วว
วว. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Thai Cos for Thai’s SMEs” เพิ่มศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Thai Cos for Thai’s SMEs ภายใต้การดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานด้านการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในระดับอุดสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดโดย กองบริการธุรกิจและนวัตกรรม สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สจท.) วว. ถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญของ วว. จากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) และศูนย์บริการนวัตกรรมเวชสำอางแบบครบวงจร (ICOS) ในวันที่ 4 มีนาคม 2567 ณ ห้องบ่มเพาะธุรกิจ ชั้น 1 อาคาร 60 ปี วว. ศูนย์บ่มเพาะ SMEs เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี โดยมีหัวข้อการสัมมนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ได้แก่ การออกแบบการสื่อสารการตลาดสำคัญอย่างไรสำหรั
วว. ต้อนรับ ธ.ก.ส. / SME เกษตรหัวขบวน ในโอกาสฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เพื่อการพัฒนาฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อย ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานต้อนรับ นายเกียรติศักดิ์ พระวร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมคณะเกษตรกร ภายใต้โครงการ “การยกระดับ SME เกษตรหัวขบวน สู่แกนกลางเกษตรไทย” เพื่อการฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ในโอกาสฝึกอบรมและศึกษาดูงานภารกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) โอกาสนี้ นายจิรศักดิ์ สุยาคำ ผอ.สำนักพัฒนา SME และ Startup ธ.ก.ส. บรรยายเกี่ยวกับกรอบความรู้ด้านบทบาทของหัวขบวน SME เกษตร การเสริมสร้างขีดความสามารถและการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อย ในส่วน วว. โดย ดร.รัชนีวรรณ กุลจันทร์ ผอ.ห้องปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย บรรยายให้ความรู้เรื่อง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มยกระดับผลิตภัณฑ์ ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ บรรยายเกี่ยว
เปิด 3 หลักสูตร อัปเกรดเกษตรกร สร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ให้ธุรกิจมะม่วงหิมพานต์ “มะม่วงหิมพานต์” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เป็นพืชที่ทนแล้ง ปลูกง่ายในสภาพอากาศชื้นและอบอุ่น น้ำไม่ท่วมขัง โดยจะให้ผลผลิตเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ในส่วนของเมล็ดจำหน่ายได้ทั้งเมล็ดดิบทั้งเปลือกหรือผ่านกระบวนการผลิต และแปรรูปทั้งกะเทาะเปลือกหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว โดยสามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ราคา 20-50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ขึ้นกับคุณภาพผลผลิตและราคาตลาด ในขั้นตอนของการผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบ เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพนั้น หากเกษตรกรดูแลและจัดการในแปลงปลูกดี ด้วยการใส่ปุ๋ย รดน้ำ ทำการตัดแต่งกิ่งตามระยะเวลาที่กำหนด ควบคู่ไปกับการจัดการในช่วงการเก็บเกี่ยว โดยการคัดแยกคุณภาพ หรือคัดขนาดเป็นเกรดตามที่ผู้รับซื้อกำหนด จะช่วยให้จำหน่ายผลผลิตได้ราคาเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปผู้รับซื้อเมล็ดดิบจะรับซื้อผลผลิตโดยพิจารณาจากคุณภาพของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งเปลือก (เมล็ดดิบ) ได้แก่ 1) เมล็ดที่ตากแล้วและได้ความชื้นตามที่กำหนด 2) จำนวนเมล็ด เมล็ดทั้งเปลือกต่อน้ำหนั
คนไทยเจ๋ง! เปลี่ยน แตงไทย ผลไม้แก้หวัด สู่ นวัตกรรมชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังผู้สูงอายุ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (InnoHerb) ดำเนินงานตามนโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ประสบผลสำเร็จพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เพื่อชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังสำหรับผู้สูงอายุ จากพืชสมุนไพรตระกูลเมลอน “แตงไทย” รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2570 ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ความสำเร็จของ วว. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากพืชสมุนไพร “แตงไทย” ซึ่งอยู่ในตระกูลเมลอน (Cucumis melo) และเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัย “การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เภสัชโภชนภัณฑ์เพื่อชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังสำหรับผู้สูงอายุจากสารรงควัตถุในพืชสมุนไพรสู่ประเทศไทย 4.0” นับเป็นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าห
ต่อยอด ถั่งเช่า สู่ สารสกัดผสมอาหาร ทางเลือกใหม่ผู้บริโภค สร้างเงินให้เกษตรกร-ผปก. ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า จากความสำเร็จของ วว. โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา กลุ่มงานบริการอุตสาหกรรม ภายใต้การดำเนิน “โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอาหารปลอดภัย” ในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ให้มีสารสำคัญทางยาสมุนไพร อย่างเช่น Cordycepin และ Adenosine ซึ่งมีอยู่ในถั่งเช่า ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดและช่วยเรื่องภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันภัยคุกคามจากเชื้อโรคในปัจจุบัน และสารสำคัญอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจุบันเกษตรกรร่วมกับ วว. อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาต่อยอด ที่จะทำให้เกิดสารสำคัญในข้าวสายพันธุ์อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ รวมทั้งทำการทดลองกับพืชเกษตรชนิดอื่นที่มีอยู่ในพื้นที่และมีศักยภาพเศรษฐกิจด้านสมุนไพร เช่น เตยหอม ต้นใบบัวบก ข่าตาแดง รวมทั้งมะพร้าวน้ำหอม พร้อมทั้งอยู่ระหว่างการแปรรูปใบข้าวที่มีสารสำคัญของถั่งเช่า โดยวิธีการสกัดให้เป็นผงสำหรับนำไ
