถึงในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อกระแสไวรัลมาเยือนโดยไม่ทันตั้งตัว “เรื่องไวรัลมันเป็นคำถามที่เราถามกับแฟนตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ครั้งแรกที่เจอ ผมว่ามนุษย์เวลาเจอเหตุการณ์อะไรที่เจอครั้งแรก ที่ไม่เคยเจอ มันจะงงๆ หน่อย แล้วก็จะรับมือตามสถานการณ์หน้างานนั้นไปแบบงงๆ แต่พยายามแก้ไขไป” ในช่วงแรกที่ร้านเป็นไวรัล พวกเขาต้องรับมือกับลูกค้าจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามาอย่าง
ชีวิตใหม่ในวัย 50 “นนบุราเมน” เริ่มต้นหม้อราเมนจากความสูญเสีย ความฝันชิ้นเดียวที่เหลืออยู่ จนเป็นร้านที่ใครอยากกิน ต้องจอง! การเริ่มต้นชีวิตใหม่ ตามแบบฉบับที่ตนเองต้องการ ไม่มีคำว่า สายเกินไป เชื่อว่าบางครอบครัวอาจมีความคาดหวังว่า ลูก จะต้องประคองตัวให้อยู่รอด แล้วสิ่งที่จะทำให้ชีวิตมั่นคงได้นั้น คือ การมีงานประจำทำ แต่ความถนัด ความชอบ หรือความคิดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้เขียนได้พูดคุยกับ คุณบอย-ศิวดล ระถี เจ้าของร้านนนบุราเมน พูดคุยถึงเรื่องราวในชีวิต กว่าจะก้าวมาเปิดร้านราเมนได้ ต้องผ่านปัญหาที่เรียกได้ว่า สารพัดอย่าง และปัญหาที่ว่านี้ ก็คล้ายๆ จุดเปลี่ยนและกลายเป็นจุดที่ทำให้เขาได้เริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง แรงกดดัน-ความเครียด-การเปลี่ยนแปลงทางบทบาทและหน้าที่ สาเหตุของการเป็น Midlife Crisis คุณบอย เล่าให้ฟังว่า ก่อนออกจากงานมาทำร้านราเมนได้ทำงานที่หน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง แต่ในช่วงที่ทำงานมันเป็นช่วงรอยต่อที่เกิดเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ คือการสูญเสียคุณพ่อ โดยจังหวะที่คุณพ่อเสียเป็นจังหวะที่จะเริ่มทำงาน พอดี ทำได้ประมาณ 4-5 ปี เรื่องราวของคุณพ่อจะมาเกี่ยวข้องอะไรกับการเริ่มต้นชีวิตใหม่
“No Name Noodle BKK” ร้านราเมนไร้ชื่อ จากเชฟญี่ปุ่น ที่ตั้งใจเสิร์ฟวันละ 48 ชามเท่านั้น “เราไม่ได้อยากให้ลูกค้าจดจำอะไรทั้งนั้น ทั้ง ชื่อ เบอร์โทร หรือส่วนประกอบต่างๆ เพราะอยากให้จดจำเฉพาะความอร่อยตรงหน้าเท่านั้น” ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังชามราเมนร้อนๆ ที่ร้าน No Name Noodle BKK นั้น ได้ซ่อนเรื่องราวความผูกพันและความตั้งใจไว้อย่างมากมาย ก่อตั้งโดย เชฟชินจิ อิโนะอุเอะ ซึ่งเชฟชินจิ เล่าให้ฟังว่า แรงบันดาลใจในการทำราเมนมาจากคุณแม่ ย้อนกลับไปประมาณ 40 ปีที่แล้วได้เรียนรู้และซึมซับการทำราเมนมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต เชฟชินจิ เล่าให้ฟังว่า เส้นราเมนทุกเส้นที่เสิร์ฟในร้าน ผ่านกรรมวิธีการทำที่พิถีพิถัน ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบไปจนถึงการต้มซุป รสชาติของราเมนที่ No Name Noodle BKK นั้นเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร และการันตีความอร่อยด้วยรางวัล LINE MAN Wongnai Users’ Choice 2024 อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง วัยรุ่นสร้างตัว ทิ้งเงินเดือนหลักแสน เปิดร้านสมูทตี้ จากดีลิเวอรี ขายได้ 1 แก้ว สู่ 100 กว่าแก้วต่อวัน บินกลับจากอังกฤษ มาสานต่อธุรกิจครอบครัว พลิกโฉม “กวงข้าวต้ม” สู่ร้านเบอร์ 1 ในเพชรบูรณ์ เบอร์เก
