วัคซีน COVID-19
ผู้ที่หายป่วยจาก โควิด-19 จำเป็นที่จะต้องให้วัคซีนหรือไม่ วันที่ 19 พ.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” โดยระบุว่า “ในปัจจุบันทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคโควิด-19 เมื่อหายแล้วสามารถเป็นกลับซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่จะเป็นหลัง 3 เดือนไปแล้ว ผู้ที่เป็น COVID-19 แล้วจึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีน หลัง 3 เดือนไปแล้ว จากการศึกษาเบื้องต้นที่ลงพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine พบว่า การให้วัคซีนในผู้ที่หายป่วยจาก COVID-19 แล้ว การให้เพียงครั้งเดียวจะมีระดับภูมิต้านทานกระตุ้นได้สูงเท่ากับคนธรรมดาที่ไม่เคยป่วยและให้วัคซีนครบ 2 ครั้ง ผู้ที่หายป่วย ควรได้รับวัคซีนหลังจาก 3 เดือนนับจากการติดเชื้อ ส่วนจะให้ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจน แต่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าภูมิต้านทาน ของผู้ที่หายป่วยแล้วจะเริ่มลดลงหลัง 6 เดือนและลดลงไปเรื่อยๆ ทางศูนย์ที่ดูแลอยู่ ขณะนี้ทำการศึกษาในผู้ที่หายป่วยในช่วง 3-6 เดือนจะให้วัคซีนกระตุ้น 1 ครั้ง และผู้ที่หายป่วยเกินกว่า 6 เดือนหรือเป็นปีแล้ว
แอสตร้าเซนเนก้า เผย ความคืบหน้าด้านความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากกรณีที่หลายฝ่ายมีความกังวลถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แอสตร้าเซนเนก้า ขอยืนยันถึงความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จากข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และขอยืนยันว่าแอสตร้าเซนเนก้าให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก โดยบริษัทฯ จะยังคงดำเนินการตรวจสอบและติดตามผลด้านความปลอดภัยของวัคซีนอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาทบทวนอย่างละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากับประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่า 17 ล้านรายในสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ไม่พบว่ามีหลักฐานใดชี้ให้เห็นถึงอัตราความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก หรือ ภาวะเกล็ดเลือดตํ่า ในกลุ่มอายุ เพศ รุ่นการผลิต หรือไม่ว่าจะในประเทศใดก็ตาม จากข้อมูลจนถึงวันที่ 8 มีนาคม บริษัทฯ ได้รับรายงานถึงอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกในผู้ที่เข้ารับการฉีด
นพ.ยง เผยประสิทธิภาพวัคซีน ชี้ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเลือก ว่าอยากได้วัคซีนชนิดใด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “โควิด-19 วัคซีน ไม่ได้เกี่ยวกับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีผลประโยชน์ใดๆ หลายคนอยากทราบข้อมูลของวัคซีนที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย ถึงประสิทธิภาพ ผมก็ขอสรุป ตามข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด รายละเอียดของประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับจุดตัดที่ความรุนแรงของโรค ตามระดับขององค์การอนามัยโลกว่าจะ ตัด ที่ระดับ 3 หรือระดับ 4 เอาเป็นว่าระดับ 4 คือ ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล และที่ว่าทำไม วัคซีนของจีน ทำไมไม่ศึกษาระยะที่ 3 ในประเทศจีน ในเมื่อประเทศจีนไม่มีการระบาดของโรค จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะทำในประเทศจีน ต้องไปทำในประเทศที่มีการระบาดสูง ไม่เหมือนวัคซีนของทางตะวันตกที่มีการระบาดของโรคอย่างมากในอเมริกาและอังกฤษ ในอนาคตวัคซีนของประเทศไทย ถ้าพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 3 และการระบาดของโรคยังเป็นอย่างปัจจุบัน การศึกษาวิจัยในระยะที่ 3 ก็ต้องไปทำต่างประเทศเหมือนกัน โดยเฉพาะที่มีการระบาดอย่างสูง จึงจะเ
