วิกฤตโควิด-19
เปิดบทเรียนสำคัญของ SMEs วิกฤตโควิด-19 ให้อะไรบ้าง ? เหตุเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยกันครั้งใหญ่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้ประกอบการหลายรายสู้ไม่ไหวจนต้องปิดตัวไป แต่ก็มีหลายรายที่พยายามปรับตัวพยุงธุรกิจให้กลับมามียอดขายได้อีกครั้ง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เหล่าผู้ประกอบการได้บทเรียนในหลายๆ เรื่อง ที่สามารถสรุปมาได้ ดังนี้ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน จากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆ ธุรกิจ มีลูกค้าน้อยลง ยอดขายตก หรือไม่สามารถเปิดร้านได้ชั่วคราว ส่งผลให้รายได้ที่เคยมีและน่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กลับลดลงจนไม่พอกับรายจ่าย และต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดกันยกใหญ่ ทั้งการมองหาช่องทางหรือพัฒนาทักษะเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม ขายของออนไลน์ ทำอาหารขาย ขับรถส่งของ สอนพิเศษ หรืองานอื่นๆ เพื่อให้มีรายได้มากกว่าหนึ่งทาง เพราะเมื่อรายได้จากงานหลักลดลง รายได้เสริมเหล่านี้ อาจช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ ร้านค้าออนไลน์แหล่งรายได้สำคัญ คนส่วนใหญ่รักในความสะดวกสบาย ยิ่งเมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิดเข้ามา ลูกค้าจึงกลัวที่จะออกจากบ้านหรือเดินทางไป
รัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินกว่า 3 แสนล้าน สู่โครงการเศรษฐกิจพอเพียงสร้างไทย แบ่งเป็นงบสนับสนุนโดยตรงกว่า 50,000 ล้านบาท และสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนจาก ธ.ก.ส. อีก 2.6 แสนล้านบาท เพื่อเร่งฟื้นฟูอาชีพและรายได้หลังวิกฤตโควิด-19 วันที่ 24 มิ.ย. นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้สถานประกอบการหยุดกิจการ คนตกงานและต้องย้ายกลับภูมิลำเนา ส่งผลกระทบต่อรายได้และภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพของประชาชน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยโดยรวม เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ธ.ก.ส. จึงได้ทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสร้างไทยขึ้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคชนบท ภายใต้โครงการสำคัญๆ ดังนี้ 1. โครงการเสริมสร้างความมั่นคงระดับครัวเรือน (ตั้งหลัก) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 “พึ่งตนเอง” โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณโดยตรง จำนวน 10,720 ล้านบาท ในการขับเคลื่อนและพัฒนาให้เกษตรกร จำนวน 300,000 ราย สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยมีแหล่งอาหารเพื่อเลี้ยงชีพภายในพื้นที่รอบตัว (459 ม