5 เทคนิค “วางระบบธุรกิจยังไง ให้ขายแฟรนไชส์ได้” จาก Ozawa Ramen หลายคนเปิดธุรกิจขึ้นมาจนประสบความสำเร็จมากมาย แต่อยากที่จะต่อยอดและทำให้ธุรกิจมีความเติบโตมากขึ้น จึงคิดเปิดแฟรนไชส์ขึ้นมา แต่ไม่ใช่ว่าแค่ธุรกิจดีแล้วจะเปิดแฟรนไชส์ได้เลยทันที ทั้งนี้ ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทีม ระบบ การตลาด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 คุณวิเชียร อินทร์ไกรดี เจ้าของ Ozawa Ramen ได้ขึ้นกล่าวบนเวทีหัวข้อ “วางระบบธุรกิจยังไง ให้ขายแฟรนไชส์ได้” ในงาน Restech – Restaurant Technology & Franchise 2023 โดยกล่าวถึงการวางระบบร้านไว้ดังนี้ มาตรฐานของประเทศไทยมีการวางระบบแฟรนไชส์ที่มีความคล้ายกับตะวันตก แต่ทางด้านของคุณวิเชียร มีการนำระบบแฟรนไชส์แบบญี่ปุ่นมาใช้ จึงทำให้มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ การที่จะทำแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น มันจะต้องเหมือนการ Copy แล้ววางได้เลย ทุกสาขาจะต้องเหมือนกัน ซึ่งการวางระบบแฟรนไชส์แบบญี่ปุ่นจะมีความละเอียดมาก การจะทำแฟรนไชส์ต้องคำนึงถึงความต้องการ มองเห็นถึงปัญหาและวิธีการแก้ ซึ่งจะต้องวางทั้งในเรื่องของ Operation, ครัวกลาง, โลจิสติกส์, คู
ออกจากเชฟ สานฝัน เปิดร้านราเมน ด้วยคอนเซ็ปต์ “ขายราเมนในราคาสบายกระเป๋า” จากเชฟร้านอาหาร ลาออกมาเปิดธุรกิจเป็นของตัวเอง ใช้ประสบการณ์ที่มีผสมกับความชอบ พร้อมกับเงินลงทุน จึงได้เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นตามที่ตัวเองต้องการ เป็นเวลาหลายปีที่ Gary Chua Lee Heng เคยมีความคิดที่จะเริ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของตัวเอง และในที่สุด เมื่อเขามีอายุ 33 ปี ก็มีธุรกิจเป็นของตัวเองที่ Bedok North แล้ว นั่นก็คือร้าน Tsuki Ramen เขาตัดสินใจเปิดร้านอาหาร เน้นขายราเมนเป็นหลัก โดยขายราเมน 1 ชามในราคาสบายกระเป๋าเพียง $6.90 หรือประมาณ 225 บาท รวมถึงอาหารญี่ปุ่นราคาไม่แพง อย่าง เกี๊ยวซ่าหมูและคาราอาเกะไก่ ต้องบอกว่า Gary Chua Lee Heng เคยทำงานเป็นเชฟอยู่ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นอีกร้านหนึ่ง คือร้าน Takagi Ramen ก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ความหลงใหลอันลึกซึ้งต่อราเมน “ผมเลือกที่จะเปิดกิจการของตัวเองซึ่งขับเคลื่อนด้วยความหลงใหลอย่างลึกซึ้งในราเมน” เขาบอก เขาเชื่อมั่นอย่างยิ่งในศักยภาพของ Tsuki Ramen และรู้สึกว่าตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มต้นการเดินทางครั้งนี้และสร้างสรรค์สิ่งที่มีคว