ชัชชาติ เปิดงบ กทม. เหลือ 5 หมื่นกว่าล้าน ซื้อวัคซีนโควิดฉีดเองได้สบาย เมื่อวันที่ 13 มกราคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89 กำหนดให้กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ในการดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องต่างๆ รวม 27 เรื่อง โดยรวมถึงข้อ (16) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการพยาบาล ปี 2563 กทม. ประมาณการรายได้ไว้ที่ 83,000 ล้านบาท และเมื่อดูจากสถานะการเงินในรายงานของสำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2562 กทม. มีเงินสะสมปลอดภาระผูกพันสูงถึง 53,568 ล้านบาท (จริงๆ แล้วก็คือเงินภาษีที่เก็บมาจากประชาชนที่ยังไม่ได้ใช้) กทม. มีประชากรตามทะเบียนประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน ถ้ารวมคนที่เข้ามาทำงานด้วยอีกประมาณสองล้านกว่าคน รวมแล้ว 8 ล้านคน ถ้าเราจะฉีดวัคซีนโควิดให้ทุกคน คนละ 2 โด๊ส ที่ราคา 1,000 บาทต่อคน จะใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่ง กทม. มีเงินสะสมมากพอที่จะรับภาระแทนประชาชนได้ทันที การสร้างความมั่นใจด้านสุขภาพเป็นสิ่งสำค
หมอยง เสนอรัฐบาล ให้เอกชนช่วยนำเข้าวัคซีน แบ่งเบาภาระ วันที่ 30 ธันวาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน 1. ขณะนี้ ทั่วโลก วัคซีนโควิด ที่ได้ขึ้นทะเบียนให้ฉีดในภาวะฉุกเฉิน มีแล้วถึง 6 ชนิด ของจีน 3 ชนิด รัสเซีย 1 ชนิด อเมริกา 1 ชนิด และอเมริการ่วมกับเยอรมนี 1 ชนิด 2. วัคซีนเป็นเชื้อตาย 2 ชนิดของจีน ไวรัสเวกเตอร์ 2 ชนิดเป็นของจีนและรัสเซีย และ mRNA 2 ชนิดเป็นของอเมริกา และอเมริการ่วมกับเยอรมนี 3. วัคซีน AstraZeneca ที่ไทยรอคอยอยู่ ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง 4. มีร่วม 10 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนไปแล้ว มากกว่า 5 ล้านโด๊ส และภายในมกราคม จะมีการฉีดอีกหลายสิบเท่า ซึ่งคาดว่าจะเป็นร้อยล้านโด๊ส 5. ประเทศต่างๆ ได้ขึ้นทะเบียน หรือทะเบียนในภาวะฉุกเฉินในวัคซีนบางตัว มากกว่า 30 ประเทศ และรวม EU ทั้งหมด แสดงว่าจะมีการฉีดเป็นจำนวนมาก ในเดือนมกราคม ทำไมประเทศไทยจึงช้าในเรื่องวัคซีนโควิด 1. เพราะเรามุ่งอยู่กับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ของ AstraZeneca อย่างเดียวหรือ?
ธนาคารกรุงเทพ จัดสัมมนาออนไลน์ วัคซีน COVID-19 กับความหวังเศรษฐกิจไทย นายวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับ 2 กูรูผู้เชี่ยวชาญ นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการ บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมวัคซีน และ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะกูรูด้านเศรษฐกิจ โอกาสธนาคารจัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ “วัคซีน COVID-19 กับความหวังเศรษฐกิจไทย” เพื่อร่วมฉายภาพการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก และเจาะลึกพัฒนาการของผู้ผลิตวัคซีนไทย พร้อมกับจับสัญญาณเศรษฐกิจโลก แล้ววิเคราะห์โอกาสเศรษฐกิจของประเทศไทยหากโลกมีวัคซีนโควิด โดยมี นายสุทธิชัย หยุ่น นักสื่อสารมวลชนแถวหน้าของเมืองไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ สำหรับ การจัดสัมมนาออนไลน์ดังกล่าว ธนาคารกรุงเทพได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอย่างรอบด้าน ทั้งสถานการณ์โลก ทิศทางเศรษฐกิจไทย ตลอดจนเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ ปรับตัว และก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในยุคดิจิทัล