วัดร่องขุ่น
วันที่ 25 พ.ค. ที่วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย นายเอกชัย ศักดิ์ทัศนา รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบเคเบิ้ลใต้ดินบริเวณหน้าวัดร่องขุ่น โดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะวัดร่องขุ่นพร้อมผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ใน จ.เชียงราย เข้าร่วม โครงการดังกล่าวกฟภ.ได้รับสนับสนุนงบประมาณ 31,445,000 บาท จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.เชียงราย ให้นำระบบสายไฟฟ้าและเคเบิ้ลต่างๆ ที่อยู่บริเวณถนนหน้าวัดร่องขุ่นออกและใช้ระบบเคเบิ้ลใต้ดินดังกล่าวแทน เพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามไม่บดบงสถานที่ท่องเที่ยว นายเอกชัย เปิดเผยว่าปัจจุบัน กฟภ.ให้ความสำคัญกับชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมีแผนจะนำระบบไฟฟ้าใต้ดินไปใช้ในเมืองหลักประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ พัทยา นครราชสีมา และหาดใหญ่ เพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามและส่งเสริมการท่องเที่ยว สำหรับ จ.เชียงราย ถือเป็นการนำร่องโดยได้มีการรื้อถอนเสาไฟฟ้าคอนกรีตจำนวน 29 ต้น รื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงเหนือดินระยะทาง 1,150 วงจรเมตร รื้อถอนสายไฟ้าแรงต่ำเหนือดิน ระยะทาง 400 วงจรเมตร จากนั้
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย ทางวัดได้จัดให้มีพิธีเปิดระฆังวัดร่องขุ่นซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว ตั้งอยู่ใกล้กับกุฏิพระภิกษุภายในวัดและอยู่ด้านข้างต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธประทานโชคลาภ โดยพิธีมีพุทธศาสนิกชนและชมรมรักสะสมพุทธศิลป์ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สวมใส่ชุดขาวเข้าร่วมในพิธีเปิดพร้อมกันกว่า 2,000 คน พิธีจัดให้มีขบวนแห่ทางพุทธศิลป์จากโรงหล่อภายในวัดไปยังบริเวณหอระฆังแห่งใหม่ ซึ่งมีความสวยงามโดยระฆังเป็นสีทองเข้มออกดำใบใหญ่ หล่อด้วยลวดลายศิลปะล้านนาประยุกต์ตามรูปแบบของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชื่อดังผู้สร้างผลงานศิลปะที่วัดร่องขุ่น โดยมีลวดลายสำคัญตรงกลางเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพญานาค พร้อมมีลวดลายที่อ่อนช้อยงดงามทั้งตลอดตัวระฆังและส่วนบนที่เป็นห่วงสำหรับคล้องโซ่ห้อยก็ยังมีความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใครและหาดูชมได้ยาก นอกจากนี้ ส่วนที่ใช้ห้อยระฆังหรือหอระฆังยังออกแบบเป็นสีทองลักษณะรูปทรงเป็นทรงโค้งเป็นเสาอยู่ 2 ข้างระฆัง โดยส่วนบนมีลวดลายที่งดงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเช่นกัน ส่วนด้านข้างนอกจากจะมี
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติและผู้สร้างวัดร่องขุ่นเปิดเผยว่าตนเองก่อสร้างวัดมาเป็นเวลา 19 ปีไม่เคยเรียกเก็บเงินจากผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวเลยแม้แต่บาทเดียวซึ่งก็มีคนบอกให้มีการเก็บมาโดยตลอดแต่ตนตั้งใจที่จะให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งเดียวในโลกที่ไม่มีการเก็บเงินแต่ภายหลังมีคณะกรรมการวัดและหลายฝ่ายเห็นฟ้องที่จะให้มีการจัดเก็บบ้างเพื่อที่จะนำเงินมาบริหารจัดการวัดครั้นที่ตนเองจะไม่ได้อยู่บริหารวัดแล้วก็จะมีเงินงบประมาณมาบริหารจัดการต่อ อาจารย์เฉลิมชัยกล่าวว่าก่อนหน้านี้ตนเองหาเงินจากการขายภาพและการทำหนังสือขายเพื่อเป็นการโปรโมตวัดไปยังประเทศต่างๆ แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มีปีละนับล้านคนก็มาท่องเที่ยวกันเฉยๆไม่คิดจะซื้อ ตนจึงเห็นว่าการเก็บเงินแล้วเอาหนังสือแนะนำแหล่งท่องเที่ยวของวัดร่องขุ่น พร้อมกระเป๋า1ใบให้ติดตัวกลับไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ เพื่อให้คนมาเที่ยวเมืองไทย มากๆ ก็จะเป็นการดีจึงเห็นควรที่จะมีการเก็บแต่จะไม่เก็บแพง ให้เก็บเพียงคนละ50 บาทเท่านั้นโดยจะเก็บเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยก็ยังเที่ยวชมฟรีเหมือนเดิมเพราะวัดร่องขุ้นก็เป็นว