จากราเมน สู่ Cha-Men เมนูไวรัล ถ่ายรูปสวย อินฟลูฯ แห่รีวิว ขายดีสุดพีก 400 แก้วต่อวัน ชา เครื่องดื่มยอดนิยมของคนไทย ที่ไม่ว่าจะสะดุดไปที่มุมไหนของเมือง เมื่อเงยหน้ามาก็ต้องพบกับร้านชาอยู่ที่แห่งใดสักที่หนึ่ง ทั้งชานมไต้หวัน ชาไทย ชาจีน ชาไข่มุก ร้านน้ำชา หรือแม้แต่ขนมปังชาเย็น สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยผูกพันกับ ชา มาอย่างยาวนานไม่เคยขาด แต่ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา คงไม่มีร้านชาแบรนด์ไหนที่ถูกพูดถึงกันมากในโซเชียลมีเดียทั้งใน TikTok และ Facebook จนกลายเป็นไวรัลชนิดที่ว่า ใครไปเที่ยวตลาดปลาบางแสน จังหวัดชลบุรี ก็ต่างต้องตรงไปตามหา Cha-Men ชานมไข่มุกหน้าตาแปลกใหม่ไอเดียบรรเจิด ที่มีการตกแต่งหน้าตาเหมือน ราเมน และถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ‘ชาเมน’ ที่มาที่ไปของ Cha-Men คุณปิยนุช ภู่ทิม หรือ หมอ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เล่าให้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ฟังว่า จุดเริ่มต้นของ Cha-Men เกิดจากความชื่นชอบในการดื่มชาเป็นชีวิตจิตใจของตัวเธอเอง ชนิดที่ว่าขาดไม่ได้เลยแม้แต่วันเดียว พอวันที่ตัดสินใจอยากทำธุรกิจก็มานั่งนึกว่ามีอะไรที่ตัวเองอินบ้าง สิ่งนั้นก็หนีไม่พ้น ชา จึงเริ่มสำรวจตลาดจนพบว่า ปัจจุบันในตลาดชา แบรนด์ที่อยู
ราเมนรถเข็น สูตรต้นตำรับจากญี่ปุ่นแท้ๆ ราเมนรถเข็น สูตรต้นตำรับจากญี่ปุ่นแท้ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ราคาเพียง ชามละ 59 บาท มีให้เลือกถึง 4 น้ำซุป อร่อยคุ้มค่าเกินราคา ใช้เวลาเคี่ยวซุปนานถึง 10 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ซุปที่เข้มข้น กลมกล่อม ใครที่สนใจอยากเป็นครอบครัวแฟรนไชส์ “ซามูไรราเมง” ราคาเริ่มต้นเพียง 19,000 บาท ขั้นตอนการทำก็ง่าย เพียงแค่ 3 ขั้นตอน ราเมนต้นตำรับญี่ปุ่น ทำง่าย ลงทุนน้อย คืนทุนไว มีแพ็กเกจแฟรนไชส์ให้เลือกถึง 3 แพ็กเกจ Package A เซตสุดคุ้มพร้อมเปิดร้าน รถเข็นราเมนสไตล์ยาไต อุปกรณ์ทำราเมนแบบครบครัน Package B อุปกรณ์ครบเซต สามารถนำไปตกแต่งร้านได้ตามสไตล์ที่ต้องการ Package C ขายออนไลน์ก็ได้ หรือนำไปเป็นเมนูเสริมในร้านเพิ่มยอดขายก็ปัง สนใจติดต่อได้ที่ Facebook : Samurai Ramen โทร. : 097-323-1628
39RAMEN ร้านราเมนเล็กๆ ในซอยอารีย์ มีพื้นที่ขายเพียง 2×2 เมตร แต่สร้างรายได้วันละหลักหมื่นบาท จากการขายราเมน เริ่มต้นชามละ 39 บาท เรื่องราวของ 39RAMEN เป็นมาอย่างไร ทำไมถึงขายดีต่อเนื่องทุกวัน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาทุกคนไปพูดคุยกับ คุณเมย์-ณปภัช วรปัญญาสถิต เจ้าของ 39RAMEN แรกเริ่มเดิมที คุณเมย์เคยทำงานเป็นแอร์โฮสเตสนาน 5 ปี และเปิดบริษัททัวร์อีก 10 ปี จนกระทั่งเจอโควิดทำให้มีรายได้เป็นศูนย์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีธุรกิจร้านชานมไข่มุก “AM Tea” ที่บุกเบิกในกัมพูชา ก่อนตัดสินใจมาขยายสาขาในไทยจนเติบโตกว่า 130 สาขา และ 5 สาขาในกัมพูชา จากนั้นได้ขยายชานมแบรนด์อื่นเรื่อยมา อาทิ เออร์ เต คาเฟ่ (Er Te Café) ที่สยามพารากอน และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และอีกแบรนด์คือเจ๊พงษ์ลูกชิ้นยืนกินบุรีรัมย์ ที่เติบโต 300 สาขา ขยายต่อสู่ธุรกิจอาหาร จากธุรกิจเครื่องดื่มขยับสู่ธุรกิจอาหาร ด้วยคุณเมย์เคยเป็นแอร์ฯ ที่ญี่ปุ่น ทำให้เห็นว่าตามถนนมีร้านราเมนเล็กๆ เปิดขายจำนวนมาก ต่างกับไทยที่ต้องอยู่ในห้างและราคาสูง จึงเกิดแนวคิดอยากทำให้เข้าถึงง่าย โดยชวนพาร์ตเนอร์ที่ทำร้านบุฟเฟต์สไตล์
