วรรณทนีย์ มีศิลป์
ยึดทำเลสยามสแควร์มานานกว่า 3 ทศวรรษ ครองใจลูกค้าในละแวกนี้ และผู้ที่ผ่านไปผ่านมา สำหรับขนมครกใบเตย หรือ ขนมครกสิงคโปร์ ที่ชื่อเสียงโด่งดังบอกปากต่อปาก ว่าเป็นขนมครกที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ แป้งหนึบๆ สีเขียว หอมกลิ่นใบเตยชวนให้รับประทาน และไม่ว่าจะมีขนมสัญชาติต่างๆ ถาโถมเข้ามา ร้านขนมไทยแห่งนี้ก็ยังยืนหยัดขายได้มานานกว่า 30 ปี คุณวรรณทนีย์ มีศิลป์ หรือคุณป้าตุ๊กตา อายุ 59 ปี ทายาทรุ่น 2 เจ้าของร้านขนมครกใบเตย สยามสแควร์ เล่าว่า ย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้ว คุณแม่มีอาชีพขายขนมครกใบเตย โดยท่านเดินหาบเร่ขายแถวสยาม ต่อมาเมื่ออายุมากขึ้น เปลี่ยนเป็นรถเข็น กระทั่งทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มีการจัดระเบียบร้านค้าในสยามสแควร์ เห็นว่าคุณแม่ขายมานานเป็นคนเก่าแก่ในย่านนี้ เลยช่วยจัดสรรพื้นที่ให้ขายเป็นเรื่องเป็นราว เดิมทีร้านตั้งอยู่ ซอย 2 ต่อมาถูกย้ายไปซอย 4 กระทั่งปัจจุบันมี 2 สาขาอยู่ซอย 5 หน้าศูนย์หนังสือจุฬา และซอย 8 ข้างโรงแรมโนโวเทล คุณป้าตุ๊กตา บอกว่า ในสมัยก่อนคุณแม่จะใช้เตาถ่านย่างขนม แต่หลังจากขยับขึ้นมามีหน้าร้าน ธุรกิจมีการขยับขยายและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เลยเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊ส แต่อย่างไรก็ตาม
ยึดทำเลสยามสแควร์มานานกว่า 3 ทศวรรษ ครองใจลูกค้าในละแวกนี้ และผู้ที่ผ่านไปผ่านมา สำหรับขนมครกใบเตย หรือ ขนมครกสิงคโปร์ ที่ชื่อเสียงโด่งดังบอกปากต่อปาก ว่าเป็นขนมครกที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ แป้งหนึบๆ สีเขียว หอมกลิ่นใบเตยชวนให้รับประทาน และไม่ว่าจะมีขนมสัญชาติต่างๆ ถาโถมเข้ามา ร้านขนมไทยแห่งนี้ก็ยังยืนหยัดขายได้มานานกว่า 30 ปี คุณวรรณทนีย์ มีศิลป์ หรือคุณป้าตุ๊กตา อายุ 59 ปี ทายาทรุ่น 2 เจ้าของร้านขนมครกใบเตย สยามสแควร์ เล่าว่า ย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้ว คุณแม่มีอาชีพขายขนมครกใบเตย โดยท่านเดินหาบเร่ขายแถวสยาม ต่อมาเมื่ออายุมากขึ้น เปลี่ยนเป็นรถเข็น กระทั่งทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มีการจัดระเบียบร้านค้าในสยามสแควร์ เห็นว่าคุณแม่ขายมานานเป็นคนเก่าแก่ในย่านนี้ เลยช่วยจัดสรรพื้นที่ให้ขายเป็นเรื่องเป็นราว เดิมทีร้านตั้งอยู่ ซอย 2 ต่อมาถูกย้ายไปซอย 4 กระทั่งปัจจุบันมี 2 สาขาอยู่ซอย 5 หน้าศูนย์หนังสือจุฬา และซอย 8 ข้างโรงแรมโนโวเทล คุณป้าตุ๊กตา บอกว่า ในสมัยก่อนคุณแม่จะใช้เตาถ่านย่างขนม แต่หลังจากขยับขึ้นมามีหน้าร้าน ธุรกิจมีการขยับขยายและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เลยเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊ส แต่อย่าง