วัตถุโบราณ
กระดาษวาชิ บางเฉียบเหมือนปีกแมลงเม่า คนญี่ปุ่นใช้รักษาของโบราณอายุ 800 ปี จากครั้งหนึ่งที่ “กระดาษวาชิ” มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนญี่ปุ่น ชนิดพูดได้ว่า แทบจะขาดกันไม่ได้ เนื่องจากกระดาษซึ่งมีเนื้อบางเฉียบราวกับหนังกำพร้าของมนุษย์ และเหนียว ทนทานมาก ได้ถูกนำไปใช้ประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้หลายอย่าง ตั้งแต่ใช้เขียนหนังสือ วาดรูป ทำโคมไฟ ร่ม และบานประตูเลื่อนที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น แต่เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้กระดาษวาชิ ซึ่งมีอายุเก่าแก่มากว่า 1,300 ปี และได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ลดฮวบลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ทว่าตอนนี้ ที่โรงงานเล็กๆ ชื่อว่า “ชินเซ” ในเมืองฮิดากะ จังหวัดโคจิ ห่างจากกรุงโตเกียวไป 640 กิโลเมตร นายฮิโรโยชิ ชินเซ ทายาทรุ่นที่ 4 ของผู้ผลิตกระดาษวาชิ กำลังหาวิธีทำให้กระดาษที่ทรงคุณค่าของญี่ปุ่นกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้งทั้งในบ้านและในต่างประเทศ ด้วยลักษณะการนำไปใช้งานที่พิเศษเฉพาะทางจริงๆ โดยที่ผ่านมากระดาษวาชิ จากโรงงานของฮิโรโยชิ ซึ่งได้ชื่อว่า
“ประยุทธ์” รับมอบวัตถุโบราณ ศิลปวัตถุล้ำค่า คืนเป็นสมบัติชาติ หวังกระตุ้นคนไทยรุ่นหลังห่วงแหน แขวะเป็นคนไทยอย่าลืมรากเหง้า ลั่น ให้ร้ายประเทศ อันตรายที่สุด ประยุทธ์ – เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 22 ก.พ.ที่ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร กทม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานพิธีมอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพื่อเป็นสมบัติของชาติ โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวรายงาน จากนั้นนายธรรมฤทธิ์ จิรา ผู้ครอบครองโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จำนวน 104 รายการ ได้มอบบัญชีรายการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้กับนายกฯ เพื่อมอบให้กระทรวงวัฒนธรรมต่อไป ขณะที่นายกฯได้มอบบัตรกิตติมศักดิ์เข้าชมพิพิธภัณสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโรงละครแห่งชาติให้กับนายธรรมฤทธิ์และครอบครัวได้ตลอดชีพ โดยก่อนเริ่มพิธีนายกฯได้เข้าสักการะพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานรับมอบวัตถุโบราณ วัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งถือเป็นสมบัติของชาติที่ล้ำค่า กลับคืนสู่แผ่นดินไทย เพื่อให้คนไทยได้ศึกษ