ราเมน 25 บาท เปิดไม่กี่เดือน ลูกค้าแน่นร้าน ขายดีวันละ 1,000 ชาม สำหรับใครที่ชอบทานอาหารญี่ปุ่น อย่าง ราเมน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีมาแนะนำ ร้านนี้ตั้งอยู่ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ชื่อว่า “Ramen a ราเมนนะ” มีความพิเศษ คือ ขายชามละ 25 บาท อัดแน่นคุณภาพ และน้ำซุปกลมกล่อม ที่เจ้าของร้านสาววัย 33 ปี คุณจิ๊บ-ปูริดา ฑิธฐะโกศล ปรับสูตรให้เข้ากับคนไทย จนสามารถสร้างยอดขายได้วันละ 1,000 ชาม ยอดขาย 7 หลักต่อเดือน จากเลขา สู่เจ้าของ ร้านอาหารญี่ปุ่น 2 แห่ง คุณจิ๊บ ย้อนประวัติให้ฟัง เธอเคยทำงานประจำเป็นเลขา จนเมื่อประสบอุบัติเหตุทางถนน ทำให้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนต้องสิ้นสุดลง เมื่อว่างจากงาน จึงได้หาธุรกิจทำ คือเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นเล็กๆ ร่วมกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น ปีแรกยังช่วยกันทำ ส่วน 4 ปีหลัง บริหารงานเองคนเดียว ส่วนร้านราเมนนะ ก็ต่อยอดมาจากความชอบอาหารญี่ปุ่นเช่นกัน โดยเฉพาะราเมน อยากทานชามเล็ก หลายๆ น้ำซุปในครั้งเดียว แต่ก็ไม่เคยหาได้ จึงตัดสินใจเปิดร้านนี้ขึ้นมา เธอร่วมกันพัฒนาสูตรน้ำซุปกับเชฟคนไทย เพื่อให้เข้ากับคนไทยมากที่สุด “ราเมนนะ มีน้ำซุป 5 อย่าง คือ ซุปปลา ซุปโชยุ ซุปทงคตสึ ซุปแ
5 เทคนิค จับเทรนด์อาหารสู่การใช้งานจริง เพื่อผู้ประกอบการร้านอาหาร ยูนิลีเวอร์ ฟู้ดโซลูชั่นส์ เปิด 5 เทคนิคสุดสร้างสรรค์ที่ผู้ประกอบการจะนำเอาเทรนด์ไปต่อยอดกับร้านอาหารของตนเอง ได้ง่ายๆ 1) นำ “ชาม” มาเป็นส่วนประกอบของเมนูอาหาร จากเทรนด์ Food Bowl ที่เกิดจากกระแส #Bowl ในโซเชียลมีเดีย สู่การอธิบายเชิงจิตวิทยาถึงการรับประทานอาหารใน “ชาม” โดยนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด Charles Spence กล่าวว่า “ความมหัศจรรย์ขณะที่ผู้คนโอบอุ้มภาชนะชามที่มีน้ำหนักในมือ สมองจะจินตนาการไปถึงความอร่อยล่วงหน้าแล้ว ประสาทสัมผัสจะทำงานเต็มที่ ประกอบกับกลิ่นหอมจากเครื่องปรุงที่ส่งกลิ่นเข้มข้น เสริมให้ต่อมรับรู้ทำงาน ทำให้เกิดเป็นความอร่อยล้ำกว่าเดิม” จะเห็นได้ว่านอกจากเมนูอาหารในชามที่เราคุ้นเคยอย่าง ก๋วยเตี๋ยว สุกี้ หรือราเมนแล้ว ยังจะได้เห็นเมนูข้าวหน้าต่างๆ หรือ สลัด แปลงร่างมาอยู่ในชามกันมากขึ้น สําหรับร้านอาหารสามารถประยุกต์เมนูชามอาหาร เริ่มจากการเปลี่ยนเมนูบางอย่างมาอยู่บนภาชนะดังกล่าว เลือกเอาเมนูที่จะอร่อยยิ่งขึ้นถ้าคลุกเคล้าให้เข้ากัน เช่น สลัดต่างๆ หรืออาหารรสชาติกลางๆ เพื่อให้ส่วนโค้งเว้าของช