ภรรยา จ๊อบ นิธิ สู้ทั้งน้ำตา ปิด 3 ธุรกิจ รายจ่ายเดือนละ 5 ล้าน ยังเลี้ยงพนักงานต่อ “ตั๊ก-บริบูรณ์ จันทร์เรือง” โพสต์อินสตาแกรมส่วนตัว @tuck_boriboon1979 ให้กำลังใจ คุณมิกิ- พรพรรณ ภรรยา จ๊อบ-นิธิ สมุทรโคจร “สู้ๆ นะครับพี่มิกิของผม ผมรู้จักกับพี่มาหลายปี ผมไม่เคยเห็นน้ำตาของพี่ ผมเห็นแต่รอยยิ้มของพี่มาตลอด ขอบคุณจริงๆ ที่ยอมเปิดประสบการณ์ครั้งนี้ให้ทุกคนได้เห็นในสถานะของผู้นำ ผมรักพี่กับพี่จ๊อบ นิธิ มากๆ นะครับ แม้จะต้องสู้ทั้งน้ำตา ก็คุ้มค่าเมื่อรู้ว่าสู้เพื่อใคร” ซึ่งเรื่องราวของ มิกิ- พรพรรณ ที่ต้องสู้ชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดย เผยเรื่องราวว่า ครอบครัวทำธุรกิจ 3 อย่าง คือ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสนามกอล์ฟ และธุรกิจขายบ้าน ที่ดิน มีพนักงาน 100 กว่าคน ตั้งเเต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดนปิดกิจการ ไม่มีรายได้เลย รายได้เป็นศูนย์เลย ตกใจ เเต่ต้องตั้งสติ เพราะมีลูกน้องเยอะ คิดอย่างเดียวว่าจะทำยังไงให้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ ยอมรับว่ากลัวเพราะไม่มีรายได้เลยจะไหวไหม ไหนจะเงินเดือนพนักงาน ค่าไฟ ค่าน้ำ เพราะ 3 บริษัทรวมกัน รายจ่ายเเต่ละเดือน ประมาณ 5 ล้านกว่าบาทบางทีก็ท้อ ต้องเเบกภาระ เเต่ท้อนานไม่
เปิดเทคนิคขายอาหารออนไลน์ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 สร้างยอดขายเพิ่มเท่าตัว เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ดังเป็นพลุเเตกไม่แพ้ ‘ชานมไข่มุก’ สำหรับ ‘ร้านยำ’ ปัจจุบันลองสังเกตมีร้านยำให้เห็นกันทั่ว เเต่ละร้านต่างงัดกลยุทธ์ ชูจุดขายที่ต่างกันออกไป เฉกเช่น ZAAB Stories ยำเดลิเวอรี่ (แซ่บ สตอรี่ ยำเดลิเวอรี่) ที่เเม้จะเจอกับวิกฤตโควิด -19 เเต่ไม่ยอมแพ้ เเละรอดพ้นจากคำว่าเจ๊งได้ด้วย Facebook Stories และ IG Stories คุณเสาวลักษณ์ อุปนัน หรือ คุณหลิน เจ้าของร้าน แซ่บ สตอรี่ ยำเดลิเวอรี่ เล่าว่า ธุรกิจนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก ความอยากมีธุรกิจส่วนตัว โดยใช้เงินเก็บที่สั่งสมมาทั้งชีวิตเป็นเดิมพัน แต่สุดท้ายแล้วก็กลั้นใจลงทุน “แรงบันดาลใจที่เริ่มธุรกิจ คือ ใจรักในการทำอาหาร อยากขายอาหาร ส่วนตัวชื่นชอบเมนูยำต่างๆ เวลาว่างมักจะสรรหาร้านยำอร่อยๆ ไปชิม ร้านไหนที่ใครว่าเด็ดต้องไป จากนั้นมาลองผิดลองถูก ปรับปรุงสูตรจนกระทั่งได้สูตรเฉพาะของตัวเองเป็นน้ำยำนัวใส่ปลาร้า ซึ่งทุกคนที่ได้ชิมเห็นตรงกันว่าอร่อย” คุณหลิน บอกต่อว่า แซ่บ สตอรี่ ยำเดลิเวอรี่ เปิดร้านเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งอยู่ในซอยท่าอิฐ ถนนรั
ทางรอด! วัดสวนแก้ว ขายผัก-ผลไม้ดีลิเวอรี่ เลี้ยงคนด้อยโอกาส สุนัขแมวจรจัด วิกฤตโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่เฉพาะภาคธุรกิจเท่านั้น ล่าสุด ส่งผลไปยังวงการสงฆ์ วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากทางวัดไม่สามารถออกไปจำหน่ายผลผลิตที่ปลูกเอง อย่างผักและผลไม้ ขณะดียวกันยังต้องเลี้ยงดูคนชรา คนพิการ สุนัขเเละแมว รวมแล้วนับพันชีวิต ค่าใช้จ่ายแต่วันละเกือบหนึ่งแสนบาท คุณประสิทธ์ บุตรดาน้อย เจ้าหน้าที่วัดสวนแก้ว