วิจัย
แนะวิจัยต่อยอด ใบมะละกอ รักษามะเร็ง กัญชา กระท่อม รักษาคนติดยาบ้า เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดอาคารนวัตกรรม เปรม ชินวันทนานนท์ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรมสมุนไพร สอดรับกับนโยบาย IGNITE THAILAND เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งล่าสุดได้วิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์มะระขี้นก เพื่อผลักดันส่งออกสู่ตลาดโลก รวมทั้งศึกษาวิจัยตำรับสมุนไพรเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยในการรักษา นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สร้างอาคารนวัตกรรม เปรม ชินวันทนานนท์ นี้เพื่อเป็นสถานที่วิจัยและพัฒนา ตลอดจนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสมุนไพร ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังสร้างโอกาสให้กับเครือข่ายนักวิจัย ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบสมุนไพร ที่มีส่วนช่วยยกระดับการพัฒนาสมุนไพรไทยให้แข่งขันได้ในตลาดสากล นอกจากนี้ ขอฝากคนไทย ช่วยสนับสนุนการใช้สมุนไพรภายในประเทศตามแนวคิด “เจ็บป่วยคราใด ใช้ยาไทย ก่อนไปหาหมอ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สมุนไพรเสริมการรักษาแผนปัจจุบันให้มีประส
ประธาน กสว. เผยนโยบายการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำประโยชน์รอบด้าน พร้อมวาระและแผนงานเร่งด่วนภายใต้งบกองทุน ววน. “ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์” เปิดเวที กสว. มุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดี ร่วมกันทำประโยชน์เพื่อสังคม พร้อมชี้ทิศทางก้าวต่อไปของการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 1 เมษายน 2567 – สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) นำเสนอนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนประเทศด้วยระบบระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ผ่านงาน “กสว.: ก้าวต่อไปสู่การขับเคลื่อนระบบ ววน. ของประเทศ” พร้อมแนะนำคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ชุดใหม่ กับสื่อมวลชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ให้เกิดพันธมิตรทางการสื่อสาร ร่วมกันมุ่งสร้างประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมว
ม.มหิดล วิจัยโรคลมพิษ ท่ามกลางปัจจัยจากวิกฤต Climate Change “โรคลมพิษ” (Urticaria) มีที่มาจากภาษาลาติน “Urtica urens” ซึ่งใช้เรียก “ต้นตำแยขนพิษที่ลำต้นมีหนามแหลม ตรงโคนหนามเป็นกระเปาะมีสารพิษ “ฮีสตามีน” ทำให้เกิดอาการคัน และแสบร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ตระหนักถึงอุบัติการณ์ของ “โรคลมพิษ” ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตามสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ จึงได้ริเริ่มจัดตั้งคลินิกโรคลมพิษ (Siriraj Urticaria Clinic) ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2544 หรือกว่า 2 ทศวรรษก่อน โดยที่ผ่านมามีผู้ป่วยไทยเข้ารับการรักษา “โรคลมพิษ” ที่ Siriraj Urticaria Clinic กว่า 300 รายต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ฯ ที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ ผู้มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับ “โรคลมพิษ” ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากถึง 76 เรื่อง ตลอดจนได้ร่วมจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคลมพิษ ทั้งในระดับชาติ และระดับโลก ในฐานะผู้ก่อตั้ง Siriraj Urticaria C
วิจัย ภาวะกระดูกพรุนในอวกาศ เตรียมต่อยอด เยียวยาผู้ป่วยติดเตียง ปัจจุบัน เป็นยุคของการเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยวอวกาศ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตนวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งออกแบบเพื่อใช้สำหรับชีวิตในห้วงอวกาศหรือเทียบเท่าอย่างกว้างขวาง แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ได้อยู่แค่เพียงการเตรียมวัตถุสิ่งของ แต่คือการเตรียมความพร้อมของ “ผู้เดินทาง” ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ “สภาพไร้แรงโน้มถ่วง” ซึ่งเป็นสภาวะที่มนุษย์ไม่คุ้นชิน ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และอาจารย์นักวิจัยประจำหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก (COCAB – Center of Calcium and Bone Research) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม อยู่ในที่ที่แรงโน้มถ่วงพอเหมาะ ร่างกายจึงจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระดูก มีงานวิจัยจากหลายประเทศที่ค้นพบความผิดปกติของกระดูกอย่างชัดเจนทั้งในมนุษย์และสัตว์ที่ต้องเผชิญสภาพไร้น้ำหนักของห้วงอวกาศเป็นเวลานาน อย่างน้อยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากกระดูกที่เคลื่อนไหวภายใต้สภา
เดินหน้าวิจัย กระท่อม สู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อินเตอร์ ฟาร์มา จับมือ ม.สงขลานครินทร์ ดร.ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อินเตอร์ ฟาร์มา เป็นผู้นำในการคิดค้นและนำเสนอผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่ล้ำสมัย ที่มีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดีและคุ้มค่าที่สุด และที่ผ่านมา อินเตอร์ ฟาร์มา ได้เดินหน้าพัฒนางานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มาตอบโจทย์คนไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีการลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะเล็งเห็นคุณประโยชน์ของกระท่อม และ สารสกัดจากกระท่อม ที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม โภชนบำบัด ยา และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ด้านสุขภาวะให้กับประชาชนที่ยังเข้าไม่ถึงผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ โดยทางอินเตอร์ ฟาร์มา เข้ามาร่วมมือในหลากหลายมิติ ทั้งห้องปฏิบัติการ สมทบงบประมาณในการทำงานวิจัย บุคลากร เป็นต้น ซึ่งทางอินเตอร์ ฟาร์มา เชื่อมั่นว่า หากผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือในครั้งนี้ผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายชุติพงศ์ กอร์ปอริยจิต ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง-ปราชญา จำกัดได้กล่าวถึงโครงการร่วมมือวิจัยพัฒนาสมุนไพร ว่าการร่วมลงนามกับบริษัท เซลล์ดีเอ็กซ์ จำกัด บริษัทที่ก่อตั้งมาเพื่อยกระดับการผลิตและพัฒนาสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สานต่อ “ปราชญา” เข้าร่วมในโครงการวิจัยร่วมมือวิจัยพัฒนาสมุนไพรกับองค์กรจากภาครัฐ SSIP ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภายใต้การสนับสนุนทุนการวิจัยจาก สกว.ซึ่งโครงการวิจัยฯ นี้ใช้เทคโนโลยีโอมิกส์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสามารถตรวจสอบให้รู้ถึงสรรพคุณ ฤทธิ์ยาและประสิทธิภาพของยาสมุนไพรและตำรับยาจีนได้ละเอียดถึงโมเลกุล โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตำรับยาเดิม มุ่งเน้นการสร้างหลักฐานประจักษ์เชิงวิทยาศาสตร์ให้กับสมุนไพร ซึ่งแผนความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาของปราชญาในครั้งนี้สนับสนุนตามนโยบาย Thailand 4.0 เป็นแนวคิดของบริษัทฯ ที่หวังจะพัฒนาสมุนไพรจากธรรมชาติเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมให้เกิดเป็นรูปธรรมในที่สุด นายชุติพงษ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันแนวโน้มการแข่งขันตลาดสมุนไพรค่อนข้างสูงมาก ปีที่ผ่านมาปราชญาและบริษัทในเครือ ม