ลิ้นมังกร
‘ช่างภาพ’ งานหดเพราะพิษโควิด ผันตัวขายต้นไม้ สร้างเรื่องราวบนรูปถ่าย ต่อยอดเปิดแกลลอรี่ กระแสความนิยม ‘ไม้ฟอกอากาศ’ ของคนเมืองหลวง ถูกปลุกขึ้นอีกครั้งด้วยโซเชียลมีเดีย ทั้งการประมูลแบบเรียลไทม์ ขายกันแบบดีลิเวอรี่ รวมถึงดาราก็หันมาปลูก ส่งให้ตลาดนี้คึกคักตามไปด้วย “Grab Grow Green” ร้านขายไม้ประดับออนไลน์ ที่เกิดขึ้นจากงานอดิเรกและถูกพัฒนาขึ้นจนกลายมาเป็นงานหลัก พร้อมสร้างจุดขายผ่านภาพถ่ายในมุมมองที่แปลกตา คุณวิทิตา ลีลาสุธานนท์ เจ้าของร้านไม้ประดับออนไลน์ เล่าว่า อดีตเคยเป็นช่างภาพของโรงแรมตรีสรา จ.ภูเก็ต ปัจจุบันป็นช่างภาพฟรีแลนซ์ ชอบปลูกต้นไม้เป็นงานอดิเรก ไม้ประดับชนิดแรกที่ปลูก คือ “ต้นมอนสเตอร่า” มีฉายาว่า “ราชินีแห่งใบไม้” ใบสวย สีเขียวสบายตา พันธุ์ไม้ชนิดนี้ใครเห็นก็ชอบ จากลองปลูกเล่นๆ ต่อมาลองปลูกขาย ในตอนแรกขายไม่จริงจัง ส่วนใหญ่จะขายให้กับลูกค้าที่รู้จักและสนใจ หลังจากที่ลูกค้าได้รับต้นไม้ ได้มีการบอกต่อๆ กัน คุณวิทิตา บอกว่า กระแสการตอบรับค่อยๆ ดีขึ้น ประกอบกับเจอสถานการณ์โควิด-19 ผลกระทบงานช่างภาพเงียบเหงา ด้วยเหตุนี้ จึงหันมาจริงจังกับการปลูกและขายไม้ประดับ จน
สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย กระทุ้งกระทรวงเกษตรฯ เร่งยื่นคัดค้านต่างชาติฉกจดสิทธิบัตร”ลิ้นมังกร” เป็นพันธุ์พืชในสหรัฐ-อียูซ้ำรอย “จัสมินไรซ์” ผู้ประกอบการหวั่นไทยสูญเสียตลาดส่งออกไม้ประดับเบอร์ 2 รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ นายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้สมาคมได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เร่งดำเนินการปกป้องสิทธิพันธุ์พืช “ต้นลิ้นมังกร” (Sansevieria cylindrica “Boncel”) ซึ่งพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปของไทย หลังจาก Johannes Wilhelmus Maria Scheffers ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชนี้ที่สำนักงาน Community Plant Variety Office (CPOV) ในสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 จากก่อนหน้านี้ที่บุคคลดังกล่าวได้ยื่นจดคุ้มครองสิทธิบัตรพันธุ์พืชนี้ไปแล้วในสหรัฐ (Sansevieria cylindrica “SAN201202”) เมื่อเดือนกันยายน 2557 ส่งผลกระทบทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่สามารถส่งออกลิ้นมังกรไปยังตลาดสหรัฐได้ ขณะที่การเพิกถอนสิทธิบัตรทำได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายสูงทำให้ไทยต้องเสียตลาดส่งออกพันธุ์พืช