ให้ข้อมูลกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ขณะนี้ ‘วัดสวนแก้ว’ จังหวัดนนทบุรี ไม่มีเงินบริจาคเข้าวัดเลย ขณะเดียวกันก็ออกไปจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่วัดปลูกเองไม่ได้ จึงปิ๊งไอเดียนำมาขายผ่านแกร็บ และไลน์แมน เพียงโทรเข้ามาสั่งทางวัดจัดส่งให้ โทร. (02) 595-1444 กด 1 หรือ โทร. (088) 916-6735 “ทางวัดสวนแก้วปลูกผักและผลไม้หลายชนิด ก่อนหน้าเกิดวิกฤตโควิด-19 จะนำพืชผัก ผลไม้ ไปขายตามโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าที่อนุเคราะห์พื้นที่ให้จำหน่ายฟรี แต่หลังจากพื้นที่ต่างๆ ถูกปิดทำการ ทางวัดขาดรายได้ ขณะเดียวกันมีรายจ่ายทุกวัน เลยต้องนำผัก ผลไม้ตามฤดูกาล มาจำหน่ายเอง โดยสาธุชนที่สนใจจะร่วมทำบุญก
คนจนเฮ! การเคหะฯ พักหนี้-ลดค่าเช่า 50% 3 เดือน ช่วยลูกค้าเช่าแผง-พลาซ่า พ้นวิกฤตโควิด-19 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยว่า ได้สั่งการให้การเคหะแห่งชาติออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่น ถูกพักงาน ถูกเลิกจ้าง ธุรกิจถูกปิดชั่วคราว ทำให้มีรายได้ลดลงไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงการชำระค่าเช่าหรือค่าเช่าซื้อที่อยู่อาศัย ล่าสุด การเคหะแห่งชาติ ออกมาตรการเยียวยา ประกอบด้วย 1.พักชำระค่าเช่าซื้อ 3 เดือน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเริ่มเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 2.ปลอดค่าเช่า 3 เดือน สำหรับลูกค้าอาคารเช่ารายย่อย รวมทั้งลูกค้าที่เช่าแผงตลาด และร้านค้ารายย่อย เริ่มเมษายน-มิถุนายน 2563 โดยลูกค้าเช่าซื้อและลูกค้าอาคารเช่าสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563-30 มิถุนายน 2563 สามารถติดตามได้ผ่านเว็บไซต์ของการเคหะแห่งชาติ สำหรับผู้เช่ารายย่อยในอาคารเช่าเหมาต้องยื่นคำร้องผ่านผู้เช่าเหมาอาคาร ส่วนลูกค้าที่เช่าแผงตลาด และร้านค้ารายย่อยไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ เนื่องจ
กทม. ช่วยผู้ค้าฝ่าวิกฤต งดเก็บค่าเช่าแผงค้าตลาด กทม. มีผลทันทีตั้งแต่ มี.ค.63 วันที่ 3 เม.ย. นายอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “ผู้ว่าฯ อัศวิน” ระบุว่า จากประกาศกรุงเทพมหานครที่สั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ภายใต้พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ส่งผลให้ผู้ค้าภายในตลาดที่กทม.กำกับดูแล 11 แห่ง ต้องปิดทำการ ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อลดความกังวลและผลกระทบค่าใช้จ่ายของผู้ค้าในห้วงเวลานี้ กทม.ได้พิจารณายกเว้นค่าเช่าแผงค้า รวมถึงผู้เช่าพื้นที่ให้บริการห้องสุขา และผู้เช่าพื้นที่จอดรถในตลาดกทม.ทั้งหมด 10 แห่ง ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป จนกว่าสู่สถานการณ์จะปกติ 1. ตลาดนัดจตุจักร (มีนบุรี) เขตมีนบุรี 2. ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) เขตทวีวัฒนา 3. ตลาดเทวราช เขตดุสิต 4. ตลาดประชานิเวศน์ 1 เขตจตุจักร 5. ตลาดหนองจอก เขตหนองจอก 6. ตลาดบางกะปิ เขตบางกะปิ 7. ตลาดพระเครื่องวงเวียนเล็ก เขตคลองสาน 8. ตลาดรัชดาภิเษก เขตธนบุรี 9. ตลาดสิงหา เขตคลองเตย 10. ตลาดราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ สำหรับตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเป็นตลาดที่ กทม.มีสัญญาเช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทยนั
วิกฤตโควิด-19 ดันยอดคนอยากเปิดร้านบนแกร็บฟู้ดพุ่ง 3 เท่าตัว หรือราว 2,000 ร้านค้าต่อวัน ล่าสุด! แกร็บ ใจดีลดค่าคอมฯให้ พร้อมอำนวยความสะดวกสามารถเปิดร้านบนแอพได้ใน 7 วัน ทั้งกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด พร้อมเปิดรับสมัครงานเพิ่ม 35,000 อัตรา แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมส่งต่อกำลังใจและเดินหน้าสู้ไปพร้อมกับคนไทยเพื่อฝ่าวิกฤตโควิด-19 ผ่านโครงการ “แกร็บแคร์” (GrabCares) #เราจะผ่านมันไปด้วยกัน เพื่อประกาศมาตรการในการรับมือ รวมถึงแนวทางในการบรรเทาความเดือดร้อนและให้ความช่วยเหลือกับ 4 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ 1. พาร์ตเนอร์ร้านอาหาร 2. หน่วยงานราชการและบุคลากรทางการแพทย์ 3. พาร์ตเนอร์คนขับ-จัดส่งอาหาร 4. ผู้ใช้บริการ ด้วยการปรับลดค่าคอมมิสชั่นสำหรับพาร์ตเนอร์ร้านอาหารสูงสุดจาก 35% เป็น 30% รวมถึงเร่งขั้นตอนการเปิดร้านบนแกร็บฟู้ดให้ได้ภายใน 7-10 วัน พร้อมเปิดรับพาร์ตเนอร์จัดส่งอาหาร-พัสดุกว่า 64,000 อัตรา และเปิดให้พาร์ตเนอร์คนขับให้บริการจัดส่งอาหารด้วยรถยนต์ได้ นอกจากนี้ ยังตอกย้ำมาตรการรักษาความสะอาดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและสนับสนุนหน่วยงานด้านสาธารณสุข
คนไทยไอเดียดี! ทำแท่งกดปุ่มอนามัย เอาตัวรอดจากโควิด-19 เตรียมทำแจกบุคลากรแพทย์ คนไทยไอเดียดี ทำแท่งกดปุ่มอนามัย Push Stick ใส่เจลแอลกอฮอล์ทำ ความสะอาดได้ ทนความร้อนสูง กระแสตอบรับดีเกินคาด เตรียมทำแจกบุคลากรทางการแพทย์ 5,000 ชิ้น ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดแพร่ระบาด สำหรับเชื้อ ‘ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่’ หรือ ‘โควิด-19’ ส่งผลให้บรรดาคนหัวใสคิดค้นหาวิธีป้องกัน รวมถึงหลีกเลี่ยงไวรัสชนิดนี้ ล่าสุด บริษัท นิว อาไรวา จำกัด ผู้ผลิตสินค้าตกแต่งบ้าน แบรนด์ Qualy (ควอลี่) ปิ๊งไอเดียนำแหและอวนดักปลาในทะเล โดยรับซื้อจากชาวประมง มารีไซเคิลทำ Push Stick (พุช สติ๊ก) หรือ แท่งกดปุ่มอนามัย เสมือนเป็นนิ้วมากดให้แทน มีคุณสมบัติใช้กดปุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ่มลิฟต์ ปุ่มตู้เอทีเอ็ม สวิตช์ไฟ ใช้ซ้ำได้บ่อยตามที่ต้องการ วางตลาดเพียงไม่กี่วัน จำหน่ายไปได้แล้ว 100,000 กว่าชิ้น คุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิว อาไรวา จำกัด เผยกับเส้นทางเศรษฐีออน ไลน์ว่า ดำเนินธุรกิจสินค้าตกแต่งบ้านมานานกว่า 15 ปี สินค้าเกือบทั้งหมดส่งออก 50 ประเทศทั่วโลกตลาดหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ ซึ่ง