วิกฤตโควิด
“ขนมเปี๊ยะ เอเชีย เบเกอรี่ฯ” ราคาสบายกระเป๋า เข้าถึงง่าย ขวัญใจแดนอีสาน ขนมเปี๊ยะเอเชีย – ท่ามกลางสินค้ากลุ่มขนมเปี๊ยะและเบเกอรี่ที่มีผู้ผลิตในตลาดจำนวนมาก เอสเอ็มอีรายเล็กๆ ใน จ.นครราชสีมา อย่าง “เอเชีย เบเกอรี่ by เลาหะ” ของ คุณสุพจน์ เลาหะภควัต สามารถสร้างตัวจนเป็นขวัญใจผู้บริโภคชาวอีสานได้อย่างดี คุณสุพจน์ เจ้าของธุรกิจ ได้เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมีกิจการในทุกวันนี้ ย้อนกลับไป 13 ปีที่แล้ว ครอบครัวของเขาโดยมีคุณพ่อและพี่ชาย ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายขนมเปี๊ยะสูตรประจำตระกูลอยู่แล้ว คุณสุพจน์ในตอนนั้น ก็มีโอกาสได้เข้าไปทำงานเป็นพนักงานในโรงงาน เรียนรู้กระบวนการผลิตทุกอย่าง ตั้งแต่การผลิต บริหารงาน ไปจนถึงวิธีการขาย “ส่วนตัวผมฝันไว้ว่า วันหนึ่งจะต้องมีโรงงานขนมเปี๊ยะเป็นของตนเองเหมือนกัน พอได้เข้าไปทำงานในโรงงานของพี่กับพ่อ ก็อาศัยสังเกตจุดเด่นต่างๆ จากพ่อและพี่ชาย ว่าเขาทำยังไรขนมของเขาถึงประสบความสำเร็จ ก็ค่อยๆ เรียนรู้และสังเกต จนรู้และเข้าใจว่าเขาทำยังไง จนปี 60 พี่ชายให้ทุนมาก้อนหนึ่ง ให้มาซื้อที่เปิดโรงงานเองที่นครราชสีมา” คุณสุพจน์ เล่าให้ฟัง จุดเด่นที่เถ้าแก่โรงงาน
เทสโก้ โลตัส บริจาคอาหารครบ 1 ล้านมื้อ สานต่อ 3 พันธกิจ ช่วยลูกค้า-ชุมชนฝ่าโควิด นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เทสโก้ โลตัส ได้วางพันธกิจขององค์กรเอาไว้ 3 ประการ คือ 1. ดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและเพื่อนพนักงาน 2. มีสินค้าจำหน่ายเพียงพอต่อความต้องการ ในราคายุติธรรม และ 3. ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ โดยภายใต้พันธกิจข้อที่ 3 นั้น เทสโก้ โลตัส ได้ตั้งเป้าหมายที่จะบริจาคอาหาร 1 ล้านมื้อ ให้กับชุมชนและประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านโครงการต่างๆ เพื่อกระจายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และทุกภาคส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ตกงาน มูลนิธิต่างๆ รวมไปถึงนักเรียนใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เทสโก้ โลตัส บรรลุเป้าหมายบริจาคอาหารครบ 1 ล้านมื้อตามที่ตั้งใจ โดยได้จัดกิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวันน้องๆ นักเรียน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี “การบริจาคอาหารทั้ง 1 ล้านมื้อ ขับเคลื่อนผ่านโครงการต่างๆ กล่าวคือ โครงการอาหารดี พี่ให้น้อง
นกปีกหัก : วิกฤตอุตสาหกรรมการบินโลก ในยุคโควิด-19 สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกในขณะนี้ยังมีความรุนแรง และยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อย่างใด สาเหตุหลักน่าจะมาจากในบางประเทศมีการควบคุมการแพร่ระบาดในช่วงต้นที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือท่วงทันต่อเหตุการณ์ อาทิ การไม่บังคับหรือรณรงค์ให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัยในหลายๆ ประเทศ ซึ่งเมื่อการระบาดได้ลุกลามและแพร่ไปในวงกว้างแล้ว มาตรการต่างๆ ของรัฐในการป้องกันการแพร่ระบาด แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นมากเพียงใด ก็ไม่สามารถที่จะควบคุมการแพร่ระบาดได้ หากอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ World meters จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกมีประมาณ 170,000 คนต่อวัน สำหรับวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ซึ่ง 1 เดือนก่อนหน้านั้น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกมีเพียงประมาณ 125,000 คนต่อวันเท่านั้น โดยประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวันสูงที่สุดในโลก นอกจากนี้การระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกายังเป็นเพียงการระบาดระลอกที่ 1 เท่านั้น ซึ่งหลายประเทศ การระบาดได้เข้าสู่ระลอกที่ 2 ไปแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อิหร่าน ฯลฯ ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่
กระบวนการฟื้นฟูกิจการ “เครื่องช่วยหายใจ” ของภาคธุรกิจในภาวะวิกฤตโควิด-19 คงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund (IMF) ได้มีการคาดการณ์ใน World Economic Outlook 2020 ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2563 จะติดลบมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 3.3 เปอร์เซ็นต์ โดยการถดถอยของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้นั้น ทาง IMF ได้กล่าวว่า เป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในโลก หรือ The Great Depression ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2472 เลยทีเดียว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2563 หรืออาจจะถึงปี พ.ศ. 2564 ธุรกิจจำนวนมากทั่วโลกและในประเทศไทยเองก็มีโอกาสสูงที่จะประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ซึ่งหลายธุรกิจ อาจประสบปัญหาหนักถึงขั้นเข้าสู่ภาวะล้มละลายเลยทีเดียว บทความนี้ คณะผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะนำเสนอมุมมองและแนวคิดเกี่ยวกับ กระบวนการล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ ซึ