ครั้งแรกของไทย! ผ้าทอสะท้อนความร้อน ผลผลิตจากการเพิ่มมูลค่า ด้วย เทคโนโลยีย้อมผ้าพื้นถิ่นด้วยดินลูกรัง บ้านสันติภาพพัฒนา ตำบลโนนป่าซาง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย เป็นแหล่งที่มีดินลูกรังสีแดงสดและมีพืชที่มีเปลือกให้สีหลายชนิด เช่น ประดู่ จาน (ทองกวาว) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพืชที่เปลือกมีความเป็นด่างสูงเป็นจำนวนมาก อาทิ ยูคาลิปตัส ฝรั่ง จากความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าว ทีมวิจัย วว. นำโดย ดร.ชุมพล บุษบก นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ วว. กล่าวว่า ตนและทีมงานได้นำวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ มาพัฒนาเพื่อให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างจากงานของกลุ่มทอผ้าและตัดเย็บบ้านสันติภาพเดิม เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นกับชุมชน คือ การใช้เม็ดสีจากดินลูกรังที่ถูกพัฒนาให้สะท้อนความร้อนด้วยเทคโนโลยีที่ วว. พัฒนาขึ้น แล้วนำไปย้อมด้ายโดยผสมกับน้ำเปลือกไม้เพื่อช่วยในการกระจายตัวและยึดติดกับด้าย จากนั้นใช้พืชที่มีความเป็นด่างสูงในการตรึงสีของดินไม่ให้หลุดออกจากด้ายอีกครั้ง แล้วนำไปทอเป็นผืน ทำให้ผ้าทอเป็นผ้าสะท้อนความร้อนและมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งยังไม่มีพื้นที่อื่นผลิตผ้าชนิดนี้ นอกจากนี้ วว. ยังได้ออกแบบสัญ
วว. โชว์ ภาชนะจากใบไม้และเยื่อพืช ทดแทนการใช้พลาสติก เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนาภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ 2 ผลงานวิจัย ได้แก่ ภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืช เพื่อเป็นวัสดุทดแทนการใช้พลาสติก ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระบุเป็นผลงานรูปธรรมในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG “วว. มุ่งเน้นการดำเนินงานวิจัยพัฒนาและบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศ การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยการพัฒนาเป็นภาชนะในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันจึงมีประโยชน์ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มช่องทางการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพให้กับสังคม” “ภาชนะใบไม้และภาชนะจากเยื่อพืชมีข้อดีคือ ช่วยลดการใช้ภาชนะพลาสติกและโฟมสำหรับใส่อาหาร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาขยะพลาสติกที่มีผลต่อสภาวะ
ProSkin Series เครื่องสำอางจากสารสกัดจุลินทรีย์โพรไบโอติก ฝีมือนักวิจัยไทย! กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ประสบผลสำเร็จวิจัยพัฒนา ผลิตภัณฑ์ “ProSkin Series” เครื่องสำอางจากสารสกัดจุลินทรีย์โพรไบโอติก ระบุประสิทธิภาพช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเกราะคุ้มกันผิว ลดการสูญเสียน้ำใต้ผิวหนัง ลดความหมองคล้ำ ช่วยปกป้องผิวจากเชื้อโรคและมลภาวะ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ ProSkin Series เครื่องสำอางจากสารสกัดจุลินทรีย์โพรไบโอติก เป็นผลสำเร็จจากการบูรณาการวิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร และศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในส่วนของ ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของ วว. เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ มุ่งเป้าระยะยาวเพื่อชดเชยการนำเข้าหัวเชื้อให้ได้ 100% สำหรับการวิจัยพัฒนา ผลิต บริการ ด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากโพรไบโอต
ผักกูด ผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ ปลูกอย่างไร ให้ได้กิน ได้ขายสร้างอาชีพ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ประสบผลสำเร็จในการศึกษาระบบการปลูกผักกูดเป็นการค้า การคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิต และส่งเสริมการปลูกผักกูดในระบบปลอดสารพิษแก่เกษตรกร เพื่อให้ผักกูดเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการผลิตพืชผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวในวงกว้าง จึงได้นำความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ผ่านการอบรมออนไลน์หลักสูตร โดยมี นายวิเซ็น ดวงสา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ สถานีวิจัยลำตะคอง และ คุณอาคม ทัศนะนาคะจิตต์ พันธมิตรเครือข่ายเกษตรกร และเป็นเจ้าของสวนผักกูดปากช่อง ซึ่ง วว. ให้การสนับสนุนด้านวิชาการตั้งแต่เริ่มต้นกิจการจวบปัจจุบัน สามารถปลูกผักกูดเป็นอาชีพหลักบนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณวันละ 20-30 กก. และยังเป็นสวนผักกูดรายเดียวและรายแรกของจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์จากกรมวิชาการเ
ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิว จากสาหร่ายพันธุ์ไทย โดยฝีมือคนไทยสุดเจ๋ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ชูผลสำเร็จงานวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวจากสาหร่ายพันธุ์ไทย” ระบุอุดมด้วยสารที่มีคุณประโยชน์ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ มุ่งหวังให้เป็นต้นแบบในการนำสาหร่ายไปใช้ประโยชน์ให้หลากหลาย สร้างความแข็งแกร่งแก่เศรษฐกิจประเทศจากความหลากหลายทางชีวภาพ ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ขณะนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. ประสบผลสำเร็จในการเพิ่มมูลค่าสาหร่ายพันธุ์ไทย โดยการวิจัยและพัฒนาเป็นต้นแบบในกระบวนการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิว” เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของศักยภาพสาหร่ายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจ ดังนี้ ครีมกันแดดผสมสารกลุ่มแซนโทฟิลล์จากสาหร่าย (Coelastrum morus) SPF50 PA++++ ช่วยป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีในแสงแดด ป้องกันการเกิดริ้วรอย ช่วยไม่ให้ผิวหนังเหี่ยวย่นหรื